การตรวจวิเคราะห์สารกลุ่มทาเลท (Phthalates) ในผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยวิธี UPLC/DAD

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ทองประกายแสง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

phthalates, UPLC, cosmetic product, household product

บทคัดย่อ

       ทาเลท (phthalates) เป็นกลุ่มสารเคมีที่สำคัญในทางอุตสาหกรรมใช้เป็นพลาสติไซเซอร์ในการผลิตพลาสติกมีจำนวนมากกว่า 30 ชนิดในท้องตลาด ช่วยเพิ่มคุณสมบัติของพลาสติกให้มีความยืดหยุ่น นุ่มและเหนียว ในผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิด พบว่าสารทาเลทบางชนิดเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์และก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ทดลอง ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศห้ามใช้สารทาเลท 5 ชนิด ในการผลิตเครื่องสำอาง ได้แก่ DBP, DEHP, DMEP, PIPP และ BBP และที่ผ่านมายังไม่มีวิธีมาตรฐานในการวิเคราะห์สารทาเลทในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และข้อมูลการสำรวจในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนชนิดต่างๆ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์นี้ขึ้นและดำเนินการทดสอบความใช้ได้ตาม Eurachem guide ผลการศึกษาได้วิธีที่เหมาะสมในการตรวจวิเคราะห์สารทาเลท 7 ชนิดพร้อมกัน ด้วยเครื่อง UPLC ตัวตรวจวัดชนิด photodiode array ใช้คอลัมน์ Kinetex ® C 18 (1.7 μm, 2.1 × 50 mm) ใช้สภาวะการแยกสารแบบ Gradient program ระหว่าง acetronitrile และ deionized water ด้วย flow rate เท่ากับ 0.45 ml/min ใช้เวลาในการแยกสารทั้งหมด 8 นาที อุณหภูมิคอลัมน์ 35 oC และความยาวคลื่น 225 nm ผลการทดสอบความใช้ได้ของวิธีพบว่าวิธีมีความจำเพาะเจาะจงสำหรับสารทาเลท 7 ชนิด โดยให้ค่า Resolution > 2, %RSD ของ retention time ในวันเดียวกันเท่ากับ 0.01 - 0.12 และระหว่างวัน 0.29 - 1.71 ค่า LOD อยู่ในช่วง 0.0002 - 0.007 %w/w และ LOQ อยู่ในช่วง 0.001 - 0.022 %w/w ความสัมพันธ์เชิงเส้นของความเข้มข้นในช่วง 0.05 - 30 μg/ml และค่าสัญญาณ ได้ค่า r > 0.995 วิธีนี้ให้ความถูกต้องที่ดีแสดงด้วยค่า %recovery อยู่ในช่วง 90 - 108% ความเที่ยงของวิธีให้ %RSD < 3 ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารทาเลท 7 ชนิดพร้อมกัน ในผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

References

Babich MA. Overview of dialkyl ortho-phthalates. Bethesda, MD: United States Consumer Product Safety Commission. 2010.

Kamrin MA. Phthalate risks, phthalate regulation, and public health: a review. J Toxicology Environ Health-Part B 2009; 12:157–74.

International Agency for Research on Cancer. Some industrial chemicals. IARC Monographs on the evaluation of carcinogenic risks to humans77, Lyon, France: IARC; 2000.

Dong CH, Liu YF, Yang WF, Sun XL, Wang GQ. Simultaneous determination of phthalate plasticizers in PVC packaging materials using homogeneous-ultrasonic extraction-GC-MS assisted with continuous wavelet transform. Anal. Methods. 2013; 5: 4513-7.

Wenzl T. Methods for the determination of phthalates in food. Outcome of a survey conducted among European food control laboratories [online]. 2009. [cited 2015 Feb 9]; [5 screens]. Available from: https://www.bezpecnostpotravin.cz/UserFiles/File/Publikace/ftalaty.pdf

Peters RJB. Chemical additives in consumer products. TNO-report R&I-A R 2005/066. The Netherlands: TNO Environment and Geosciences. 2005.

Gimeno P, Maggio AF, Bousquet C, Quoirez A, Civade C, Bonnet PA. Analytical method for the identification and assay of 12 phthalates in cosmetic products: application of the ISO 12787 international standard “Cosmetics–Analytical methods–Validation criteria for analytical results using chromatographic techniques”.J Chromatogr A2012; 1253: 144–53.

Cacho JI, Campillo N, Viñas P, Hernández-Córdoba M. Direct sample introduction gas chromatography and massspectrometry for the determination of phthalate esters in cleaning products. J Chromatogr A, 2015; 1380, 156–61.

Su R, Zhao X, Li Z, Jia Q, Liu P, Jia J. Poly (methacrylic acid-co-ethylene glycol dimethacrylate) monolith microextraction coupled with high performance liquid chromatography for the determination of phthalate esters in cosmetics. Anal Chim Acta, 2010; 676(1–2): 103-8.

Eurachem. Eurachem Guide: The fitness for purpose of analytical methods-A laboratory guide to method validation and related topics, 2nd ed [online]. 2014. [cited 2015 Jan 20]; [70 screens]. Available from: URL: https://www.eurachem.org/images/stories/Guides/pdf/MV_guide_2nd_ed_EN.pdf.

Eurachem. EURACHEM/CITAC Guide CG 4. Quantifying uncertainty in analytical measurement, 3rd ed [online]. 2012. [cited 2016 Feb 10]; Available from: URL: https://www.eurachem.org/images/stories/Guides/pdf/QUAM2012_P1.pdf

Wu T, Wang C, Wang X, Xiao H, Ma Q, Zhang Q. Comparison of UPLC and HPLC for analysis of 12 phthalates. Chromatographia, 2008; 68, 803-6.

Koo HJ, Lee BM. Estimated exposure to phthalates in cosmetics and risk assessment. J Toxicol Environ Health A 2004; 67(23-24): 1901–14.

Hubinger JC. A survey of phthalate esters in consumer cosmetic products. J Cosmet Sci. 2010; 61(6):457-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2016

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)