การวิเคราะห์สารเร่งเนื้อแดงเคลนบิวเตอรอลในเนื้อหมูโดยใช้เทคนิค Exact-matching double IDMS: ผลการเข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัด APMP.QM-S6 Clenbuterol in Porcine Meat

ผู้แต่ง

  • กิตติยา เชียร์แมน ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
  • พรหทัย กันแก้ว ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
  • ปรียาภรณ์ พุกรอด ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
  • ศรกฤษณ์ มาบำรุง ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
  • ปนัดดา ซิลวา ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

คำสำคัญ:

Clenbuterol, exact-matching double IDMS, interlaboratory comparison

บทคัดย่อ

       สารเคลนบิวเตอรอล (clenbuterol) เป็นสารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-agonists) มีการแอบใช้เป็นตัวเร่งเนื้อแดงและเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร มีการออกกฎหมายห้ามใช้สารเคลนบิวเตอรอลในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) จึงได้เข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัดระดับนานาชาติ APMP.QM-S6: Clenbuterol in porcine meat ซึ่งเป็นการวัดสารเคลนบิวเตอรอลในเนื้อหมูบดแห้ง เทคนิคการวัดที่ใช้ คือ เทคนิค exact-matching double IDMS โดยมีขั้นตอนดังนี้ คือ การทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสในสภาวะด่าง (alkaline hydrolysis) การตกตะกอนโปรตีนด้วยกรด (acid precipitation) การกำจัดไขมัน (defattening) การสกัดตัวอย่างแบบของเหลว-ของเหลว (liquid-liquid extraction) การสกัดตัวอย่างแบบของแข็ง (solid phase extraction, SPE) แล้วทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ high performance liquid chromatography tandem mass spectrometer (HPLC-MS/MS) ผลการวัดมีสมบัติการสอบกลับได้ (metrological traceability) เนื่องจากมีการประเมินความบริสุทธิ์ของสารมาตรฐานที่ใช้ ผลการวัดในตัวอย่าง APMP.QM-S6 พบที่ระดับความเข้มข้น 5.0 μg/kg มีค่าความไม่แน่นอนของการวัดที่ 5.0% และผลการเข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัด APMP.QM-S6 ของประเทศไทย สอดคล้องกับสถาบันมาตรวิทยาประเทศอื่นๆ เป็นอย่างดี โดยค่าอ้างอิงของการเปรียบเทียบผลการวัด (Supplementary Comparison Reference Value, SCRV) มีค่าเท่ากับ 5.216 μg/kg และค่าความไม่แน่นอน 0.131 μg/kg

References

Spiller HA, James KJ, Scholzen S, Borys DJ. A descriptive study of adverse events from clenbuterol misuse and abuse for weight loss and bodybuilding. Subst Abus 2013; 34(3): 306-12.

Kuiper HA, Noordam MY, van Dooren-Flipsen MM, Schilt R, Roos AH. Illegal use of beta-adrenergic agonists: European community. J Anim Sci 1998; 76(1): 195-207.

Elliott CT, McEvoy JD, McCaughey WJ, Shortt DH, Crooks SR. Effective laboratory monitoring for the abuse of the beta-agonist clenbuterol in cattle. Analyst 1993; 118(4): 447-8.

Codex Alimentarius Commission. Maximum residue limits for clenbuterol. [online]. 2012; [cited 2014 Apr 17]; [1 screen]. Available from: URL: http://www.codexalimentarius.net/vetdrugs/data/vetdrugs/details.html;jsessionid=0DB0C8B130F8E59454A24F70BD22F850?id=13

Sin DWM, Ho C, Yip YC. APMP supplementary comparison and pilot study clenbuterol in porcine meat (APMP.QM-S6 and APMP.QM-P22). Hong Kong, China: Government Laboratory (GLHK); 2013.

Richter W. Primary methods of measurement in chemical analysis. Accredit Qual Assur 1997; 2(8): 354-9.

De Bièvre P, Peiser HS. Basic equations and uncertainties in isotope-dilution mass spectrometry for traceability to SI of values obtained by this primary method. Fresenius J Anal Chem 1997; 359(7-8): 523-5.

Mackay LG, Taylor CP, Myors RB, Hearn R, King B. High accuracy analysis by isotope dilution mass spectrometry using an iterative exact matching technique. Accred Qual Assur 2003; 8(5): 191-4.

Ellison SLR, Williams A, editors. EURACHEM/CITAC Guide: quantifying uncertainty in analytical measurement. 3nd ed. United Kingdom: EURACHEM; 2012.

JCGM 100:2008 Evaluation of measurement data -- guide to the expression of uncertainty in measurement. JCGM; 2008.

Sin DWM, Ho C, Yip YC. Draft a report of APMP.QM-S6 APMP supplementary comparison clenbuterol in porcine meat. Hong Kong, China: Government Laboratory, (GLHK); 2014.

Shao B, Jia X, Zhang J, Meng J, Wu Y, Duan H, et al. Multi-residual analysis of 16 β-agonists in pig liver, kidney and muscle by ultra performance liquid chromatography tandem mass spectrometry. Food Chemistry 2009; 114: 1115-21.

สุจิตตรา พงศ์วิวัฒน์. เอกสารการประชุม ASEAN Food Reference Laboratory for Veterinary Drug Residues (AFRL for VDR) เรื่อง Analytical method for beta-agonists.วันที่ 13-16 สิงหาคม 2556. ปทุมธานี: สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์; 2556.

Muaksang K. Development of reference methods and reference materials for trace level antibiotic residues in food using IDMS [dissertation]. Sydney, Australia: The University of New South Wales; 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)