การประเมินการได้รับสัมผัสของซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการบริโภคผักและผลไม้แห้งนำเข้าจากต่างประเทศของคนไทย พ.ศ. 2548 - 2557
คำสำคัญ:
exposure assessment, sulfur dioxide, dried vegetable and fruitบทคัดย่อ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และกลุ่มสารประกอบซัลไฟต์ถูกนำมาใช้เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และป้องกันการเกิดสีน้ำตาลในกระบวนการผลิตผักและผลไม้แห้งทำให้เก็บรักษาได้นานและน่ารับประทาน ผักและผลไม้แห้งที่จำหน่ายในประเทศไทยส่วนใหญ่ผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ อาหารดังกล่าวอาจมีอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคจากการได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีอยู่ในปริมาณเกินค่าความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่แพ้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และกลุ่มสารประกอบซัลไฟต์ ผู้วิจัยและคณะได้ทำการศึกษาปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในผักและผลไม้แห้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ เห็ดหูหนูขาว ดอกไม้จีน เยื่อไผ่ พุทราจีน และสมุนไพร จำนวน 621 ตัวอย่าง ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2557 การตรวจวิเคราะห์ใช้ Modified Rankine’s method ผลตรวจพบปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในช่วง 10-26,590 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตัวอย่างมีปริมาณเกินข้อกำหนดถึงร้อยละ 34.0 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กำหนดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในพืชผักผลไม้ชนิดแห้งและแช่อิ่มไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผู้วิจัยและคณะได้ทำการศึกษาปริมาณการได้รับสัมผัสของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในผักและผลไม้แห้งที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยใช้ข้อมูลปริมาณการบริโภคเฉลี่ยของคนไทยในกลุ่มที่บริโภคอาหารกลุ่มนี้ (eater only) ร่วมกับข้อมูลปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ percentile ที่ 97.5 ในผักและผลไม้แห้งหลังลวกสุก ผลการศึกษาปริมาณการได้รับสัมผัสของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในผักและผลไม้แห้งแต่ละชนิด พบว่า ปริมาณ SO2 ที่คนไทยได้รับจากการบริโภค แต่ละชนิดไม่ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ผู้วิจัยและคณะเสนอวิธีการลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในผักและผลไม้แห้งระหว่างการปรุงอาหาร และดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภค
References
International Programme on Chemical Safety. Sulfur dioxide and sulfites. Seventeenth report of the joint FAO/WHO expert committee on food additives; 1973 Jun. 25 – Jul. 4; Geneva, Switzerland: World Health Organization Technology;
Luck E, Jager M. Antimicrobial food additives: characteristics, users, effects. 2nd ed. New York: Springer Verlag; 1997.
ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ. ความปลอดภัยของอาหาร Food safety. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
Lee CY, Whitaker JR. Enzymatic browning and its prevention (ACS symposium series 600). Washington, DC: American Chemical Society; 1995. p. 55-56, 315.
Chapter 1 – Food and drug administration, Department of Health and Human Services (continued). In: National Archives and Record & Adminstration. CFR - Code of federal regulations title 21: food and drugs. Washington, DC: US Government Printing Office; 2012. p. 333.
Lester MR. Sulfite sensitivity: significance in human health. J Am Coll Nutr 1995; 14(3): 229-32.
Kisker C. Sulfite oxidase. In: Messerschmidt A, Huber R, Poulos T, Wieghardt K, editors. Handbook of metalloproteins. New York: John Wiley & Sons; 2001. p.1121-35.
Grotheer P, Marshall M, Simonne A. Sulfites: separating fact from fiction. University of Florida IFAS Extension [online]. 2011 Mar [cited 2014 May 6]; [5 screens]. Available from: URL: http://edis.ifas.ufl.edu/fy731
Knodel LC. Current issues in drug toxicity: potential health hazards of sulfites. Toxic Subst Mech 1997; 16(3): 309-11.
Sulfites-USA. Food Allergy Research and Resource Program, University of Nebraska-Lincoln [online]. 2014 [cited 2014 May 21]; [4 screens]. Available from: URL: http://farrp.unl.edu/sulfites-usa
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2549) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอนพิเศษ 105 ง (วันที่ 6 ตุลาคม 2549).
Fujita K, et al. Establishment of a modified rankine method for the separate determination of free and combined sulphites in Foods. Z. Lebensm Unters Forsch 1979; 168: 206-11.
ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2549.
Yoshio I. Analytical methods of food additives from various food . In: Food sanitation in Japan. Tokyo, Japan: Japan International Cooperation Agency (JICA); 1981. p17-A-24.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.
International Council on Mining & Metals. HERAG 08, Health risk assessment guidance for metals [online]. 2007 [cited 2014 May 27]; [15 screens]. Available from: URL: http://www.icmm.com/document/268