การพัฒนาการเป็นผู้ดำเนินการแผนทดสอบความชำนาญการตรวจวิเคราะห์อาหารทางจุลชีววิทยา

ผู้แต่ง

  • ลดาวัลย์ จึงสมานุกูล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กมลวรรณ กันแต่ง สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อัจฉรา อยู่คง สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Proficiency Testing, Microbiology, Laboratory evaluation

บทคัดย่อ

       การทดสอบความชำนาญทางจุลชีววิทยาเป็นการประเมินความสามารถในการตรวจวิเคราะห์และพัฒนาระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์อาหารทางจุลชีววิทยา ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ใช้บริการทดสอบความชำนาญจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ดำเนินการเพียง 1-2 ราย และไม่ครอบคลุมรายการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาที่จำเป็น ดังนั้นเพื่อเป็นทางเลือกหรือทดแทนการใช้บริการจากต่างประเทศและเพิ่มศักยภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการพัฒนาห้องปฏิบัติการ ในปี พ.ศ. 2554 สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร (สคอ.) จึงได้เริ่มโครงการการให้บริการทดสอบความชำนาญทางจุลชีววิทยา โดยในขั้นแรกได้จัดทำโครงการนำร่องเพื่อศึกษาทดลองเตรียมตัวอย่างทดสอบความชำนาญและส่งตัวอย่างทดสอบรายการ Salmonella spp. และ Staphylococcus aureus ให้แก่หน่วยงานตรวจวิเคราะห์อาหารทางจุลชีววิทยาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 16 แห่ง และให้ทุกหน่วยงานรายงานผลการตรวจภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งจากผลที่ได้รับเป็นการยืนยันว่าตัวอย่างที่เตรียมสามารถใช้ทดสอบความชำนาญทางจุลชีววิทยาได้ จึงขยายการให้บริการแก่ห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่องคือปีงบประมาณ 2555 ให้บริการ 2 รายการทดสอบได้แก่ Salmonella spp. และ S.aureus แต่ละรายการทดสอบให้บริการรายการละ 2 รอบ รวม 4 รอบ มีสมาชิกรวม 109 ราย ปีงบประมาณ 2556 เพิ่มขอบข่ายการให้บริการอีก 2 รายการทดสอบ ได้แก่ Listeria monocytogenes และจำนวนจุลินทรีย์รายการละ 1 รอบ รวม 4 รอบ มีสมาชิกรวม 177 ราย และปีงบประมาณ 2557 ขยายขอบข่ายการให้บริการเป็น 7 รายการทดสอบ โดยเพิ่มรายการทดสอบจำนวนจุลินทรีย์, จำนวน Bacillus cereus, จำนวน coliforms และจำนวน Escherichia coli รวม 7 รอบ มีสมาชิกรวม 356 ราย เฉลี่ยมีห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมทดสอบฯ ต่อรอบเพิ่มขึ้นตามลำดับคือ ปีงบประมาณ 2555-2557 เท่ากับ 27, 44 และ 51 รายตามลำดับ ซึ่งห้องปฏิบัติการสมาชิกสามารถนำผลที่ได้ไปประเมินความสามารถในการตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ รายการทดสอบทั้ง 7 รายการนี้ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043: 2010 เมื่อต้นปี พ.ศ. 2558 การเป็นผู้ดำเนินการแผนทดสอบความชำนาญการตรวจวิเคราะห์อาหารทางจุลชีววิทยาของ สคอ. เป็นการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพห้องปฏิบัติการของประเทศไทยและลดค่าใช้จ่ายของห้องปฏิบัติการต่างๆ ในการเข้าร่วมทดสอบความชำนาญกับหน่วยงานต่างประเทศ

References

สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. นโยบายและหลักเกณฑ์การทดสอบความชำนาญ การเปรียบเทียบผลทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการและการประเมินความสามารถการทดสอบ. SOP No. N 07 15 003 แก้ไขครั้งที่ 08 วันที่ออกเอกสาร 3 ธันวาคม 2557.

ISO/IEC 17025: 2005. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. 2nd ed. Geneva, Switzerland: ISO; 2005.

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 98 ก (ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2552).

ISO/IEC 17043: 2010. Confomity assessment -- General requirements for proficiency testing. Geneva, Switzerland: ISO; 2010.

ISO/TS 22117: 2010. Microbiology of food and animal feeding stuffs -- Specific requirements and guidance for proficiency testing by interlaboratory comparison. Geneva, Switzerland: ISO; 2010.

ISO 13528: 2005. Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparisons. Geneva, Switzerland: ISO: 2005.

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สถิติที่ใช้ในการทดสอบความชำนาญ. SOP PT 20 T4 401 แก้ไขครั้งที่ 05 วันที่ออกเอกสาร 19 สิงหาคม 2557.

ISO 16140:2003/Amd.1:2011. Microbiology of food and animal feeding stuffs -- Protocol for the validation of alternative method. Geneva, Switzerland: ISO; 2011.

Research randomizer. 2008. [cited 2011 Aug 24]: [1 screen]. Available from: URL: http://www.randomizer.org/form.htm

National Association of Testing Authorities (NATA). Maintenance and preservation of microbial cultures in a laboratory culture collection. Australia; 1992. Technical note 14.

ISO 11133:2014. Microbiology of food, animal feed and water – Preparation, production, storage and performance testing of culture media. Geneva, Switzerland: ISO: 2014.

ISO 11290-1:1996/Amd. 1:2004. Microbiological of food and animal feeding stuffs - Horizontal method for the detection and enumeration of Listeria monocytogenes - Part 1: Detection method/Amendment 1: Modificaion of the isolation media and the haemolysis test, and inclusive of precision data. Geneva, Switzerland; ISO 2004.

ISO 6579:2002/Cor.1:2004(E). Microbiology of food and animal feeding stuffs -- horizontal method for the detection of Salmonella spp. Geneva, Switzerland: ISO: 2004.

Bennett RW, Lancette GB. Bacteriological Analytical Manual: chapter 12 Staphylococcus aureus. 2001. [cited 2011 Aug 24]: [6 screens]. Available from: URL: http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm071429.htm

Bacteriological Analytical Manual: chapter 4 enumeration of Escherichia coli and the coliform bacteria. 2002. [cited 2011 Aug 24]: [18 screens]. Available from: URL: http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm064948.htm

Downes FP, Ito K, editors. Compendium of methods for the microbiological examination of foods. 4th ed. Washington, DC: American Public Health Association; 2001. p. 53-68.

Bacteriological Analytical Manual: chapter 14 Bacillus cereus. 2001. [cited 2011 Aug 24]: [5 screens]. Available from: URL: http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm070875.htm

กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติของหน่วยงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตในการผลิต ครอบครองจำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2552. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 86 ก (ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552).

Introduction to the transport of infectious substances. In: World Health Organization. Laboratories biosafety manual. 3rd ed. Geneva, Switzerland: WHO; 2004. p. 94-7.

Safety in the laboratory. In: World Health Organization. Quality assurance in bacteriology and immunology. 3rd ed. New Delhi, India: WHO; 2012. p. 77-85.

Food Examination Performance Assessment Scheme. FEPAS assessment 89. Sand Hutton: Central Science Laboratory; 2004.

ISO 7218:2007/Amd.1:2013. Microbiology of food and animal feeding stuffs -- General requirements and guidance for microbiological examinations. Geneva, Switzerland: ISO; 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)