ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ISO 15189

ผู้แต่ง

  • ณฐมน เทียนมณี สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุธน วงษ์ชีรี สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุรศักดิ์ หมื่นพล สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ปนัดดา วิรุฬห์บุญภัทร สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ชมไฉไล สินธุสาร สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ISO 15189, Factors Affected the Duration of Corrective Action Time, Medical Laboratory Accreditation, Odds Ratio, Multiple logistic regression

บทคัดย่อ

       การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการแก้ไขข้อบกพร่องของห้องปฏิบัติการจากการตรวจประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO 15189 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังของห้องปฏิบัติการที่รับการตรวจประเมินระหว่างเดือนมกราคม 2553 – ธันวาคม 2556 จำนวน 76 ห้องปฏิบัติการ โดยใช้สถิติ pair t- test และสถิติเชิงวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression) ปัจจัยที่มีผลต่อเวลาแก้ไขข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ จำนวนปีที่ได้รับการรับรองโดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมากกว่าค่าเฉลี่ย 4 ปี จะใช้เวลาแก้ไขข้อบกพร่องมากกว่าที่ได้รับการรับรองไม่เกิน 4 ปี ถึง 3.67 เท่า โดยใช้เวลา 245 ± 96 วัน และ 189 ± 74 วัน ตามลำดับ และจำนวนข้อบกพร่องที่ได้รับทั้งหมด หากจำนวนมากกว่าค่าเฉลี่ย 23 ข้อ จะใช้เวลาแก้ไขข้อบกพร่องมากกว่าห้องปฏิบัติการที่ได้ข้อบกพร่องทั้งหมดไม่เกิน 23 ข้อ โดยใช้เวลา 240 ± 88 วัน และ 181 ± 85 วัน ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อบกพร่องตามข้อกำหนด ISO 15189 ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก โดยใช้ค่าอ้างอิงกลุ่มจากค่าเฉลี่ย 216 วัน พบปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาแก้ไขข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ทำให้ใช้เวลาในการแก้ไขข้อบกพร่องเสร็จเร็วขึ้น ได้แก่ จำนวนข้อบกพร่องข้อ 4.9 เรื่อง การระบุและการควบคุมสิ่งไม่สอดคล้อง และข้อ 4.15 เรื่อง การทบทวนระบบบริหารจัดการ 2) ปัจจัยที่ทำให้ระยะเวลาแก้ไขข้อบกพร่องนานขึ้น ได้แก่ จำนวนปีที่ได้รับการรับรองที่มากกว่า 4 ปี จำนวนข้อบกพร่องข้อ 4.3 เรื่อง การควบคุมเอกสาร และ ข้อ 4.13 เรื่อง บันทึกด้านคุณภาพและวิชาการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกสารและการตรวจสอบระบบคุณภาพ จึงควรนำไปพิจารณากำหนดกิจกรรมในแผนพัฒนาคุณภาพและพิจารณากำหนดเกณฑ์การตรวจติดตามระบบคุณภาพไว้ในแผนการตรวจติดตามระบบคุณภาพประจำปี เพื่อธำรงรักษาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากลไว้ตลอดไป

References

Bureau of Laboratory Quality Standards, Department of Medical Sciences. APLAC/ILAC MRA [online]. 2015. [cited 2015 Aug 9]; [2 screens]. Available from: URL: https://blqs.dmsc.moph.go.th/login/showimgdetileng.php?id=94.

สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. หน่วยงานที่ผ่านการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์หรือชันสูตรสาธารณสุข (ISO15189) [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 9 ก.ย. 2558]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_qa/dbqa/default.asp?iID=LEDGD.

ISO 15189: 2007. Medical laboratories - Particular requirements for quality and competence. Geneva, Switzerland: ISO; 2007.

เสาวนีย์ อารมณ์สุข, ชมไฉไล สินธุสาร, อรัญ ทนันขัติ และสุวรรณา จารุนุช. การศึกษาแนวโน้มข้อบกพร่องจากการตรวจประเมินรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุข ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการทดสอบสาธารณะ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005 ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554. วารสารออนไลน์สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ 2556; 9(25): 6-15.

Ho B, Ho E. The most common nonconformities encountered during the assessments of medical laboratories in Hong Kong using ISO 15189 as accreditation criteria. Biochem Med 2012; 22(2): 247-57.

R 07 15 001. นโยบายข้อกำหนดและเงื่อนไขการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี : สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2558.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. รูปแบบการวิจัย (Study design). [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 5 เม.ย. 2558]; [43 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://hsmi.psu.ac.th/upload/forum/StudyDesign.pdf.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.

ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักการและการใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกสำหรับการวิจัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 2555; 4(1): 1-12.

อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. การวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก. ใน : เอกสารประกอบการบรรยาย Research Zone Phrase 14. วันที่ 7 เมษายน 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2553.

บัณฑิต ถิ่นคำรพ. การวิเคราะห์ข้อมูลแจงนับโดยใช้การถดถอยโลจิสติก. ขอนแก่น : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2539.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)