สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงไวรัสโรตาสายพันธุ์วัคซีนเพื่อใช้เป็นไวรัสอ้างอิงสำหรับการประเมินค่าความแรงของวัคซีนไวรัสโรตาซีโรทัยป์เดี่ยว

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ มิ่งงามทรัพย์ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุกัลยาณี ไชยมี สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ภูริต ทรงธนนิตย์ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุภาพร ภูมิอมร สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Rotavirus vaccine, potency

บทคัดย่อ

       วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรตา อาจถูกบรรจุเข้าในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติในอนาคต เพื่อลดอัตราการตายของทารกและเด็กเล็กที่เกิดจากโรคอุจจาระร่วง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมคุณภาพวัคซีน เพื่อให้แน่ใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน ในการนี้จำเป็นต้องเตรียมไวรัสโรตาสายพันธุ์วัคซีนซีโรทัยป์เดี่ยวเพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพของวัคซีนในห้องปฏิบัติการ ในการศึกษานี้ได้หาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมไวรัสโรตาสายพันธุ์วัคซีนซีโรทัยป์เดี่ยวโดยให้ติดเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยงในสภาวะที่มีความเข้มข้นของ trypsin ที่แตกต่างกัน และศึกษาการเก็บไวรัสในน้ำเลี้ยงเซลล์และเซลล์ที่ถูกติดเชื้อในสภาวะต่างๆ คือหลังถูกแช่แข็งและละลายจำนวน 1 ครั้ง 2 ครั้ง และ 3 ครั้ง ตามลำดับ เทียบกับการเก็บไวรัสโดยตรงจากน้ำเลี้ยงเซลล์และเซลล์ที่ถูกติดเชื้อเพื่อนำสภาวะที่เหมาะสมมาเตรียมและกำหนดค่าความแรงของไวรัสโรตาสายพันธุ์วัคซีนซีโรทัยป์เดี่ยวผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้น 7.5 μg/ml trypsin/washing medium ทั้งใน titration medium และ maintenance medium สามารถเพิ่มจำนวนไวรัสโรตาติดเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง
MA104 และเก็บไวรัสแบบแช่แข็งและละลายเพียงครั้งเดียวเป็นสภาวะที่เหมาะต่อการเตรียมไวรัสโรตาสายพันธุ์วัคซีนซีโรทัยป์เดี่ยวเนื่องจากให้ค่าความแรงของไวรัสโรตาสูงที่สุด เป็น 7.93 log10CCID50/1.5 มิลลิลิตร กับค่าพิสัยอยู่ในช่วง 7.46-8.40 log10CCID50/1.5 มิลลิลิตร และค่าที่ได้แต่ละค่าจากผู้วิเคราะห์ 3 ราย มีความแตกต่างไม่เกิน 0.5 log10CCID50/1.5 มิลลิลิตร จึงสรุปได้ว่าไวรัสโรตาสายพันธุ์วัคซีนซีโรทัยป์เดี่ยวที่เตรียมขึ้นในห้องปฏิบัติการนี้สามารถนำมาใช้เป็นไวรัสอ้างอิงในการควบคุมคุณภาพวัคซีนไวรัสโรตาซีโรทัยป์เดี่ยว

References

วิชัย สันติมาลีวรกุล และทศวรรณ จิตรวศินกุล. วัคซีนโรตาไวรัส : การพัฒนาและการนำมาใช้ทางคลินิก. ไทยไกษัชยนิพนธ์ 2550; 4(1): 1-12.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง. หมอสุรวิทย์ เผย สธ. เตรียมบรรจุวัคซีน “ไวรัสโรตา” เข้าแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติปี 2558 [cited 2014 Feb 4]; Available from: URL: http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=49880.

World Health Organization. Rotavirus vaccines WHO position paper - January 2013. Weekly Epidemiological Record (WER) 2013; 88(5): 49-64.

World Health Organization. Recommendations for the preparation, characterization and establishment of international and other biological reference standards. WHO Technical Report Series No. 932, 2006.

Twist EM, Kolonich K, Rubin DH. Propagation of rotaviruses in the presence of chicken serum. J Gen Virol 1984; 65(Pt 7): 1207-10.

Almeida JD, Hall T, Banatvala JE, Totterdell BM, Chrystie IL. The effect of trypsin on the growth of rotavirus. J Gen Virol 1978; 40(1): 213-8.

Clark SM, Roth JR, Clark ML, Barnett BB, Spendlove RS. Trypsin enhancement of rotavirus infectivity: mechanism of enhancement. J Virol 1981: 39(3): 816-22.

วันดี วราวิทย์ และอัจฉรีย์ อินทุโสมา. Rotavirus vaccine. กรุงเทพฯ: หน้า 28-33.

Martin J. Evaluating cell-line sensitivity. In: World Health Organization. Polio laboratory manual. 4th ed. Geneva, Switzerland: WHO; 2004. p. 73-80.

World Health Organization. Manual of laboratory methods for testing of vaccines used in the WHO Expanded Programme on Immunization (EPI). Geneva: WHO; 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)