ข้อกำหนดทางเคมีและกายภาพของโกฐน้ำเต้า

ผู้แต่ง

  • กันยารัตน์ ชลสิทธิ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สรินยา จุลศรีไกวัล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศุภกร จันทร์จอม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Kot Namtao, physico-chemical properties, speciication

บทคัดย่อ

       โกฐน้ำเต้า เป็นเหง้าและรากแห้งของพืชชนิดใดชนิดหนึ่งใน 3 ชนิด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rheum oicinal Baill., R.palmatum L. และ R.tanguticum (Maxim.Ex Regel) Maxim.ex Balf. ในวงศ์ Polygonaceae หรือเหง้าและรากแห้งของพืช 2 หรือ 3 ชนิดข้างต้นปนกัน ตำราสรรพคุณยาไทย ระบุโกฐน้ำเต้ามีสรรพคุณเป็นยาระบายชนิด “รู้เปิดรู้ปิด” และมีฤทธิ์ฝาดสมาน แต่ยังไม่มีข้อกำหนดในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia) ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2556 คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินโครงการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของโกฐน้ำเต้า โดยเก็บตัวอย่างจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและร้านขายยาสมุนไพรในประเทศไทย จำนวน 19 ตัวอย่าง พบว่า โกฐน้ำเต้ามีองค์ประกอบทางเคมีเป็นสารกลุ่ม anthraquinones และ tannins เมื่อตรวจสอบโดยใช้วิธี thin-layer chromatography พบสารสำคัญอย่างน้อย 3 ชนิด คือ chrysophanol, emodin และ rhein ผลการศึกษาคุณภาพของตัวอย่างดังกล่าว พบว่า ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ สารสกัดด้วยเอทานอล ความชื้น เถ้ารวม เถ้าที่ไม่ละลายในกรด และ hydroxyanthracene derivatives คำนวณเป็น rhein คิดเป็นร้อยละ 31.71 ± 4.06, 21.85 ± 7.50, 8.18 ± 1.13, 11.85 ± 4.35, 0.76 ± 0.38 และ 1.66 ± 1.07 ตามลำดับ นำผลที่ได้มาจัดทำข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีของโกฐน้ำเต้าได้ดังนี้ ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอลและปริมาณ hydroxyanthracene derivatives คำนวณเป็น rhein ไม่น้อยกว่าร้อยละ 27, 14 และ 0.6 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้ารวม และปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกินร้อยละ 10, 16 และ 1 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพ และใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของโกฐน้ำเต้าในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยต่อไป

References

The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China Vol. I. Beijing: People’s Medical Publishing House; 2005.

Rheum spp. In: Tang W, Eisenbrand G. Chinese drugs of plant origin: chemistry, pharmacology and use in traditional and modern medicine. Berlin, Germany: Springe-Verlag; 1992. p. 855-75.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร และวิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้ง 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์; 2547. หน้า 106-9.

ราชบัณฑิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์; 2546. หน้า 410-1.

Li A, Bao B, Grabovskaya-Borodina AE, Hong S, McNeil J, Mosyakin SL, et al. Polygonaceae. In: Wu ZY, Raven PH, Hong DY, editors. Flora of China Vol. 5. Beijing: Science Press; 2003. p.227-350.

Image of polygonaceae rheum oicinale. [online]. 2005; [cited 2015 Aug 20]; [1 screen]. Available from: URL: http://www.fossillowers.org/imgs/kcn2/r/Polygonaceae_Rheum_oicinale_13620.html.

Danger garden. Bloomday for May 2014. The Rheum palmatum bloom. [online]. 2014; [cited 2015 Aug 20]; [1 screen]. Available from: URL: http://www.thedangergarden.com/2014/05/bloomdayfor-may-2014.html.

Henriette's Herbal Homepage. Photo: Rheum tanguticum 2. [online]. 2005; [cited 2015 August 20]; [1 screen]. Available from: URL: http://www.henriettes-herb.com/galleries/photos/r/rh/rheumtanguticum-2.html.

WHO monograph on selected medicinal plants Vol. 1. Geneva: World Health Organization; 1999. p. 231-40.

สุธิดา ไชยราช. ข้อมูลทั่วไปของพืชที่เป็นส่วนประกอบ. ใน : ปราณี ชวลิตธำรง และอังคณา หิรัญสาลี, คณะบรรณาธิการ. ยาธรณีสันฑะฆาต : คุณภาพวัตถุดิบและความปลอดภัยของตำรับ. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2555. หน้า 56-7.

Leng-Peschlow E. Dual efect of orally administered sennosides on large intestine transit and luid absorption in the rat. J Pharm Pharmacol 1986; 38(8): 606-10.

de Witte P. Metabolism and pharmacokinetics of anthranoids. Pharmacology 1993; 47(Suppl 1): 86-97.

สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ. 2556. [ออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 10 ส.ค. 2558]; [22 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: http://drug.fda.moph.go.th/zone_law/law043.asp.

วารุณี จิรวัฒนาพงศ์, สุพรรณ ภัทรพรชัยวัฒน์, ภูริทัต รัตนสิร และนิธิดา พลโครต. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการควบคุมคุณภาพและการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานทางเคมีของสมุนไพร. วันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2555. นนทบุรี : สถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2555.

British Pharmacopoeia Commission. British Pharmacopoeia 2012. London: The Stationary Oice; 2012.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. หลักการและเทคนิคพื้นฐานของวิธีทีแอลซี. ใน : นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, อุทัย โสธนะพันธุ์และประไพ วงศ์สินคงมั่น, บรรณาธิการ. ทีแอลซี: วิธีอย่างง่ายในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องยาไทย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2551. หน้า 22-86.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai herbal pharmacopoeia Vol. I. 2nd ed. Appendices 4.15 Loss on drying. Bangkok: Prachachon; 1998. p. 123-4.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai herbal pharmacopoeia Vol. II. 2nd ed. Appendices 7.6 Acid-insoluble ash, 7.7 Total ash and 7.12 Extractives. Bangkok: Prachachon; 2000. p. 108, 141.

Eurachem Guides. The itness for purpose of analytical methods (2014). [online]. 2014; [cited 2014 Jul 10]; [1 screen]. Available from: URL: https://www.eurachem.org/index.php/publications/guides/mv.

Sakulpanich A, Gritsanapan W. Determination of antraquinone glycoside content in Cassia istula leaf extracts for alternative source of laxative drug. Int J Biomed Pharma Sci 2009; 3(1): 42-45.

Pharmaceuticals and Medical Devices Agency. JP 16th edition texts by section. Crude drugs rhubarb. [online]. 2011; [cited 2014 Jun 25]; [2 screen]. Available from: URL: http://www.pmda.go.jp/english/rs-sb-std/standards-development/jp/0003.html.

เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, บรรณาธิการ. ศาสตร์ยาสมุนไพรจีน. กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2554. หน้า 17, 21, 35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)