การพัฒนาสูตรตำรับครีมกันแดดสำหรับแผนงานทดสอบความชำนาญ

ผู้แต่ง

  • สุดธิดา หมีทอง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กมลลักษณ์ อินทรัศมี สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

sunscreen cream, sunscreen agents, formulation, homogeneity, stability, proficiency testing

บทคัดย่อ

       การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 นั้น หน่วยงานที่ขอการรับรองจะต้องมีข้อพิจารณาการเข้าร่วมทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing Program) ด้วย สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เริ่มให้บริการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารป้องกันแสงแดดในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยนำตัวอย่างครีมและโลชั่นบำรุงผิวจากท้องตลาดมาเติมสารสำคัญเป็นสารป้องกันแสงแดด 2 ชนิด ที่นิยมใช้ในประเทศไทย ได้แก่ benzophenone-3 และ octyl methoxycinnamate เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในแผนทดสอบความชำนาญแต่เนื่องด้วยไม่ทราบสูตรตำรับที่ชัดเจน จึงได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพไม่แน่นอนและมีความคงตัวต่ำ ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จึงได้พัฒนาสูตรครีมกันแดดที่มีสารป้องกันแสงแดดเพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกันและมีความคงตัว 4 ชนิด และปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ได้พัฒนาเพิ่มอีก 2 ชนิด รวมเป็น 6 ชนิด ได้แก่ benzophenone-3, octyl methoxycinnamate, butyl methoxydibenzoyl methane, octocrylene, homosalate และ ocyl salicylate ซึ่งเมื่อทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกัน จากการประเมินค่าความเบี่ยงเบนภายในตัวอย่าง โดยวิธี Cochran’s test และประเมินความเบี่ยงเบนระหว่างตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน one-way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 รวมทั้งทดสอบความคงตัวที่อุณหภูมิห้อง (25 ± 5 gif.latex?^{\circ}C) พบว่า ครีมกันแดดที่เตรียมขึ้นมีความเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความคงตัวที่เหมาะสมสำหรับใช้ในแผนงานทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารป้องกันแสงแดด

References

สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวทางเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด (สำหรับประชาชน). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2555.

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 46) พ.ศ. 2550 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนพิเศษ 88 ง (ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2550).

เสาวนีย์ กระสานติสุข, หทัยชนก รุณรงค์ การพัฒนาตำรับโลชั่นบำรุงผิว [ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต]. ภาควิชาเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.

พิมลพรรณ พิทยานุกุล. หลักการตั้งตำรับยาเตรียมและเครื่องสำอาง. กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533.

นวพร อนันตสินกุล. สถิติสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีและการทดสอบความชำนาญ. นนทบุรี : สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)