คุณลักษณะของอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอลชนิดนาโนดอทสำาหรับงานรังสีวินิจฉัย

ผู้แต่ง

  • จินดา ทองเรือง สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สิริชัย เธียรรัตนกุล สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วีรชัย ดิสวัฒน์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

บทคัดย่อ

       ได้ดำเนินการศึกษาเพื่อประเมินคุณสมบัติของอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอลชนิดนาโนดอท (nanoDot) เพื่อใช้ในงานรังสีวินิจฉัยจากเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไป โดยทำการทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันของอุปกรณ์วัดรังสี ความเป็นเชิงเส้น การสนองตอบต่อพลังงานด้วยเครื่องเอกซเรย์มาตรฐาน ความเป็นเชิงเส้นทดสอบที่พลังงาน 2 ค่า โดยตั้งค่า mAs อยู่ในช่วง 30-400 และวัดค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับด้วยเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไป พบว่าความเป็นเนื้อเดียวกันของอุปกรณ์วัดรังสีมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนน้อยกว่าร้อยละ 5 ความเป็นเชิงเส้นทั้ง 2 พลังงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี (R2 >0.99) การสนองตอบต่อพลังงานที่พลังงาน 60-120 kV มีค่าอยู่ระหว่าง 1.07-0.86 เมื่อเทียบกับที่พลังงาน 80 kV ค่าปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยจากการวัดโดยใช้อุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิด nanoDot เปรียบเทียบกับปริมาณรังสีจากการวัดและคำนวณตามวิธีการของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ พบว่ามีค่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ดังนั้น อุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอลชนิด nanoDot สามารถนำมาใช้ในงานรังสีวินิจฉัยได้

References

International Atomic Energy Agency. Dosimetry in diagnostic radiology: an international code of practice. Technical reports series no. 457. Vienna: IAEA; 2007.

Jursinic PA. Characterization of optically stimulated luminescent dosimeters, OSLDs, for clinical dosimetric measurements. Med Phys 2007; 34(12): 4594-604.

Lehmann J, Dunn L, Lye JE, Kenny JW, Alves AD, Cole A, et al. Angular dependence of the response of the nanoDot OSLD system for measurements at depth in clinical megavoltage beams. Med Phys 2014; 41(6): 061712 [1-9].

Viamonte A, da Rosa LA, Buckley LA, Cherpak A, Cygler JE. Radiotherapy dosimetry using a commercial OSL system. Med Phys 2008; 35(4):1261-6.

Kobayashi I, Okazaki T, Yajima K, Yasuda H. Environmental radiation dosimetry by the small OSL reader. Progress Nucl Sci Technol 2012; 3: 79-81.

Yusuf M, Saoudi A, Alothmany N, Alothmany D, Natto H, Natto S, et al. Characterization of the optically stimulated luminescence nanoDot for CT dosimetry. Life Sci J 2014; 11(2): 445-50.

Endo A, Katoh T, Vasudeva SB, Kobayashi I, Okano T. A preliminary study to determine the diagnostic reference level using dose-area product for limited-area cone beam CT. Dentomaxillofac Radiol 2013; 42(4): 20120097 [1-6].

Perks CA, Yahnke C, Million M. Medical dosimetry using optically stimulated luminescence dots and micro Star reader. [online]. [10 screens]. Available from: URL: https://www.iaea.org/inis/collection/NCLCollectionStore/_Public/40/108/40108739.pdf

International Commission on Radiological Protection. Recommendations of the international commission on radiological protection, ICRP publication 103. UK: ICRP; 2007.

กองรังสีและเครื่องมือแพทย์. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย. [ออนไลน์]. 2550 [22 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/userfiles/files/QAXray.pdf

Al-Senan RM, Hatab MR. Characteristics of an OSLD in the diagnostic energy range. Med Phys 2011; 38(7): 4396-405.

Danzer J, Dudney C, Seibert R, Robinson B, Harris C, Ramsey C. Optically stimulated luminescence of aluminum oxide detectors for radiation therapy quality assurance. 49th Annual Meeting of the AAPM; 2007 Jul 22-26. Minneapolis, Minnesota: AAPM; 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2016

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)