คุณภาพและความปลอดภัยของน้ำแร่ธรรมชาติที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา จิตติยศรา สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กัญญา พุกสุ่น สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

บทคัดย่อ

       น้ำแร่ธรรมชาติคือ น้ำที่ได้จากแหล่งน้ำใต้ดินที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ อุดมด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมีปริมาณแร่ธาตุต่างๆ ขึ้นกับแหล่งน้ำนั้นๆ จัดเป็นอาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานโดยกระทรวงสาธารณสุข มีผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดมากขึ้นทั้งที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศแสดงว่ามีผู้นิยมดื่มกันมากขึ้นในประเทศไทย ปกติบรรจุที่แหล่งกำเนิดแต่อาจปนเปื้อนจากธรรมชาติหรือจากโรงงานอุตสาหกรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารได้ทำการศึกษาคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำแร่ที่จำหน่ายภายในประเทศไทย จำนวน 54 ตัวอย่าง เป็นน้ำแร่ที่ผลิตในประเทศ 21 ตัวอย่าง และที่นำเข้าจากต่างประเทศ 33 ตัวอย่าง ได้วิเคราะห์แร่ธาตุและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย 13 รายการ ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม ทองแดง แมงกานีส นิกเกิล สารหนู ไนเตรต และฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่กำหนดค่ามาตรฐานเพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและแร่ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม และโพแทสเซียม ซึ่งไม่กำหนดค่ามาตรฐานแต่จำเป็นสำหรับร่างกาย การตรวจวิเคราะห์ใช้เทคนิค atomic absorption spectrophotometry และ ion chromatography ผลการวิเคราะห์พบว่าร้อยละ 90.7 ของตัวอย่าง เป็นไปตามมาตรฐาน และร้อยละ 9.3 (5 ตัวอย่าง เป็นน้ำแร่ที่นำเข้า) ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากปริมาณแคดเมียมสูงเกินค่ามาตรฐาน 0.003 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อทดสอบด้วยสถิติ Pearson Chi-Square และ Fisher Exact Test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าจำนวนตัวอย่างที่พบตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง แมงกานีส นิกเกิล และสารหนู ในน้ำแร่ที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่แตกต่างกัน สำหรับโครเมียม และไนเตรต พบในตัวอย่างน้ำแร่ที่นำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าน้ำแร่ที่ผลิตในประเทศ เมื่อทดสอบด้วยสถิติ Mann-Whitney U ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าน้ำแร่ที่ผลิตในประเทศมีแคลเซียมและแมกนีเซียมต่ำกว่า แต่มีโซเดียมสูงกว่า สำหรับโพแทสเซียมไม่แตกต่างกัน สรุปว่าคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำแร่ธรรมชาติที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นไปตามมาตรฐาน สำหรับแคดเมียมยังคงต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะน้ำแร่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและสนับสนุนการบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมาย

References

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำแร่ธรรมชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 6 ง. (ลงวันที่ 24 มกราคม 2544).

Directive 2009/54/EC of the European Parliament and of the Council of 18 June 2009 on the exploitation and marketing of natural mineral waters. Official Journal of the European Union; p 46-47 [online]. 2009; [cited 2014 Jan 1]; [2 screens]. Available from: URL: http://ec.europa.eu/food/labellingnutri-tion/water/

WHO. Guidelines for drinking-water quality. 4th ed. Geneva: World Health Organization; 2011. p 393, 306-308, 318, 418

Agency for Toxic Substance & Disease Registry. Toxic substances portal - cadmium. [online]. Sep 2012; [cited 2014 Jan 18]; [7 screens]. Available from: URL: http://www.atsdr.cdc.gov/phs/phs.asp?id=46&tid=15

Agency for Toxic Substance & Disease Registry. Toxic substances portal – arsenic. [online]. Aug 2007; [cited 2014 Jan 18]; [9 screens]. Available from: URL: http://www.atsdr.cdc.gov/phs/phs.asp?id=18&tid=3

Massachusetts Institute of Technology. Optimizing your diet best foods for specific minerals. [online]. 2005; [cited 2014 Jan 20]; [8 screens]. Available from: URL: http://web.mit.edu/athletics/sportsmedicine/wcrminerals.html

Agency for Toxic Substance & Disease Registry. Toxic substances portal - chromium. [online]. Sep 2012; [cited 2014 Jan 18]; [7 screens]. Available from: URL: http://www.atsdr.cdc.gov/phs/phs.asp?id=60&tid=17

Agency for Toxic Substance & Disease Registry. Toxic substances portal - nickel. [online]. Aug 2005; [cited 2014 Jan 18]; [2 screens]. Available from: URL: http://www.atsdr.cdc.gov/substances/toxsubstance.asp?toxid=44

Agency for Toxic Substance & Disease Registry. Toxic substances portal - copper. [online]. Sep 2004; [cited 2014 Jan 18]; [6 screens]. Available from: URL: http://www.atsdr.cdc.gov/phs/phs.asp?id=204&tid=37

สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. โภชนศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550. หน้า 217.

กรรณิกา จิตติยศรา, ทิพวรรณ นิ่งน้อย. การศึกษาปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำแร่ธรรมชาติ. ว กรมวิทย พ 2549; 48(3): 177-85.

Rice EW, Baird RB, Eaton AD, Clesceri LS, editors. Standard methods for the examination of water and wastewater. 22nd ed. Washington DC: American Public Health Association; 2012.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ: สำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

วัฒนา สุนทรชัย. เรียนสถิติด้วย SPSS ภาคสถิติไม่อิงพารามิเตอร์. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2542.

Neuman W. McDonald’s to recall glasses, citing cadmium. [online]. Jun 2010; [cited 2013 Dec 18]; [2 screens]. Available from: URL: http://www.nytimes.com/2010/06/05/business/05recall.html

Directive 2009/54/EC of the European Parliament and of the Council of 18 June 2009 on the exploitation and marketing of natural mineral waters. Official Journal of the European Union. L164/55. [online]. 2009; [cited 2014 Jan 6]; [2 screens]. Available from: URL: http://ec.europa.eu/food/labellingnutri-tion/water/

Codex Standard for natural mineral waters, Codex Stan 108-1981. Revision 2008.

The Natural mineral water, spring water and bottled drinking water (WALES) regulations 2007 (as Amened): Guidance to the Legislation, Revision 2010.

ทิพวรรณ นิ่งน้อย, กัญญา พุกสุ่น, กรรณิกา จิตติยศรา. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากโบรเมตในน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแร่ธรรมชาติ. ว กรมวิทย พ 2556; 55(3): 161-75.

ศริศักดิ์ สุนทรไชย, กาญจนา ว่องชวณิชย์, ประกาย บริบูรณ์, นฤมล ประภาสุวรรณกุล. คุณภาพน้ำแร่. สารคณะเทคนิคการแพทย์. 2535; 16(2): 70-91.

Mineral Water of the World [online]. 2556 [สืบค้น 19 ธ.ค. 2556] [p1]

Centers for Disease Control and Prevention [online]. 2014 [สืบค้น 8 ม.ค. 2557] [p1-8] เข้าถึงได้จาก : URl: http://www.cdc.gov

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2014

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)