ทางเลือกใหม่ในการตรวจวิเคราะห์ยากลุ่ม Amphetamines ในปัสสาวะ
คำสำคัญ:
Method Validation, Amphetamines, Methamphetamine, GC-MS, LC-MSบทคัดย่อ
รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ยากลุ่ม amphetamines ในปัสสาวะ ใช้เป็นหลักฐานสำคัญทางอรรถคดี ดังนั้นวิธีการตรวจวิเคราะห์จึงต้องเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง และมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ สำนักยาและวัตถุเสพติดได้พัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีตรวจวิเคราะห์ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว สำหรับตรวจคุณภาพและหาปริมาณยากลุ่ม amphetamines ในปัสสาวะโดยเทคนิค แก๊สโครมาโทกราฟี ตัวตรวจวัดชนิด แมส (GC-MS) เตรียมตัวอย่างโดยเทคนิคการสกัดด้วยวัฏภาคของแข็ง (SPE) และเทคนิค โครมาโทกราฟีชนิดของเหลวประสิทธิภาพสูง ตัวตรวจวัดชนิดแมส (LC-MS) เตรียมตัวอย่างเทคนิคการสกัดด้วยวัฏภาคของแข็งแบบออนไลน์ (online SPE) จากการตรวจสอบความถูกต้องของวิธี พบว่าเทคนิค GC-MS ช่วงการใช้งาน amphetamine และ methamphetamine มีค่า 100-4,000 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ มากกว่า 0.99 เปอร์เซ็นต์ recovery เฉลี่ย ของ amphetamine และ methamphetamine มีค่า 75.40 และ 76.80 ตามลำดับ ค่าความแม่นระหว่างวัน มีค่า ในช่วง 0.34 -17.23 %RD ค่าความเที่ยงระหว่างวันมีค่าอยู่ในช่วง 3.84-12.57 % CV ค่าความไม่แน่นอนของการวัด ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 มีค่า 2.00 ±0.35 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ 2.00 ± 0.39 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ สำหรับเทคนิค LC-MS ช่วงการใช้งาน amphetamine และ methamphetamine มีค่า 300-2,000 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ มีค่ามากกว่า 0.99 ค่าความแม่นระหว่างวัน มีค่าในช่วง 2.22-16.11 %RD ค่าความเที่ยงมีค่าในช่วง 2.36-10.43 %CV ค่าความไม่แน่นอนของการวัดที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 มีค่า 2.00 ± 0.24 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และมีค่า 2.00 ± 0.27 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยเฉพาะค่าวัสดุ (material cost) ของการตรวจวิเคราะห์โดย GC-MS และ LC-MS มีค่า 628 บาท และ 438 บาท วิธีการตรวจวิเคราะห์ยากลุ่ม amphetamines โดย GC-MS และ LC-MS เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถตรวจวิเคราะห์สารกลุ่มดังกล่าวได้ครอบคลุมตามกฎหมายกำหนด ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำวิธีการตรวจวิเคราะห์ทั้งสองเทคนิคไปใช้เป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ยากลุ่ม amphetamines ในปัสสาวะ ตามความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละหน่วยงาน
References
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์; 2558.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามยาเสพติด. ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ ประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: สำนักปราบปรามยาเสพติด; 2557.
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 23 ง (ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2539).
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนพิเศษ 76 ง (ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2543).
ยาบ้า (methamphetamine). [online]. 2012 [cited 2015 July 17]; [2 screens]. Available from: URL: https://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=2527
สำนักยาและวัตถุเสพติด. คู่มือและแนวทางการจัดซื้อชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
U.S. Department of Health and Human Services, Food and Drug Administration. Guidance for industry bioanalytical method validation. [online]. 2001 [cited 2014 Mar 20]; [25 screens]. Available from: URL: https://www.fda.gov/downloads/Drugs/.../Guidances/ucm070107.pdf
Viswanathan CT, Bansal S, Booth B, DeStefano AJ, Rose MJ, Sailstad J, et.al. Workshop/conference report-quantitative bioanalytical methods validation and implementation: best practices for chromatographic and ligand binding assays. The AAPS J 2007; 9(1): E30-42.
Bansal S, DeStefano A. Key elements of bioanalytical method validation for small molecules. The AAPS J 2007; 9(1): E109-14.
EURACHEM/CITAC Guide CG 4: Quantifying uncertainty in analytical measurement. 3rd ed. Austria: EURACHEM; 2012.
อาทร ริ้วไพบูลย์. การวิเคราะห์ต้นทุนในการดูแลสุขภาพ. กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.
คณพศ ชินชนะโชค. การวิเคราะห์ต้นทุน-ปริมาณ-กำไรและจุดคุ้มทุน. [ออนไลน์]. [สืบค้น 1 ส.ค. 2557]; [9 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.sdtc.ac.th/subject_view_content.php?no=288
WADA technical document-TD2010IDCR. [online]. 2010 [cited 2014 Mar 25]; [9 screens]. Available from: URL: https://wada-main-prod.s3.amazonaws.com/resources/files/WADA_TD2010IDCRv1.0_Identification%20Criteria%20for%20Qualitative%20Assays_May%2008%202010_EN.doc.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.