คุณภาพผลิตภัณฑ์ย้อมผมแบบสีติดถาวรที่จำหน่ายในประเทศไทยปี พ.ศ. 2555 - 2556

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ทองประกายแสง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กมลลักษณ์ อินทรัศมี สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จำเริญ ดวงงามยิ่ง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

hair dye quality, p-Phenylenediamine, Resorcinol, m-Phenylenediamine, o-Aminophenol

บทคัดย่อ

       การสำรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ย้อมผมแบบสีติดถาวรระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2556 จำนวน 237 ตัวอย่าง 74 เครื่องหมายการค้า โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ในการส่งตรวจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา คือ กลุ่มที่ 1 เพื่อตรวจหาสารย้อมผมห้ามใช้ 3 ชนิด คือ mPDA oPDA และ oAP จำนวน 113 ตัวอย่าง 56 เครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ จำนวน 71 ตัวอย่าง 37 เครื่องหมายการค้า และผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ 42 ตัวอย่าง 19 เครื่องหมายการค้า กลุ่มที่ 2 เพื่อตรวจหาปริมาณสารย้อมผมจำนวน 3 ชนิด คือ pPDA, RES และ pTDA จำนวน 124 ตัวอย่าง 59 เครื่องหมายการค้า เป็นผลติ ภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ จำนวน 77 ตัวอย่าง 31 เครื่องหมายการค้าและจากต่างประเทศ 47 ตัวอย่าง 28 เครื่องหมายการค้า ด้วยเทคนิค Thin layer chromatography (TLC) แล้วยืนยันและหาปริมาณด้วยเทคนิค High performance liquid chromatography (HPLC) พบว่าตรวจพบสารย้อมผมห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ย้อมผมแบบติดสีถาวรที่จะนำเข้ามาจำหน่ายจากประเทศจีนและเกาหลีจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.5 โดยสารย้อมผมห้ามใช้ที่ตรวจพบคือ mPDA และ oAP และพบว่ามีผลิตภัณฑ์ย้อมผมแบบสีติดถาวรที่ปริมาณสารย้อมผมไม่ได้มาตรฐานจำนวน 52 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.9 โดยมีสาเหตุจากปริมาณสารย้อมผมต่ำกว่า สูงกว่า สูงและหรือต่ำกว่า และใช้สารไม่ตรงกับที่ฉลากระบุ จำนวน 28, 15, 3 และ 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 22.6, 12.1, 2.4 และ 4.8 ตามลำดับ ส่วนปริมาณสารย้อมที่ตรวจพบนั้นอยู่ในช่วง 0.02 – 12.98% w/w อนึ่ง การพัฒนาขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการให้สอดรับกับข้อกำหนดและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการพัฒนาระบบเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

References

General introduction to the chemistry of dyes. In: IARC. Monographs Volume 99 [online]. 2015; [cited 2015 Mar 2]; [13 screens]. Available from: URL: https://monographs.iarc.fr/ENG/Monographs/vol99/mono99-7.pdf.

Scientific Committee on Consumer Safety. SCCS/1311/10. Opinion on reaction products of oxidative hair dye ingredients formed during hair dyeing processes [online]. 2010; [cited 2010 Sep 21]; [76 screens]. Available from: URL: https://ec.europa.eu/health/scientific_committees/consumer_safety/docs/sccs_o_037.pdf.

Baan R, Straif K, Grosse Y, Secretan B, El Ghissassi F, Bouvard V, et al. Carcinogenicity of some aromatic amines, organic dyes, and related exposures. Lancet Oncol 2008; 9(4): 322-3.

Yoon JS, Mason JM, Valencia R, Woodruff RC, Zimmering S. Chemical mutagenesis testing in Drosophila: IV. Results of 45 coded compounds tested for the National Toxicology Program. Environ Mutagen 1985; 7(3): 349-67.

Zeiger E, Anderson B, Haworth S, Lawlor T, Mortelmans K. Salmonella mutagenicity tests. IV. Results from the testing of 300 chemicals. Environ Mol Mutagen 1988; 11(Suppl 12): 1-157.

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 80 ง (ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2551).

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (ฉบับที่ 4) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 129 ตอนพิเศษ 39 ง (ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555).

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดชื่อและปริมาณของวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (ฉบับที่ 2) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 129 ตอนพิเศษ 39 ง (ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555).

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2536 เรื่อง กำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนของปริมาณสารสำคัญในเครื่องสำอาง ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนพิเศษ 11 ง (ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537).

พรพรรณ สุนทรธรรม. ผลกระทบจากการปรับกฎระเบียบด้านเครื่องสำอางให้สอดคล้องกันในกลุ่มประเทศอาเซียนของประเทศไทย : กรณีศึกษาเครื่องสำอางย้อมผมชนิดสีติดทนถาวร. วารสารอาหารและยา 2554; 18(3): 73-82.

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดเครื่องสำอางควบคุม ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 157 ง (ลงวันที่ 25 กันยายน 2551).

Analysis of hair dyes. In: Senzel A J, Editor. Newburger’s manual of cosmetic analysis. 2nd ed. Washington, DC: AOAC; 1977. p. 98-103.

Penner NA, Nesterenko PN. Simultaneous determination of dihydroxybenzenes, aminophenols and phenylenediamines in hair dyes by high-performance liquid chromatography on hypercross-linked polystyrene. Analyst 2000; 125(7): 1249-54.

ประเทือง รอดเพ็งสังคหะ, สุภาวรรณ จงธรรมวัฒน์, ชมไฉไล สินธุสาร, วรรณา หงส์หิรัญเรือง และนวพร อนันตสินกุล. การสำรวจหาปริมาณพาราฟีนีลีนไดอะมีน และพาราโทลูอีนไดอะมีนในยาย้อมผมที่มีจำหน่ายในประเทศไทย. ว กรมวิทย พ 2538; 37(3): 257-69.

สุภาณี หิรัญธนกิจจากุล, สุดธิดา กงทอง และประเทือง รอดเพ็งสังคหะ. การศึกษาปริมาณพาราฟินีลีนไดอะมีนในยาย้อมผมที่จำหน่ายในประเทศไทย. ว กรมวิทย พ 2539; 38(4): 241-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)