การปนเปื้อนเชื้อราและอะฟลาทอกซิน ในผลิตภัณฑ์ถั่วพร้อมบริโภค

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ฐิติเพชรกุล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กนกพรรณ สมยูรทรัพย์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ก่อเกียรติ ศาสตรินทร์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ประภาศรี บุณยประภาพันธ์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นันทวรรณ เมฆา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

fungus, water activity, aflatoxin, nut products

บทคัดย่อ

       จากการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ถั่วพร้อมบริโภคจากร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสดและตลาดนัดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 266 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ถั่วลิสง พิสทาชิโอ อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย ลันเตา ปากอ้า เกาลัด ถั่วเขียวผ่าซีก และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มาทำการวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อรา สารอะฟลาทอกซิน และค่า water activity (aw) พบการปนเปื้อนเชื้อราหลายชนิดในตัวอย่าง 67 ตัวอย่าง (25.19%) ในปริมาณ ตั้งแต่ 10-520 CFU/g พบสารอะฟลาทอกซินใน 12 ตัวอย่าง (4.51%) ในปริมาณ 1.02- 204.90 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม โดยจำนวนนี้มี 7 ตัวอย่าง ที่มีสารอะฟลาทอกซินเกินมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 ที่กำหนดให้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็น 58.33% ของจำนวนที่ตรวจพบสารอะฟลาทอกซิน ส่วนค่า aw ของตัวอย่างทั้งหมดมีค่าในช่วงพิสัยตั้งแต่ 0.09-1.00 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง aw กับปริมาณเชื้อราและสารอะฟลาทอกซิน เท่ากับ 0.41 และ 0.34 ตามลำดับ ในขณะที่ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเชื้อรากับสารอะฟลาทอกซินเท่ากับ 0.18 ผลการศึกษานี้พบการปนเปื้อนของเชื้อราและสารอะฟลาทอกซิน ในผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงซึ่งได้แก่ ถั่วลิสงอบกรอบ ขนมตุ้บตั้บ และถั่วลิสงป่น เท่านั้น

References

อนงค์ บิณฑวิหค. สารพิษจากเชื้อรา : อะฟลาทอกซิน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

Ashworth LJ, Schroeder HW, Langley BC. Aflatoxins: environmental factor governing occurrence in Spanish peanuts. Science 1965; 148(3674): 1228-9.

วนิดา ยุรญาติ. อะฟลาทอกซินตกค้างในผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงที่ผ่านการคัดแยกถั่วลิสงดิบด้วยน้ำ. สมุทรปราการ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2551.

ศรีสิทธิ์ การุณยะวนิช, ดวงจันทร์ สุประเสริฐ, อุมา บริบูรณ์, สุวัฒน์ โปษยะวัฒนากุล, นพาภรณ์ ปัญจะ. อะฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย. ว กรมวิทย พ 2538; 37(1): 19-32.

อมรา ชินภูติ. สถานการณ์การปนเปื้อนของเชื้อราและสารอะฟลาทอกซินในงา. [ออนไลน์]. 2552; [7 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.oocities.org/ubfcrc/12.doc.

นุชนารถ ทรัพย์พาณิชย์. Water activity กับการควบคุมอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร. วารสารจาร์พา 2545; 9(68): 48-51.

Beuchat LR, Food and beverage mycology. Westport, CT: Avi Publishing; 1978. p. 2, 45-82.

IARC monographs on the evaluation of carcinogenic risks to humans Vol. 56. Some naturally occurring substances: food items and constituents, heterocyclic aromatic amines and mycotoxins. UK: International Agency for Research on Cancer; 1993. p. 245-521.

อรุณศรี วงศ์อุไร. ความสามารถในการสร้างอะฟลาทอกซินของ Aspergillus flavus จากดินในไร่ถั่วลิสง. ใน : รายงานการสัมมนาเรื่องถั่วลิสงแห่งชาติ ครั้งที่ 12. ขอนแก่น : กรมวิชาการเกษตร; 2540. หน้า 230-232.

Glinsukon T, Thamavit W, Ruchirawat M. Studies on the population of toxigenic fungi in market food and foodstuffs. I. Mycoflora contamination. J Sci Soc Thailand 1976; 2: 179-84.

Moss MO. Mycotoxin fungi. In: Eley AR, edited. Microbial food poisoning. London: Chapman & Hall; 1994. p. 73-91.

Uma RM, Gulla S, Nagalakshmi AVD. Influence of temperature and moisture in extrusion processing on the reduction of aflatoxin B1 in corn products. Int J Food Sci Technol Nutr 2012; 6: 71-77.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 103 ตอนที่ 23 (ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2529).

Trucksess MW, Chapter editor: Chapter 49 Natural toxins. In: Official methods of analysis of AOAC INTERNATIONAL 19th ed. Gaithersberg, MD: AOAC INTERNATIONAL; 2012. AOAC official method 997.22; p. 4-5, 991.31; p. 21-23.

Tarter E.J, Hanchay JP, Scott PM. Improved liquid chromatographic method for determination of aflatoxins in peanut butter and other commodities. J Assoc Off Anal Chem 1984: 67(3): 597-600.

Sutton DA, Fothergill AW, Rinaldi MG. Guide to clinically significant fungi. Maryland: Williams & Wilkins; 1998.

เนตรนภิส หัสมินทร์, ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต, วันเพ็ญ รัศมีโสภาพร. การปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในก๋วยเตี๋ยวพร้อมบริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

อมรา ชินภูติ, ศุภรา อัตตะสาระกุล, อรุณศรี วงษ์อุไร, ชวเลิศ ตรีกรุณาสวัสดิ์, พรทิพย์ วิสารทานนท์, ไพศาล รัตนเสถียร.การควบคุมการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus และยับยั้งการสร้างสารอะฟลาทอกซินในข้าวโพดโดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร; 2550.

ทิพยา ปาณะโตษะ, ศิริพรรณ เอี่ยมรุ่งโรจน์, วารุณี เสนสภา, ทรงพล รัตนพันธุ์. รายงานการศึกษาวิจัย การปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในอาหารสำเร็จรูปที่ทำจากถั่ว. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2530.

โสภณ วงศ์แก้ว, สนั่น จอกลอย. อะฟลาทอกซินในถั่วลิสง : ข้อเสนอวิธีแก้ปัญหา. แก่นเกษตร 2554; 39 (พิเศษ 3): 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)