การตรวจเอกลักษณ์ทางเคมี-ฟิสิกส์ของเทียนแดง

ผู้แต่ง

  • จิตรา ชัยวัฒน์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

THIAN DAENG, Lepidine, Physico-chemical Identification

บทคัดย่อ

       เทียนแดง คือเมล็ดแก่แห้งของ Lepidium sativum L. (Garden Cress) ใช้ผสมในยาแผนโบราณที่ขึ้นทะเบียนในประเทศมากกว่า 80 ตำรับ ได้ศึกษาวิธีตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีและฟิสิกส์ของเทียนแดง พบว่าการทดสอบต่อไปนี้สามารถใช้ตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีและฟิสิกส์ของเทียนแดงได้ คือ การพองตัวของ Mucliage เมื่อถูกน้ำและเกิดสีกับ ruthenium red TS, การทำปฏิกิริยาเกิดสีกับ dilute nitric acid, sodium hydroxide TS และ ninhydrin TS, การทำปฏิกิริยาเกิดตะกอนกับ acetic potassium iodobismuthate TS, การทดสอบอนุมูล cyanide และ sulfide โดยวิธี paper strip และการเปรียบเทียบ Thin-layer Chromatogram ของสารสกัดกับสารมาตรฐาน sinapic acid นอกจากนี้ตามที่มีรายงานระบุว่าพบ lepidine ในเทียนแดง จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบ Thin-layer Chromatogram ของสารสกัดจากเมล็ดเทียนแดงกับ lepidine ปรากฏว่าไม่พบ lepidine ในตัวอย่างที่นำมาศึกษา และในรายงานที่พบสารชื่อ lepidine นั้น แสดงสูตรโครงสร้างของสารดังกล่าวเป็นกลุ่ม imidazole alkaloid ซึ่งมีสูตรโครงสร้างแตกต่างจาก lepidine ที่ปรากฏใน Merck index

References

ขุนโสภิตบรรณลักษณ์. คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 1. พระนคร : สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย วัดสามพระยา; 2505. หน้า 45.

ประนอม เดชวิศิษฎ์สกุล, ลัดดาวัลย์ บุญรัตนกรกิจ. การพิสูจน์เอกลักษณ์และจัดทำข้อมูลจำเพาะทางเภสัชเวทของเทียนทั้ง 9 [วิทยานิพนธ์ดีเด่น ปีการศึกษา 2537]. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2537. หน้า 211-29

Plants For A Future Database. Lepidium sativum. [online]. 2002; [cited 2002 May 2]; [4 screen]. Available from: URL: http://www.comp.leeds.ac.uk/cgi-bin/pfaf/arr_html?Lepidium+sativum&CAN=LATIND

Gil V, MacLeod AJ. Studies on glucosinolate degradation in Lepidium sativum seed extracts. Phytochemisty 1980; 19(7): 1369-74.

นันทวัน บุณยะประภัศร, บรรณาธิการ. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541: 403-6.

Maier UH, Gundlach H, Zenk MH. Seven imidazole alkaloids from Lepidium sativum. Phytochemistry 1998; 49(6): 1791-5.

Jewvachdamrongkul Y, Dechatiwongse T, Pecharaply D, Bansiddhi J, Kanchanapee P. Identification of SomeThai Medicinal Plants. Mahidol University J Pharm Sci 1982; 9(3): 65-73.

Department of Medical Sciences. Thai pharmacopoeia Vol. 1 Part 1. Nonthaburi: Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 1987.

Department of Medical Sciences. Thai pharmacopoeia Vol. 1 Part 2. Nonthaburi: Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 1997.

Curry A. Poison detection in human organs. 2nd ed. Springfield: Charles C. Thomas; 1969. p. 47-9.

เกริก รัตอาภา, กิจชัย ศิริวัฒน์, วิไลวรรณ ตันจ้อย. คู่มือการตรวจสารพิษอย่างง่าย. กองพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2531. หน้า 51.

The Merck Index. 7th ed. New Jersey: Merck & Co., Inc.; 1989. p. 321.

Farnsworth NR. Biological and phytochemical screening of plants. J Pharm Sci 1966; 55(3): 225-76.

Shukla A, Singh CS, Bigoniya P. Phytochemical and CNS activity of Lepidium sativum Linn. seeds total alkaloid. Scholars Research Library Der Pharmacia Lettre 2011; 3(2): 226-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2014

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)