ความเสี่ยงสุขภาพของเจ้าหน้าที่จากการใช้สารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ราเมศ กรณีย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อนุสรณ์ ดิษฐสวรรค์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศิริพร ป้อมใย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

บทคัดย่อ

       ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยจากสภาพแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนสารเคมีและสารก่อมะเร็งเพิ่มมากขึ้น ได้ศึกษาความเสี่ยงสุขภาพของเจ้าหน้าที่จากการใช้สารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังสุขภาพของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการได้สัมผัสสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการและไม่ได้สัมผัสสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการรวมถึงเพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ในปี พ.ศ. 2555 ได้ศึกษาโดยการเจาะเลือดเจ้าหน้าที่ จำนวน 37 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มได้สัมผัสสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการ จำนวน 20 คน (ร้อยละ 54) และกลุ่มไม่ได้สัมผัสสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการ จำนวน 17 คน (ร้อยละ 46) พบว่าการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count: CBC) ในรายการตรวจทั้งหมดอยู่ในช่วงปกติ และค่าเฉลี่ยความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสจากเซลล์เม็ดเลือดขาวของกลุ่มไม่ได้สัมผัสสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการสูงกว่ากลุ่มได้สัมผัสสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการ (mean ± SD) เท่ากับ 2.47 ± 1.56 cell/1,000 BN cell และ 1.35±1.87 cell/1,000 BN cell ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ซึ่งค่าความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสจากเซลล์เม็ดเลือดขาวของทั้งสองกลุ่มไม่เกินค่าปกติของความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียส คือ อยู่ในช่วง 0-5 cell/1,000 BN cell อย่างไรก็ตามกลุ่มไม่ได้สัมผัสสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการแต่มีค่าเฉลี่ยความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสสูง อาจเนื่องจากการได้รับสัมผัสจากปัจจัยอื่น เช่น สัมผัสสารเคมีทางอ้อม การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การได้รับสารตะกั่วจากการทาสีอาคารบ้านเรือน จากกรรมพันธุ์ การได้รับสารเคมีที่เป็นพิษในการก่อมะเร็ง สารที่มีพิษต่อการทำลายเซลล์ หรือการได้รับรังสีจากการเอกซเรย์ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังและป้องกันตัวเองต่อการได้สัมผัสสารเป็นพิษทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งหน่วยงานควรมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ค่าความถี่การเกิดไมโครนิวเคลียสและการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count: CBC) เป็นพารามิเตอร์ในการตรวจติดตามการเกิดมะเร็ง (Cancer Risk Biomarker) ได้

References

รายงานสรุปสถิติการนำเข้าเคมีภัณฑ์อันตราย ปี พ.ศ. 2548-2552 [ออนไลน์]. 2553. [ สืบค้น 20 ก.ย. 2557]; [52 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.chemtrack.org/Doc/F619.pdf.

น้ำทิพย์ เที่ยงตรง, กันทิมาณี พันธุ์วิเชียร, ประไพภัทร คลังทรัพย์ และธีราพร อนันตะเศรษฐกูล. การทดสอบไมโครนิวเคลียสในเซลล์ลิมโฟบลาสต์ของมนุษย์ชนิด TK6 ด้วยสิ่งก่อการกลาย. ใน : การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46 : สาขาวิทยาศาสตร์. วันที่ 29 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2551. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2551. หน้า 334-341.

Testa A, Ranaldi R, Carpineto L, Pacchierotti F, Tirindelli D, Fabiani L, et al. Cytogenetic biomonotoring of workers from laboratories of clinical analyses occupationally exposed to chemicals. Mutat Res 2002; 520: 73-82.

5 สาเหตุใกล้ตัวก่อมะเร็ง. ชีวจิต [ออนไลน์]. [สืบค้น 25 มี.ค. 2557]. [7 หน้า] เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.cheewajit.com/medicine/5-สาเหตุใกล้ตัวก่อมะเร็ง-2.

Ejchart A, Sadlej-Sosnowska N. Statistical evaluation and comparison of comet assay results. Mutat Res 2003; 534: 85-92.

Fenech M. Cytokinesis-block micronucleus cytome assay. Net Protoc 2007; 2(5): 1084-104.

ขวัญยืน ศรีเปารยะ, อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์, จีรภา ศิลาเกษ, ลักขณา หิมะคุณ, ผ่องพรรณ หมอกมืด, พิริยะภรณ์ อภิชาตยา และคณะ. เอกสารการเผยแพร่ เรื่อง การตรวจหาความเสียหายระดับดีเอ็นเอและระดับเซลล์โดยวิธีโคเมทแอสเสย์และไมโครนิวเคลียสจากเซลล์ลิมโฟไซต์และตรวจวัดไมโครนิวเคลียสจากเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้มเพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพการใช้สารเคมีอันตรายของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC: Complete Blood Count) [ออนไลน์]. [สืบค้น 20 มี.ค. 2557]; [16 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://web.sut.ac.th/dsa/unit/medical_clinic/images/stories/heath/cbc.pdf.

Ozkul Y, Donmez H, Erenmemisoglu A, Demirtas H, Imamoglu N. Induction of micronuclei by smokeless tobacco on buccal mucosa cells of habitual users. Mutagenesis 1997; 12(4):285-7.

Bonnassi S, Znaor A, Ceppi M, Lando C, Chang WP, Holland N, et al. An increased micronucleus frequency in peripheral blood lymphocytes predicts the risk of cancer in humans. Carcinogenesis 2007; 28(3): 625-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)