การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงของภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์เภสัชปราศจากเชื้อ โดยวิธี Agar Diffusion

ผู้แต่ง

  • ปวีณา เจริญสิทธิ์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ทวีทรัพย์ ชัยสมบูรณ์พันธ์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Cytotoxicity testing, Plastic parenteral container, Agar diffusion technique

บทคัดย่อ

       ในการประเมินความเป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงของภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์เภสัชปราศจากเชื้อ ตามวิธีที่กำหนดไว้ใน มอก. 531 จะใช้เทคนิค Direct Contact แต่วิธีนี้พบปัญหาบ้างเมื่อทดสอบตัวอย่างที่อยู่ในรูปแบบของถุงและขวด ดังนั้น เพื่อให้ได้วิธีการทดสอบใหม่ที่เหมาะสม จึงได้ทดสอบตัวอย่างภาชนะพลาสติกจำนวน 34 ตัวอย่าง เปรียบเทียบวิธีตาม มอก. 531 กับวิธีใหม่ คือ เทคนิค Agar Diffusion โดยการเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อ L-929 ด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ Eagle’s Minimum Essential Medium (MEM) ที่มี fetal bovine serum (FBS) ร้อยละ 5 จนเซลล์โตเป็นชั้นเดี่ยว จากนั้นเติมอาหาร MEM ที่มีวุ้นร้อยละ 1.5 และสีย้อม neutral red ก่อนวางชิ้นตัวอย่างบนชั้นวุ้น สังเกตการตายของเซลล์ในบริเวณด้านใต้และรอบๆ ชิ้นตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และจำนวนของเซลล์ที่มีชีวิต ภายหลังการสัมผัสกับชิ้นตัวอย่าง 24 ชั่วโมง โดยใช้แผ่นพลาสติก USP Positive Bioreaction RS เป็นตัวควบคุมเพื่อยืนยันผลบวกจากการทดสอบพบว่า ทั้ง 2 วิธีให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) เทคนิค Agar Diffusion เหมาะสำหรับพลาสติกทั้งชนิด โพลิเอทิลีน โพลิโพรพิลีน โพลิไวนิลคลอไรด์ และพลาสติกชั้น ดังนั้นเทคนิค Agar Diffusion จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้แทนที่เทคนิค Direct Contact

References

Laschi A, Sehnal N, Alarcon A, Barcelo B, Caire-Maurisier F, Delaire M, et al. Container-content compatibility studies: a pharmaceutical team’s integrated approch. PDA J Pharm Sci Technol 2009; 63(4): 285-93.

ศุลีพร ศรีพัฒนะพิพัฒน์. ภาชนะบรรจุสำหรับผลิตภัณฑ์เภสัช. สมอ สาร 2545; 28(319): 7-8.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 531-2546. ภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์เภสัชปราศจากเชื้อ. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หน้า 14-16.

USP 35-NF 30: The United States Pharmacopeia. The National Formulary. 35th ed. Rockville: United States Pharmacopeia Convention; 2012. p. 92-94, 472-479.

ASTM F 895-11. Standard test method for agar diffusion cell culture screening for cytotoxicity. Pennsylvania: American Society for Testing and Materials (ASTM); 2011.

ISO 10993-5:2009. Biological evaluation of medical devices -- Part 5: Tests for in vitro cytotoxicity. Geneva: International Organization for Standardization (ISO); 2009.

ISO 7405:2008. Dentistry -- Evaluation of biocompatibility of medical devices used in dentistry. Geneva: International Organization for Standardization (ISO); 2008.

Guess WL, Rosenbluth SA, Schmidt B, Autian J. Agar diffusion method for toxicity screening of plastics on cultured cell monolayers. J Pharm Sci 1965; 54(10): 1545-7.

Vidal MNP, Aiub C, Abrantes S, Zamith HPS. Evaluation of Brazilian medical devices using agar diffusion cytotoxicity assay. Rev Bras Hematol Hemoter 2009; 31(2): 84-7.

สุวรรณา ก่อสุวรรณวงศ์, ราชพร สีจันทร์, ละอองทอง วัชราภัย. การประเมินพิษของสารยึดติดเนื้อฟันโดยวิธีอาการ์โอเวอร์เลย์. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2551; 58(3): 196-202.

Miranda RB, Fidel SR, Boller MA. L929 cell response to root perforation repair cements: an in vitro cytotoxicity assay. Braz Dent J 2009; 20(1): 22-6.

Lonnroth EC. Toxicity of medical glove materials: a pilot study. Int J Occup Saf Ergon 2005; 11(2): 131-9.

ทวีทรัพย์ ชัยสมบูรณ์พันธ์, ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์, ปวีณา ลีลาภัทรานุรักษ์, อารียา ดิษรัฐกิจ. คุณภาพความปลอดภัยและความเข้ากันได้ทางชีววิทยาของพลาสติกที่ใช้ทางการแพทย์. สารตำรายา 2546; 10(2): 33-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)