การพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม ในยาจากสมุนไพรโดยวิธี Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrophotometry

ผู้แต่ง

  • สุภาณี ดวงธีรปรีชา สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จิรานุช แจ่มทวีกุล สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ประภาพรรณ สุขพรรณ์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ปรัชญาพร อินทองแก้ว สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

arsenic, lead, cadmium, herbal medicines, GFAAS, method validation

บทคัดย่อ

       การวิเคราะห์ปริมาณสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม ในยาจากสมุนไพร โดยวิธี Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrophotometry (GFAAS) ได้ถูกพัฒนาขึ้นและตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อใช้ตรวจการปนเปื้อนของโลหะหนักดังกล่าวในยาจากสมุนไพร เพื่อประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ เตรียมตัวอย่างโดยวิธีย่อยสลายด้วยกรด แล้วตรวจหาปริมาณโดยวิธี GFAAS ตรวจสอบความถูกต้องของวิธีตามแนวทางของ ICH-Q2(R1) พบว่าสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม มีความเป็นเส้นตรงในช่วง 5-80, 10-80 และ 0.25-4.0 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากกว่า 0.999 ขีดจำกัดของการตรวจพบ เท่ากับ 2.5, 2.5 และ 0.16 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร โดยที่ขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณ เท่ากับ 1, 2 และ 0.1 ไมโครกรัมต่อกรัม สำหรับสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม ตามลำดับ การทดสอบความแม่นของวิธี ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละของการคืนกลับเท่ากับ 105.6, 98.8 และ 101.0 สำหรับสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม ตามลำดับ วิธีวิเคราะห์มีความเที่ยงได้ค่าร้อยละของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่า 2.9, 2.0 และ 4.7 สำหรับสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม ตามลำดับ ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ยอมรับ เมื่อนำวิธีวิเคราะห์นี้ไปตรวจหาการปนเปื้อนของสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม ในยาจากสมุนไพร 86 ตัวอย่างที่มีจำหน่ายในประเทศไทย พบว่าการปนเปื้อนของโลหะหนักทั้งสามชนิดไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย

References

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2554). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 72 ง. (ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2554).

ทรงพล โต้ชารี. โลหะหนักที่มีพิษต่อสุขภาพ. สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ. [ออนไลน์]. พฤศจิกายน 2555; [สืบค้น 10 เมษายน 2558]; [8 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://eic.wu.ac.th/Data_Download/Research/Metalstoxic.pdf

ขนิษฐ พานชูวงศ์. ปรอท ตะกั่ว สารหนู โลหะหนักภัยใกล้ตัว. [ออนไลน์]. กุมภาพันธ์ 2550; [สืบค้น 10 เมษายน 2558]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.doctor.or.th/article/detail/4102

มลพิษจากโลหะหนัก. [ออนไลน์]. [สืบค้น 10 เมษายน 2558]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter2/chapter2_airpolution11.htm

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณเกี่ยวกับมาตรฐานการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121, ตอนพิเศษ 43 ง. (ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2547).

Department of Medical Sciences. Thai herbal pharmacopoeia Vol. III. Nonthaburi: Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 2009.

International Conference on Harmonization of Technical Requirements for Registration of Pharmaceuticals for Human Use. Validation of analytical procedures: text and methodology Q2(R1). Geneva: ICH Steering Committee; 2005.

AOAC Peer Verified Methods Program, Manual on policies and procedures, Arlington, VA, Nov 1993.

สุวรรณา จารุนุช และคณะ. แนวปฏิบัติการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดทางเคมี. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)