การประเมินความเสี่ยงของน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญในเขตภาคกลางและการสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานควบคุมคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • ลดาพรรณ แสงคล้าย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กัญญา พุกสุ่น สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ปิยมาศ แจ่มศรี สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กรุณา ตีรสมิทธ์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กรรณิกา จิตติยศรา สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

water vending machine, risk assessment, quality standard

บทคัดย่อ

       ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากในแหล่งชุมชนเขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2554 มีจำนวนมากกว่า 20,000 ตู้ มีข้อมูลของหลายหน่วยงานระหว่าง พ.ศ. 2550-2555 รายงานว่าน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน โดยอ้างอิงตามเกณฑ์ของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท ผู้บริโภคจึงอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการดื่มน้ำตู้หยอดเหรียญได้ และในปี พ.ศ. 2555 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความประสงค์ที่จะกำหนดมาตรฐานเฉพาะเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินโครงการประเมินความเสี่ยงของน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญในเขตจังหวัดภาคกลางรวม 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี ระหว่างมกราคมถึงตุลาคม 2555 เพื่อให้ได้ข้อมูลผลวิเคราะห์น้ำดื่มตู้หยอดเหรียญสำหรับประเมินความเสี่ยงของผู้บริโภคต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ และเพื่อสนับสนุนการกำหนดมาตรฐาน ผลสำรวจข้อมูลของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พบตั้งอยู่บริเวณหน้าอาคารร้อยละ 76.9 ตั้งอยู่ในที่แสงแดดส่องถึงร้อยละ 69.3 สภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะเพราะพบถังขยะ/เศษขยะร้อยละ 10.9 และมีน้ำขังแฉะรอบตู้ร้อยละ 9.3 ตู้น้ำฯ ร้อยละ 60.0 มีอายุการใช้งานไม่เกิน 2 ปี และพบเพียง 3 ตู้ มีฉลากครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2553) จากจำนวนทั้งหมด 69 ตู้ ที่ต้องติดฉลากให้ถูกต้องตามประกาศฯ (คิดเป็น ร้อยละ 4.3) ระบบกรองน้ำภายในตู้ร้อยละ 94.6 เป็นระบบ Reverse osmosis (RO) ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญ จำนวนทั้งหมด 430 ตัวอย่าง พบไม่ผ่านมาตรฐาน 121 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 28.1 จำแนกเป็น ไม่ผ่านมาตรฐานด้านฟิสิกส์และเคมี 43 ตัวอย่างหรือร้อยละ 10.0 สาเหตุจากค่าความกระด้างทั้งหมด ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และปริมาณสารทั้งหมดร้อยละ 6.5, 3.5 และ 1.6 ตามลำดับ ผลวิเคราะห์ด้านจุลินทรีย์ไม่ผ่านมาตรฐาน 93 ตัวอย่างหรือร้อยละ 21.6 สาเหตุสูงสุดเนื่องจาก Coliforms เกินเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 20.5 รองลงมาพบ E. coli ร้อยละ 3.7 นอกจากนี้ ตรวจพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษรวม 8 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 1.9 และพบปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดมากกว่า 1,000 CFU ต่อมิลลิลิตรในตัวอย่างร้อยละ 71.8 ผลทดสอบด้วยสถิติ Chi square พบว่า ตู้น้ำฯ ที่ตั้งอยู่ในที่แสงแดดส่องถึง ไม่มีความสัมพันธ์กับการพบตะไคร่น้ำบริเวณช่องจ่ายน้ำและหัวจ่าย (P > 0.05, P = 0.4673) ค่าความกระด้างทั้งหมด ปริมาณสารทั้งหมดในน้ำ และผลวิเคราะห์ด้านจุลินทรีย์ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุการใช้งานของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ (P > 0.05, P = 0.6799, 0.5829 และ 0.7753) ขณะที่ผลวิเคราะห์ด้านจุลินทรีย์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานมีความสัมพันธ์กับตู้น้ำฯ ที่มีและไม่มีประตูปิดช่องจ่ายน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05, P = 0.0281) ค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษคำนวณโดยใช้โปรแกรม “Risk Ranger” พบความน่าจะเป็นของการเกิดโรคต่อวันต่อคนในกลุ่มผู้บริโภค 5 จังหวัด เนื่องจากดื่มน้ำตู้หยอดเหรียญที่ปนเปื้อนเชื้อ S. aureus, C. perfringens และ Salmonella spp. เท่ากับ 7.50 × 10-9, 1.50 × 10-8 และ 7.50 × 10-8 ตามลำดับ และคาดว่าจะเกิดการเจ็บป่วยเนื่องจากเชื้อทั้งสามชนิดในกลุ่มผู้บริโภค 1,690,000 คน ในเขตภาคกลาง 5 จังหวัด เท่ากับ 14, 27 และ 133 ครั้งต่อปี โดยมีค่าลำดับความเสี่ยง (Risk ranking) ของ S. aureus, C. perfringens และ Salmonella spp. อยู่ที่ 28, 29 และ 39 ตามลำดับ หลังการตรวจวิเคราะห์คุณภาพเสร็จสิ้น ได้สนับสนุนผลวิเคราะห์และข้อมูลสำรวจตู้น้ำฯ ให้กับ อย. และในปี 2556 ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2556 เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

