การประเมินการได้รับสัมผัสของกรดเบนโซอิกในน้ำพริกหนุ่มที่จำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2553 - 2556

ผู้แต่ง

  • พัชริดา พิชัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นฤมล ขันตีกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

Exposure Assessment, benzoic acid, preservative, Nam prig noom

บทคัดย่อ

       กรดเบนโซอิกและโซเดียมเบนโซเอต เป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในการยืดอายุของน้ำพริกหนุ่ม กรดและเกลือนี้จัดเป็นวัตถุกันเสียตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร และ Codex อนุญาตให้นำมาใช้ในการผลิตอาหารได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหารหนึ่งกิโลกรัม ผลสำรวจในปี 2552 พบว่า น้ำพริกหนุ่มที่วางจำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่มากกว่าร้อยละ 60 มีกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่ากำหนด ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ทำการสำรวจการใช้กรดเบนโซอิกในน้ำพริกหนุ่ม ในช่วงปี พ.ศ. 2553-2556 พบว่าน้ำพริกหนุ่มที่วางจำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ มีกรดเบนโซอิกเกินเกณฑ์กำหนด ร้อยละ 47.7, 40.0, 30.0 และ 23.5 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลทั้ง 4 ปี มาประเมินการได้รับสัมผัสกรดเบนโซอิก ทั้งชนิดค่าเฉลี่ยของปริมาณอาหารที่บริโภคเฉพาะผู้ที่บริโภค และค่าเปอร์เซ็นไทล์ ที่ 97.5 ของปริมาณอาหารที่บริโภคสำหรับประชากรทั้งหมด ในกลุ่มอายุ 19-35, 35-65 และมากกว่า 65 ปี และคำนวณการได้รับสัมผัส เพื่อประเมินความปลอดภัยของผู้บริโภค 3 ช่วงอายุ ผลการประเมินพบว่าทั้ง 3 ช่วงอายุ ได้รับกรดเบนโซอิกจากการบริโภคน้ำพริกหนุ่มในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค

References

Chipley JR. Sodium benzoate and benzoic acid. In: Davidson PM, Branen AL, editors. Antimicrobial in foods. New York: Marcel Dekker; 1993. p. 11-48.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 97 ง (ลงวันที่ 6 กันยายน 2547).

WHO. Benzoic acid and sodium benzoate (Concise international chemical assessment document 26). Geneva: World Health Organization; 2000.

วีรยา การพานิช. กรดเบนโซอิก วัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในอาหาร. กรุงเทพฯ : สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. [สืบค้น 9 ก.ค. 2558]; [7 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.thaitox.org/media/upload/file/Benzoic-Acid.pdf.

Codex alimentarius. GSFA provisions for BENZOATES. [online]. 2015 [cited 2015 Jul 9]; [3 screens]. Available from: URL: https://www.codexalimentarius.net/gsfaonline/groups/details.html?id=162.

Benzoic acid, sorbic acid and saccharin in food & beverage high performance liquid chromatographic method. In: Compendium of methods for food analysis. Nonthaburi: DMSc & ACFS; 2003. p.12-4.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ; 2549. หน้า 66, 87, 106.

พัจนภา วงษาพรหม, เวณิกา เบ็ญจพงษ์, วีรยา การพานิช, ปราณี พัฒนกุลอนันต์. การประเมินความเสี่ยงของการได้รับสัมผัสกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก จากการบริโภคเครื่องแกงเผ็ดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และสุพรรณบุรี. วารสารพิษวิทยาไทย 2552; 24(1): 17-26.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. ผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ประจำปี2554. เชียงใหม่ : งานพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคและบริการวิชาการ; 2555. หน้า 41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)