การประเมินความสามารถการทดสอบ Salmonella spp. ของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อาหารโดยใช้ผลการทดสอบความชำนาญ

ผู้แต่ง

  • ลดาวัลย์ จึงสมานุกูล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อัจฉรา อยู่คง สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กมลวรรณ กันแต่ง สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กนกชน สุภาพรหม สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

บทคัดย่อ

       สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำเนินการประเมินความสามารถการทดสอบ Salmonella spp. ของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อาหารโดยใช้ผลทดสอบความชำนาญระหว่างปีงบประมาณ 2554-2558 จำนวน 6 รอบ แต่ละรอบมีห้องปฏิบัติการเข้าร่วมทดสอบความชำนาญ จำนวน 16, 36, 25, 58, 70 และ 77 ราย รวมสะสม 282 ราย พบรายงานผลการทดสอบถูกต้องสอดคล้องกับค่ากำหนด จำนวน 16, 34, 21, 48, 52 และ 70 ราย รวมสะสม 241 ราย คิดเป็นร้อยละ 100.0, 94.5, 84.0, 82.8, 74.3 และ 90.9 รวมสะสม 85.5 ตามลำดับ ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมทดสอบความชำนาญฯ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025: 2005 ภาครัฐ 91 ราย ห้องปฏิบัติการฯ ภาคเอกชน 102 ราย ห้องปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการรับรองฯ ภาครัฐ 12 ราย และห้องปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการรับรองฯ ภาคเอกชน 77 ราย พบรายงานผลการทดสอบถูกต้อง 86, 94, 10 และ 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.5, 92.2, 83.3 และ 66.2 ตามลำดับ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 (p < 0.01) ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองฯ รายงานผลการทดสอบถูกต้องมากกว่าห้องปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการรับรองฯ ขณะที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองฯ ภาครัฐและเอกชนรายงานผลการทดสอบใกล้เคียงกันและไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ทั้งนี้ ผลการทดสอบความชำนาญรอบที่ 6 พบห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมทดสอบฯ ทุกกลุ่มรายงานผลการทดสอบได้ถูกต้องมากขึ้นเมื่อเทียบกับรอบที่ผ่านมา

References

Chapter 36 Salmonella. In: Salfinger Y, Tortorello ML. Compendium of methods for the microbiological examination of foods. 5th ed. Wachington, DC: American Public Health Association (APHA); 2015.

Chapter II, Salmonella infections. In: Bryan FL, Fanelli MJ, Riemann H, editors Food-borne infections and intoxications. 2nd ed. New York: Academic Press; 1979.

Chapter 26, Foodborne gastroenteritis caused by Salmonella and Shigella. In: Jay JM, editor. Modern food microbiology. 6th ed. Gaithersburg, Maryland: Aspen Publishers; 2000. P. 511-530.

WHO. Salmonella (non-typhoidal). [online]. 2013 [cited 2015 Oct 5]; [3 screens]. Available from: URL: https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs139/en

CDC. Foodborne disease active surveillance network: Food Net surveillance report for 2012 (Final report). Atlanta, Georgia: U.S. Department of Health and Human Services, CDC. 2014.

อรทัย สุวรรณไชยรบ, สุทธนันธ์ สุทธชนะ, นริศ บุญธนภัทร, ปณิธี ธัมมวิจยะ, กนิน ธีระตันติกานนท์, กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. สถานการณ์โรคและภัยที่น่าสนใจในรอบสัปดาห์ที่ 1 ปี พ.ศ. 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 16 ม.ค. 2558; 46(1): 6-7.

ISO 6579: 2002/Cor.1:2004. Microbiology of food and animal feeding stuffs -- horizontal method for the detection of Salmonella spp. Geneva, Switzerland: ISO; 2004.

Chapter 5 Salmonella. In: Andrews WH, Jacobson A, Hammack T. Bacteriological analytical manual. [online]. 2014 [cited 2015 Oct 5]; [29 screens]. Available from: URL: https://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm070149.htm

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมวด 4 เรื่องการควบคุมอาหาร มาตรา 25-30. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 79 ฉบับพิเศษ (13 พฤษภาคม 2522).

ISO/IEC 17025: 2005. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. Geneva, Switzerland: ISO; 2005.

สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. นโยบายและหลักเกณฑ์การทดสอบความชำนาญ. SOP No. N 07 15 003 แก้ไขครั้งที่ 08 วันที่ออกเอกสาร 3 ธันวาคม 2557.

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. ใบรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ. ที่ วท 0303/783 ออกให้ ณ วันที่ 26 มกราคม 2558.

ลดาวัลย์ จึงสมานุกูล, กมลวรรณ กันแต่ง และอัจฉรา อยู่คง. การพัฒนาการเป็นผู้ดำเนินการแผนทดสอบความชำนาญการตรวจวิเคราะห์อาหารทางจุลชีววิทยา. ว กรมวิทย พ 2558; 57(2): 127-41.

ISO/TS 22117: 2010. Microbiology of food and animal feeding stuffs -- specific requirements and guidance for proficiency testing by interlaboratory comparision. Geneva, Switzerland: ISO; 2010.

ISO/IEC 17043: 2010. Confomity assessment -- GeneraI requirements for proficiency testing. Geneva, Switzerland: ISO; 2010.

บทที่ 10 การวิเคราะห์แบบไคสแควร์. ใน : วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. หน้า 183-226.

นวพร อนันตสินกุล. สถิติสำหรับงานวิเคราะห์ทางเคมีและการทดสอบความชำนาญ. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2016

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)