References

กองบรรณาธิการ น้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญกับเรื่องที่ต้องระวัง. ฉลาดซื้อ [ออนไลน์]. 2554; [สืบค้น 7 ก.ย. 2557]; 117 : [3 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://chaladsue.com/index.php/เรื่องเด่นในเล่ม/743-117-drink-water.html

อรสา จงวรกุล. การวิจัยสถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำที่ผลิตจากเครื่องผลิตน้ำดื่มหยอดเหรียญ. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

ตู้น้ำหยอดเหรียญปนเปื้อนแบคทีเรีย กทม. สุ่มตรวจด้อยคุณภาพ 7%. ไทยโพสต์ [ออนไลน์]. มกราคม 2554; [สืบค้น 7 ก.ย. 2557; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.thaipost.net/Node/32675

พิชญากร มาพะเนาว์. การประเมินคุณภาพและสภาพแวดล้อมของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 136 ง (วันที่ 16 ตุลาคม 2556)

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2553) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 140 ง (วันที่ 8 ธันวาคม 2553)

Rice EW, Baird RB, Clesceri LS, Eaton AD. Standard methods for the examination of water and wastewater. 22nd ed. Washington, DC: American Public Health Association (APHA); 2012.

ISO 19250, Water quality -- detection of Salmonella spp. Geneva: International Organization Standard; 2010.

Environment Agency (EA). The microbiology of drinking water (2010) - Part 6 - methods for the isolation and enumeration of sulphite-reducing clostridia and Clostridium perfringens by membrane filtration. Bristol: Environmental Agency; 2010.

สรชัย พิศาลบุตร. หลักสถิติ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2554. หน้า 298-311.

Food Safety Centre (FSC). Risk Ranger [ออนไลน์]. [สืบค้น 11 ส.ค. 2556]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.foodsafetycentre.com.au/riskranger.php

Ross T, Sumner, J. A simple, spreadsheet-based, food safety risk assessment tool. Int J Food Microbiol 2002; 77(1-2): 39-53.

การประปานครหลวง. ตะไคร่น้ำ. [ออนไลน์]. 2551; [สืบค้น 11 ส.ค. 2556]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.mwa.co.th/ewtadmin/ewt/mwa_internet/ewt_w3c/index_answer.php?wcad=4&wtid=1608&t=&filename=eigzpnyij

ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย. คำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่องแนวทางการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2553. [ออนไลน์]. 2553; [สืบค้น 11 ส.ค. 2556]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้จาก URL: http://laws.anamai.moph.go.th/download/laws/suggest-2-53.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พร้อมกฎกระทรวง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงปี 2556). นนทบุรี : สำนักอาหาร กระทรวงสาธารณสุข; 2556. หน้า 12-13.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. ทำไมน้ำที่ผ่านการกรองด้วยระบบ RO จึงมีความเป็นกรดมากขึ้น. [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 7 ก.ย. 2557]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.tistr.or.th/ed/?p=486

วุฒิพล เล้าอรุณ. ความกระด้างของน้ำ (Water hardness) [ออนไลน์]. [สืบค้น 7 ก.ย. 2557]; [15 หน้า]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.mwa.co.th/ewt_dl_link.php?nid=506

Barrell RA, Hunter PR, Nichols G. Microbiological standards for water and their relationship to health risk. Commun Dis Public Health 2000; 3: 8-13.

World Health Organization. Heterotrophic plate count measurement in drinking water safety management: report of an expert meeting. 2002 Apr. 24-25; Geneva: WHO; 2002.

Sumner J, Ross T, Ababouch L. Application of risk assessment in the fish industry (FAO fisheries technical paper 442). Rome: Food and Agriculture Organization; 2004.

Sumner J, Ross T. A semi-quantitative seafood safety risk assessment. Int J Food Microbiol 2002; 77(1-2): 55-9.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 362 (พ.ศ. 2556) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 136 ง (วันที่ 16 ตุลาคม 2556)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจสอบและบำรุงรักษาตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ. นนทบุรี : สำนักอาหาร กระทรวงสาธารณสุข; 2556. หน้า 26-28.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์คุณภาพน้ำบริโภคในประเทศไทย ปี 2551-2556 [ออนไลน์]. [สืบค้น 23 ส.ค. 2557]; [10 หน้า]. เข้าถึงได้จาก URL: http://foodsan.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=349&filename=index

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยผลสำรวจกรุงเทพฯ ศูนย์รวมด้านเศรษฐกิจของไทยและอาเซียน. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ [ออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 23 ส.ค. 2557]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20130226/492092

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)