การศึกษาคุณภาพของเมล็ดข่อยแห้ง

ผู้แต่ง

  • ตวงพร เข็มทอง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นวลพรรณ ไพบูลย์ศรีนครา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นันทนา กลิ่นสุนทร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Streblus asper Lour., Quality, Dried koi seed

บทคัดย่อ

       ข่อย (Koi หรือ tooth brush tree) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Streblus asper Lour. วงศ์ Moraceae ตำราสรรพคุณยาไทยใช้ส่วนเมล็ดบรรเทาอาการท้องเสีย ฆ่าเชื้อโรคในช่องปากและทางเดินอาหาร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานในตำรายาสมุนไพรไทย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนข้อมูลเพื่อจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของเมล็ดข่อย ผู้วิจัยได้ศึกษาคุณภาพของเมล็ดข่อยแห้ง จำนวน 16 ตัวอย่าง แบ่งเป็นตัวอย่างที่ซื้อจากร้านจำหน่ายสมุนไพร และจากนักพฤกษศาสตร์ โดยทำการศึกษาเอกลักษณ์ทางพฤกษเคมี ทดสอบคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ รวมทั้งการปนเปื้อนโลหะหนัก ผลจากการศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีของตัวอย่างเมล็ดข่อยแห้งที่สกัดด้วยเอทานอล ความเข้มข้นร้อยละ 95 โดยวิธีโครมาโทกราฟีชนิดผิวบางที่ใช้แผ่นอะลูมิเนียมฉาบด้วยซิลิกาเจล (Silica Gel 60 F254) ทำการเปรียบเทียบระหว่างน้ำยาแยกที่มีส่วนผสมของ heptane-ethyl acetate-glacial acetic acid ในอัตราส่วน 7:3:0.2 (ชนิดที่ 1) และอัตราส่วน 10:1:0.2 (ชนิดที่ 2) ตรวจสอบด้วยน้ำยาพ่นกรดกำมะถันเจือจางความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยปริมาตร พบว่า น้ำยาแยกชนิดที่ 1 สามารถแยกจำนวนแถบของสารสกัดเอทานอลของเมล็ดข่อยแห้งได้ดีกว่าน้ำยาแยกชนิดที่ 2 โดยเฉพาะสาร β-sitosterol และ lupeol ผลการทดสอบคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพพบว่า เมล็ดข่อยแห้งมีค่าเฉลี่ยของปริมาณความชื้น เถ้ารวม เถ้าที่ไม่ละลายในกรด สารสกัดด้วยน้ำ สารสกัดด้วยเอทานอล และน้ำมันจากเมล็ด คิดเป็นร้อยละ 7.79 ± 0.85, 5.26 ± 1.00, 1.40 ± 0.84, 14.90 ± 3.43, 5.28 ± 0.94 และ 3.80 ± 0.48 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ และผลการปนเปื้อนโลหะหนัก พบว่ามีการปนเปื้อนแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ระบุไว้ในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานทางเคมีและกายภาพของเมล็ดข่อยแห้ง เพื่อประโยชน์ในการควบคุมวัตถุดิบเข้าตำรับยาต่อไป

References

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ข่อย. [ออนไลน์]. 2553; [สืบค้น 3 ส.ค. 2558]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=21

Kalios. Streblus asper Lour. [online] January 2015; [cited 2015 Aug 3]; [7 screens]. Available from: URL: https://www.stuartxchange.com/Kalios.html

Reynole sioson. Native wild edible: Streblus asper. [online] June 2012. [cited 2015 Aug 3]. Available from: URL: https://www.balinghasai-farms.info/2012/06/29/native-wild-edible-streblus-asper

Rastogi S, Kulshreshtha DK, Rawat AKS. Streblus asper Lour. (Shakhotaka): A review of its chemical, pharmacological and ethnomedicinal properties. Evid Based Complement Alternat Med 2006; 3(2): 217-22.

Useful plants of India. New Delhi: NISCOM; 1992. p. 603-4.

วารุณี จิรวัฒนาพงศ์, สุพรรณ ภัทรพรชัยวัฒน์, ภูริทัต รัตนสิริ และนิธิดา พลโครต. การควบคุมคุณภาพและการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานทางเคมีของสมุนไพร : เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ 30 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2555. นนทบุรี : สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2555.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai herbal pharmacopoeia Vol. I. 2nd ed. Appendices 4.15 Loss on drying. Bangkok: Prachachon; 1998. p. 123-4.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai herbal pharmacopoeia Vol. II. 2nd ed. Appendices 7.6 Acid-insoluble ash, 7.7 Total ash and 7.12 Extractives. Bangkok: Prachachon; 2000. p. 108, 141.

Garratt DC. The qualitative analysis of drugs. 3rd ed. Tokyo, Japan: Chapman & Hall; 1964.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2016

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)