การช่วยเหลือผู้ประกอบการน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งในพื้นที่ประสบมหาอุทกภัย ปี 2554 - 2555

ผู้แต่ง

  • ปิยมาศ แจ่มศรี สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ลดาพรรณ แสงคล้าย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กรรณิกา จิตติยศรา สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Water and ice, Flood, Water quality

บทคัดย่อ

       เหตุการณ์น้ำท่วมอย่างรุนแรงในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554-2555 ก่อผลกระทบทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำดื่มประชาชนจึงเลือกบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด ผู้ประกอบการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมก็มีปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรคในแหล่งน้ำดิบ จนทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้สามารถผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็งที่สะอาดได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรคที่อาจมากับน้ำดื่มและน้ำแข็ง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการดังกล่าวในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) การดำเนินโครงการแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการและให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing practice, GMP) แก่ผู้ร่วมโครงการ ช่สงที่่ 2 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ (อย. สสจ. และ กทม.) เก็บตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็ง จากผู้ผลิตครั้งที่ 1 และนำส่งตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการของสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในพื้นที่ รายการตรวจวิเคราะห์อ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิทและน้ำแข็ง ช่วงที่ 3 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตแก่ผู้ผลิตที่มีผลวิเคราะห์ไม่ผ่านมาตรฐานครั้งแรก และเก็บตัวอย่างน้ำบริโภคฯ และน้ำแข็งซ้ำหลังการปรับปรุงแล้ว จากข้อมูลผลวิเคราะห์ตัวอย่างครั้งที่ 1 จำนวนทั้งหมด 589 ตัวอย่าง พบน้ำดื่มบรรจุขวด 510 ตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตรฐาน 101 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 19.8 และน้ำแข็ง 79 ตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตรฐาน 27 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.2 และหลังการปรับปรุงคุณภาพ ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง พบว่ายังมีน้ำดื่มบรรจุขวดจำนวน 60 ตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตรฐาน 19 ตัวอย่าง (ร้อยละ 31.7) และน้ำแข็ง 17 ตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐาน 9 ตัวอย่าง (ร้อยละ 52.9) อย่างไรก็ตามมีจำนวนตัวอย่างผ่านมาตรฐานเพิ่มขึ้นจากผลวิเคราะห์ครั้งที่ 1 ร้อยละ 15.4 จากการดำเนินโครงการ ผู้ประกอบการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วงหลังน้ำลด จึงอาจกล่าวได้ว่า โครงการนี้มีส่วนช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยให้กลับฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งที่สะอาดและปลอดภัยอีกด้วย

References

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554. [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 7 ก.ย. 2557]; [35 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: http://th.wikipedia.org/wiki/อุทกภัยในประเทศไทย_พ.ศ._2554

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 220 (พ.ศ. 2544). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 ตอนพิเศษ 70 ง. (ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2544).

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 157 (ลงวันที่ 24 กันยายน 2524).

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 61 (ลงวันที่ 2 เมษายน 2534).

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2527). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 101 ตอนที่ 23 (ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2527).

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 137 (พ.ศ. 2534). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 94 (ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2534).

Rice EW, Baird RB, Eaton AD, Clesceri LS, editors. Standard method for the examination of water and wastewater. 22th ed. Washington, DC: American Public Health Association; 2012.

Bacteriological Analytical Manual Chapter 12 Staphylococcus aureus. [online]. 2001; [cited 2014 Dec 15]; [5 screens]. Available from: URL: http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm071429.htm

ISO 19250:2010. Water quality detection of Salmonella spp. Geneva: International Organization for Standarization; 2010

Environment Agency. The Microbiology of drinking water (2010) - Part 6 - Methods for the isolation and enumeration of sulphite-reducing clostridia and Clostridium perfringens by membrane iltration. [online]. 2010; [cited 2014 Dec 15]; [32 screens]. Available from: URL: https://www.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/ile/316777/MoDW-6-230-apr15.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปข้อมูลผลกระทบจากอุทกภัยต่อสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต (จากโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555). [ออนไลน์]. 2555; [สืบค้น 5 ม.ค. 2558]; [7 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/census/iles/industry_lood.pdf

ฟลูออรีน. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 19 มิ.ย. 2558]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: http://student.mahidol.ac.th/~u4904035/fdaily.html

บทที่ 3 อุณหภูมิและความเป็นกรดและด่าง. ใน : ไพฑูรย์ หมายมั่นสมสุข. การวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียเบื้องต้น. [ออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 5 ส.ค. 2558]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: http://www2.diw.go.th

Department of Health. Coliform bacteria in drinking water supplies. [online]. 2011; [cited 2014 Dec 15]; [2 screens]. Available from: URL: https://www.health.ny.gov/environmental/water/drinking/coliform_bacteria.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2015

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)