การวิเคราะห์ตะกั่ว แคดเมียม และอะลูมิเนียม ที่ละลายออกมาจากภาชนะหุงต้ม

ผู้แต่ง

  • ศศิธร หอมดำรงค์วงศ์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จตุรงค์ สินแก้ว สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อุมา บริบูรณ์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

lead cadmium aluminium leaching, cooking utensils, Flame-AAS, GF-AAS

บทคัดย่อ

       การวิเคราะห์ปริมาณตะกั่ว แคดเมียมและอะลูมิเนียมที่ละลายออกมาจากภาชนะหุงต้ม ทดสอบโดยใช้สารละลายกรดอะซีติก ร้อยละ 4 โดยปริมาตร ต้มให้เดือด 2 ชั่วโมง วัดปริมาณตะกั่วและแคดเมียมโดยใช้เครื่อง Flame-AAS วัดปริมาณอะลูมิเนียมด้วย GF-AAS จากการทดสอบความถูกต้องของวิธีพบว่าความเป็นเส้นตรงของช่วงการวัดระหว่างค่าการดูดกลืน (absorbance) กับความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานตะกั่ว แคดเมียม และอะลูมิเนียม ในช่วงความเข้มข้น 0-3.00 0-0.8 และ 0-0.200 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ของตะกั่ว แคดเมียม และอะลูมิเนียม เท่ากับ 0.9999 0.9993 และ 0.9995 ตามลำดับ ผลการทดสอบขีดจำกัดของการตรวจพบ (LOD) ของตะกั่ว แคดเมียม และอะลูมิเนียมเท่ากับ 0.05, 0.001 และ 0.004 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณ (LOQ) ของตะกั่ว แคดเมียม และอะลูมิเนียม เท่ากับ 0.1, 0.01 และ 0.010 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ทดสอบความแม่นและความเที่ยงของวิธีวิเคราะห์โดยการเติมสารละลายมาตรฐานตะกั่ว แคดเมียมและอะลูมิเนียมลงในสารละลายตัวอย่างให้มีความเข้มข้น 3 ระดับ พบว่า %recovery ของตะกั่ว แคดเมียมและอะลูมิเนียมอยู่ในช่วง 92-99, 101-103 และ 98-108 ตามลำดับ และค่า %RSD ของตะกั่ว แคดเมียม และอะลูมิเนียม อยู่ในช่วง 5.5-7.5, 2.3-3.3 และ 2.8-5.9 ตามลำดับ จากการสำรวจปริมาณตะกั่ว แคดเมียม อะลูมิเนียมในภาชนะหุงต้มราคาถูก ที่วางขายในตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 32 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีวิเคราะห์นี้ตรวจพบตะกั่ว ร้อยละ 56 ปริมาณที่พบน้อยกว่า 0.1-3.35 มิลลิกรัมต่อลิตร และแคดเมียมพบร้อยละ 16 ปริมาณที่พบน้อยกว่า 0.01-0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ามาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (2528) พบว่าภาชนะที่ทำด้วยอะลูมิเนียม มีตะกั่วละลายออกมามากกว่าวัสดุอื่นทั้งปริมาณและจำนวนตัวอย่าง และตรวจพบว่าภาชนะหุงต้มทุกตัวอย่างมีอะลูมิเนียมละลายออกมาโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 232 มิลลิกรัมต่อลิตร ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดของอะลูมิเนียมในภาชนะหุงต้ม แต่อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่อันตรายเพราะอาจก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้ เนื่องจากอะลูมิเนียมสามารถสะสมที่สมองกระดูกและตับ JECFA (1989) ได้กำหนดค่าสูงสุดที่สามารถรับได้ต่อสัปดาห์ (PTWI) ไว้ไม่เกิน 7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดค่ามาตรฐานของอะลูมิเนียมที่ละลายออกมาจากภาชนะหุงต้มด้วย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัย และผู้บริโภคควรดูแลตนเองให้ปลอดภัยโดยไม่เก็บอาหารที่มีสภาพเป็นกรดในภาชนะหุงต้มที่เป็นโลหะ

References

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2528) ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 102 ตอนที่ 117 (ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2528)

กรมควบคุมโรค. อึ้งพบสารตะกั่วในแนวตะเข็บชายแดนสูงวอนเปลี่ยนภาชนะประกอบอาหาร ลดความเสี่ยง. [ออนไลน์]. 2555; [สืบค้น 2 มี.ค. 2557]; [1หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/news/2555/0317Lead.html.

Mohammad FS, Al Zubaidy EAH, Bassioni G. Effect of aluminium leaching process of cooking wares on Food. Int. J. Electrochem. Sci. 2011; (6): 222-230.

Al Zubaidy EAH, Mohammad FS, Bassioni G. Effect of pH, salinity and temperature on aluminum cookware leaching during food preparation. Int. J. Electrochem. Sci. 2011; (6): 6424-6441.

Al Jahaiman LA. Estimating Aluminium leching from Aluminum cook wares in different meat extracts and milk. Journal of Saudi Chemical Society 2010; (14): 131-137.

วิภา คงดี. ระดับสารตะกั่วในเลือดกลุ่มผู้ประกอบอาชีพสัมผัสสารตะกั่วใน 3 จังหวัดภาคใต้. ว กรมวิทย พ 2541; 40 (2) : 223-8.

Agency for Toxic Substances and Disease Registry. Public health statement: Cadmium. Atlanta: Department of Health and Human Services; 2012.

Gould JH, Butler SW, Boyer KW, Steele EA. Hot leaching of ceramic and enameled cookware: Collaborative study. J Assoc Off Anal Chem. 1983; 66(3): 610-619.

Boyer KW, editor. Cadmium and Lead in Cookware Hot Leach Atomic Absorption Method. In: Williams S. editor. Official Method of Analysis of AOAC International 14 th ed. Virginia: The William Byrd Press, Inc.; 1984: 447-448.

Analytical methods. Flame atomic absorption spectrometry. Australia: Varian Australia Pty Ltd.; 1989. (Publication No 85-100009-00)

Rothery E. editor. Analytical methods for graphite tube atomizers. Australia: Varian Australia Pty Ltd.; 1988. (Publication No 85-100848-00)

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

EURACHEM/CITAC Guide CG 4. Quantifying Uncertainty in Analytical Measurement. 2nd ed; 2000.

AOAC Guidelines for single-laboratory validation of chemical methods, 2002.

Cunat PJ. Alloying elements in stainless steel and other chromium-containing alloys. 2004; [สืบค้น 2 มี.ค. 2557]; [24 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.euro-inox.org/pdf/map/AlloyingElements_EN.pdf.

JECFA (1989). Evaluation certain food additives and contaminants. Thirty-third report of the joint FAO/ WHO Expert Committee on Food Additives. World Health Organization, Technical Report Series 776.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2015

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)