การพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์และการลดปริมาณสารรมเมทิลโบรไมด์ในรูปของโบรไมด์อนินทรีย์ทั้งหมด ในข้าวสารโดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี
คำสำคัญ:
methyl bromide, inorganic bromide, GC-μECD, riceบทคัดย่อ
เมทิลโบรไมด์เป็นสารรม (Fumigant) ตัวหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการเก็บรักษาข้าวสารทั้งก่อนและหลังบรรจุถุงก่อนนำออกจำหน่ายเพื่อกำจัดแมลงและศัตรูพืช เมื่อมีการรมซ้ำหลายครั้งจะทำให้เกิดการตกค้างของสารดังกล่าวในรูปของโบรไมด์อนินทรีย์ (inorganic bromide) จึงได้พัฒนาวิธีที่ปรับปรุงจาก Stijve method ให้ใช้วิเคราะห์ปริมาณทั้งหมดของโบรไมด์อนินทรีย์ในข้าวสารเพื่อตรวจสอบคุณภาพข้าวสารที่ผ่านการรมสารดังกล่าว โบรไมด์อนินทรีย์ในตัวอย่างข้าวสารที่บดแล้วจะสามารถละลายออกมาในน้ำที่มีสภาวะเป็นกรด และทำปฏิกิริยากับ propylene oxide ทำให้เป็นอนุพันธ์ 1-bromopropane-2-ol และ 2-bromopropane-1-ol แล้วสกัดให้อยู่ในส่วนของตัวทำละลายอินทรีย์เพื่อตรวจปริมาณด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟีชนิดไมโครอีซีดี (GC-μECD) สามารถตรวจวัดสารโบรไมด์อนินทรีย์โดยมีขีดจำกัดของการตรวจพบ (limit of detection, LOD) และขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณ (limit of quantitation, LOQ) ที่ 2 และ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ โดยความแม่น (accuracy) แสดงด้วยค่าเฉลี่ยของ %recovery ที่ระดับ 5, 25 และ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อวิเคราะห์แบบใช้สารมาตรฐานภายนอก (external standard calibration) เท่ากับ 96.9, 93.4 และ 94.3% ตามลำดับ และเมื่อใช้ 3-bromopropane-1-ol ในการวิเคราะห์แบบใช้สารมาตรฐานภายใน (internal standard calibration) เท่ากับ 94.5, 89.2 และ 86.9% ตามลำดับ มีความเที่ยงแสดงด้วยค่า HORRAT น้อยกว่า 2 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยอมรับ ผลการวิเคราะห์ที่ระดับ LOQ ทั้งสองกรณีไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (∝ = 0.5) มีความเป็นเส้นตรงและช่วงการวิเคราะห์ (linearity and working range) ในช่วง 5-75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเปียร์สัน (r) เท่ากับ 0.999 วิธีที่พัฒนาขึ้นจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการและสามารถรองรับค่ามาตรฐานตามค่ากำหนดของคณะกรรมาธิการอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 361) พ.ศ. 2556 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้างที่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
References
Methyl bromide. In: Bond EJ. Manual of fumigation for insect control. [online]. 1989; [cited 2014 Jul 25]; [8 screens]. Available from: URL: http://www.fao.org/docrep/X5042E/x5042E08.htm.
Mayr GE. Methyl bromide and ethylene oxide as fumigants. Pure & Appl Chem 1978; 50: 519-23.
U.S. Environmental Protection Agency. Pesticide fact sheet number 98: methyl bromide. Washington, DC: U.S. Government Printing Office; 1986.
Gehring PJ, Nolan RJ, Watanabe PG, Schumann AM. Solvents fumigants and related compounds. In: Hayes WJ, Laws ER, editors. Handbook of pesticide toxicology. San Diego, CA: Academic Press; 1991. p. 668-671.
World Health Organization. Methyl bromide, environmental health criteria, 166. Geneva, Switzerland: WHO; 1995.
U.S. Department of Human Health & Human Services. Monohalomethanes: methyl chloride, methyl bromide, methyl iodide. Current intelligence bulletin no. 43. Atlanta, GA: National Institute for Occupational Safety and Health; 1984.
Wagner SL. The fumigants. In: Clinical toxicology of agricultural chemicals. Corvallis, OR: Oregon State University, Environmental Health Sciences Center. 1981. p. 284-290.
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 109 ตอน 39 (วันที่ 6 เมษายน 2535).
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 361 (พ.ศ. 2556) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 130 ตอนพิเศษ 106 ง (วันที่ 26 สิงหาคม 2556).
พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน. [ออนไลน์]. [สืบค้น 29 พ.ค. 2557]; [7 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www2.diw.go.th/treaty/montreal/พิธีสารมอนทรีออลweb.pdf.
Mapes DA, Shrader SA. Determination of total and inorganic bromide a residues in fumigated products. J Assoc Offic Aqr Chem 1957; 40: 189-91.
Lindren DL, Gunther FA, Vincent LE. Bromine residues in wheat fumigated with methyl bromide. J Econ Entomol 1962; 55: 773-6.
Banks HJ, Desmarchelier JM, Elek JA. Determination of bromide ion content of cereals and other foodstuffs by specific ion electrode. Pestic Sci 1976; 7(6): 595-603.
Mitsuhashi T, Adachi K, Kaneda Y. Determination of total bromide in cereals by gas chromatography. J Food Hygienic Society Japan 1987; 28(2): 130-5.
บุญไพ สังวรานนท์, พัชรวรรณ จงมีวาสนา และกอบทอง ธูปหอม. การวิเคราะห์ปริมาณอินออร์แกนิคโบรไมด์ในข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว. ว กรมวิทย พ 2541; 40(2): 171-7.
Bromide-containing fumigants S 18. In: Thier HP, Zeumer H, editors. Manual of pesticide residue analysis volume I. Weinheim, NY: VCH; 1987. p. 377-381.
Stijve T. Gas chromatographic determination of inorganic bromide residues - a simplified procedure. Dtsch Lebenm Rundsch 1981; 77: 99-101.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวปฏิบัติการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดทางเคมี. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
Miller JN, Miller JC. Statistics and chemometrics for analytical chemistry. 4th ed. Harlow, NY: Prentice Hall; 2000.
Nakamura Y, Sekiguchi Y, Hasegawa S, Tsumura Y, Tonogai Y, Ito Y. Reductions in postarvestapplied dichlorvos, chlorpyrifos-methyl, malathion, fenitrothion and bromide in rice during storage and cooking processes. J Agric Food Chem 1993; 41(11): 1910-5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.