การศึกษาคุณภาพของหัวดองดึง

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ ปานผดุง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สายใจ ปริยะวาที ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สายัน ขุนนุช ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นฤมล บุญราศรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Gloriosa superba Linn., Physico-chemical quality

บทคัดย่อ

       ดองดึง (Dong-Dueng) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gloriosa superba Linn. อยู่ในวงศ์ Liliaceae ตำรายาไทยใช้หัวเป็นยาแก้ปวดข้อ ซึ่งมีรายงานพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ โคลชิซีน แต่ยังไม่มีการบรรจุข้อกำหนดมาตรฐานของสมุนไพรชนิดนี้เข้าในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีและกายภาพ โดยเก็บตัวอย่างหัวดองดึงจากแหล่งธรรมชาติและซื้อจากร้านขายยาแผนโบราณในประเทศไทยจำนวน 15 ตัวอย่าง ผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของตัวอย่าง ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอล ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้ารวม และปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 20.92 ± 2.41, 2.70 ± 0.93, 8.75 ± 0.82, 4.57 ± 1.22 และ 1.10 ± 1.03 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ รวมทั้งได้มีการตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีชนิดผิวบาง ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพและใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของดองดึงต่อไป

References

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ดองดึง. [ออนไลน์]. [สืบค้น 29 กรกฎาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=43

Jana S, Shekhawat GS. Critical review on medicinally potent plant species: Gloriosa superba. Fitoterapia 2011; 82(3): 293-301.

McEvoy GK, edited. AHFS drug information. Bethesda, MD.: American Society of Health-System Pharmacists; 1999. p.3234-3236

ขุนโสภิด บรรณลักษณ์. คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2. [ออนไลน์]. 2558. [สืบค้น 29 กรกฎาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก : https://be7herb.wordpress.com

ขุนโสภิด บรรณลักษณ์. คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3. [ออนไลน์]. 2558. [สืบค้น 29 กรกฎาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://be7herb.wordpress.com/คัมภีร์แพทย์-ตำรายา/คัมภีร์แพทย์/คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ/

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai herbal pharmacopoeia Vol. I. 2nd ed. Appendices 4.15 Loss on drying. Bangkok: Prachachon; 1998. p. 123-4.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai herbal pharmacopoeia Vol. II. 2nd ed. Appendices 7.6 Acid-insoluble Ash, 7.7 Total Ash and 7.12 Extractives. Bangkok: Prachachon; 2000. p. 108, 141.

Government of India Ministry of Health and Family Welfare Department of ISM & H. The Ayurvedic Pharmacopoeia of India Part I, Volume III. Page 106-107. [Cited 2015 July 29]. Available from: URL: https://www.ayurveda.hu/api/API-Vol-3.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2016

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)