สรุปและวิเคราะห์สาเหตุที่แรงงานไทยถูกส่งกลับจากการตรวจโรคไม่ผ่านในต่างประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2557
คำสำคัญ:
Thailand oversea labors, returned labor from disease detected abroad, fake Reports, fabricated testing resultsบทคัดย่อ
ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา แรงงานไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศ ต้องได้รับการตรวจสุขภาพ ตามกฎหมายหรือข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ โดยจะต้องตรวจกับสถานพยาบาลเอกชน ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในขณะที่สถานพยาบาลภาครัฐ ไม่ต้องขอการรับรองมาตรฐานใดๆ แต่ก็ยังปรากฏรายงานสถิติแรงงานไทยที่ถูกส่งกลับจากตรวจโรคไม่ผ่านในต่างประเทศ จึงได้ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการส่งกลับดังกล่าว โดยมีรูปแบบเป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูล จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่รายงานให้กับสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2557 พบว่าแรงงานถูกส่งกลับ จำนวน 242 คน (0.11%) จากที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ 217,963 คน อัตราการส่งกลับมีแนวโน้มลดลงตาม ปี พ.ศ. ที่ผ่านมา สาเหตุของโรคที่พบบ่อย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคปอดและวัณโรค ไวรัสตับอักเสบบี และโรคจิตเภท ตามลำดับ สำหรับโรคปอดและวัณโรคที่ตรวจไม่ผ่านในต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 55.77% ในปี พ.ศ. 2554 เป็น 76.19% ในปี พ.ศ. 2557 และได้ติดตาม ผลตรวจยืนยันแรงงานที่ถูกส่งกลับ 139 คน ที่ถูกส่งกลับเพราะตรวจโรคปอดและวัณโรค ไม่ผ่านในต่างประเทศ 99 คน (71.22%) โดยถูกส่งกลับจากการตรวจของห้องปฏิบัติการภาครัฐเพียงแห่งเดียว 52 คน (52.53%) เฉพาะแรงงานที่ถูกส่งกลับและติดตามบุคคลให้รับการตรวจยืนยันในประเทศไทยได้ 19 คน มี 11 คน (57.90%) ที่ผลการตรวจยืนยันในประเทศไทยเป็นลบหรือปกติ ทั้งนี้มี 6 คน (31.58%) ที่ใช้เอกสารปลอม หรือปลอมแปลงผลตรวจ เนื่องจากผลตรวจเอกซเรย์ไม่ผ่านตั้งแต่ก่อนเดินทางหรือใช้ใบรายงานผลจากห้องปฏิบัติการที่ถูกยกเลิก หรือไม่ปรากฏรายนามเป็นผู้มารับบริการตรวจ มีเพียง 2 คน (10.53%) ที่อาจมีผลลบปลอมตั้งแต่ก่อนเดินทาง ปัญหาการใช้เอกสารปลอมหรือปลอมแปลงผลตรวจก่อนเดินทาง ยังพบได้ในกรณีแรงงานถูกส่งกลับ จากตรวจไวรัสตับอักเสบบี และ ซี และตรวจสารเสพติดไม่ผ่านในต่างประเทศ ซึ่งตรงกับผลตรวจก่อนเดินทาง
References
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นสถานตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ; 2547.
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ. สถานพยาบาลที่ได้รับความเห็นชอบให้ตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ. [ออนไลน์]. 16 ก.ค. 2557; [สืบค้น 30 ต.ค. 2557]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.overseas.doe.go.th/health/20140716_hospital.pdf.
สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ข้อกำหนดและเงื่อนไขการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทำงานต่างประเทศ. [ออนไลน์]. สิงหาคม 2555; [สืบค้น 30 ต.ค. 2557]; [19 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_qa/DBQA/ifc_qa/userfiles/oversee_requirement55.pdf.
AusVet Animal Health Service. Chi-squared test for trend. [online]. 2014; [cited 2014 Oct 30]; [1 screen]. Available from: URL: http://epitools.ausvet.com.au/content.php?page=trend.
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. สถิติจำนวนคนหางานที่ถูกส่งกลับประเทศไทยกรณีตรวจโรคไม่ผ่านในต่างประเทศ พ.ศ. 2555-2557. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ; 2558.
วินัย ลู่วิโรจน์. ประสาน สธ. เข้มมาตรฐานโรงพยาบาล หลังแรงงานไทยถูกส่งกลับ. แนวหน้า[หนังสือพิมพ์ออนไลน์]. 24 ธ.ค. 2555; [สืบค้น 30 ต.ค. 2557]; เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.naewna.com/local/35043.
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2543.
WHO/HTM/TB/2009.420, Guidelines treatment of tuberculosis. 4th ed. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2010.
Chest x-ray related diseases & conditions. [online]. 2014; [cited 2014 Oct 30]; Available from: URL: http://www.medicinenet.com/chest_x-ray/related-conditions/index.htm
Whyte GS, Savoia HF. The risk of transmitting HCV, HBV or HIV by blood transfusion in Victoria. Med J Aust 1997; 166(11): 584-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.