การประเมินประสิทธิภาพเครื่องหมุนเหวี่ยงชนิด Microhematocrit centrifuge ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ดุจดาว บุญยอด ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นพดล เปี่ยมศิริ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อโณทัย ศรีตนไชย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณัฐพัชร์ รัตนเดชานาคินทร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Microhematocrit centrifuge, Hematocrit Corresponding

บทคัดย่อ

       การตรวจหาปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) เป็นการทดสอบขั้นพื้นฐานที่มีให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยงชนิด Microhematocrit centrifuge ประสิทธิภาพเครื่องมือตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับหน่วยบริการเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลการตรวจ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจในผลการทดสอบ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก จึงได้จัดทำโครงการประเมินประสิทธิภาพเครื่องหมุนเหวี่ยงชนิด Microhematocrit centrifuge ของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดพิษณุโลก ประจำปี 2557 โดยตรวจสอบเครื่องมือของหน่วยบริการระดับอำเภอ รวมทั้งหมด 140 เครื่อง จาก 120 หน่วยบริการ พบว่าผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ ทั้งความเร็วรอบในการหมุนและเวลา ร้อยละ 75.7 และไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 24.3 Parameter ที่พบเกิดจากเครื่องตั้งเวลา และความเร็วรอบในการหมุนไม่ได้ตามช่วงที่ใช้งาน เนื่องจากเครื่องเก่าชำรุด และขาดการบำรุงรักษา ส่งผลกระทบต่อผลการทดสอบทำให้แปลผลผิดพลาดได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการตรวจทางห้องปฏิบัติการของหน่วยบริการปฐมภูมิควรมีการวางแผนในการตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผลการตรวจมีความถูกต้อง

References

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข สำหรับหน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) (MOPH-DMSc SPL01/2556). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2556.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการตรวจทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ด้านงานเทคนิคการแพทย์ (MOPH-DMSc PL02/2555). พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา : หจก.อินดี้อาร์ท; 2555.

กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ 3 รายการ. [ออนไลน์]. 2552; [สืบค้น 1 สิงหาคม 2558]; [68 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://medi.moph.go.th/km/calstd/kmcal52_3.pdf.

กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ค่าความผิดพลาดที่ยอมรับได้สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ในระดับปกติ. [ออนไลน์]. 2550; [สืบค้น 1 สิงหาคม 2558]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://medi.moph.go.th/education/ebooking/pdf/8802.pdf.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจประเมินแบบตรวจติดตามและประเมินผล (CHECK LIST) ระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข สำหรับหน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 8 สิงหาคม 2558]; [11 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/qa/webBLQS/userfiles/checklistpcu.pdf.

ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์, บรรณาธิการ. เครื่องมือวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น : คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2544.

ศรีสกุล แสงประเสริฐ. เอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการ การบำรุงรักษาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ในเขตสุขภาพที่ 2. วันที่ 20 มกราคม 2558. พิษณุโลก; 2558.

เครื่องหมุนเหวี่ยง Centrifuge ใน : เครื่องมือวิทยาศาสตร์ [ออนไลน์]. 2544; [สืบค้น 16 พฤษภาคม 2558]; [28 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://home.kku.ac.th/chuare/12/centrifuge.pdf.

บัญชา ลีลานิภาวรรณ, บรรณาธิการ. มาตรฐานการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ ตอนที่ 1. [ออนไลน์]. [สืบค้น 16 พฤษภาคม 2558]; [110 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://medi.moph.go.th/education/ebooking/pdf/7992.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2016

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)