การประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแปลกปลอมในเส้นก๋วยเตี๋ยว

ผู้แต่ง

  • ทนงพันธ์ สัจจปาละ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ขันทอง เพ็ชรนอก สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ก่อเกียรติ ศาสตรินทร์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กนกวรรณ ตุ้นสกุล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Risk assessment, light filth, Rice noodle

บทคัดย่อ

       ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่นิยมบริโภค มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน และเป็นผลิตภัณฑ์ มูลค่าเพิ่มที่ส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ที่มีการกักกันก๋วยเตี๋ยวนำเข้าจากไทย เนื่องจากพบสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (light filth) เช่น ขนหนู ขนแมว ขนสุนัข ชิ้นส่วนแมลง เป็นต้น ล้วนเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจของผู้บริโภค มากกว่าเกณฑ์ที่องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (U.S.FDA.) กำหนด ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล เรื่องสิ่งแปลกปลอมประเภท light filth ในเส้นก๋วยเตี๋ยว ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงทำการประเมินความเสี่ยงด้าน light filth ในก๋วยเตี๋ยวเส้นสดและเส้นแห้ง อย่างละ 50 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 6 sub-samples ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2554 โดยใช้เกณฑ์ของ U.S.FDA. พบว่าก๋วยเตี๋ยวทั้ง 100 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนของ light filth โดยก๋วยเตี๋ยวเส้นสด พบชิ้นส่วนแมลงไม่ผ่านเกณฑ์ (225 ชิ้น) 29 ตัวอย่าง (ร้อยละ 58) และเส้นแห้ง 11 ตัวอย่าง (ร้อยละ 22) แสดงว่าเส้นสดมีความเสี่ยงที่จะตกเกณฑ์มากกว่าเส้นแห้ง 2.63 เท่า ส่วนจำนวนขนหนูที่ตรวจพบเฉลี่ย 0.1-1.3 เส้น อยู่ในเกณฑ์กำหนด (2.5 เส้น) การป้องกันไม่ให้ light filth ปนเปื้อนลงไปในผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดโดยโรงงานต้องปรับปรุงสุขลักษณะการผลิต เริ่มจากการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบให้มีการปนเปื้อนน้อยที่สุด รักษาความสะอาดบริเวณผลิต และปิดช่องเปิดสู่ภายนอกที่นก หนู แมลงจะเข้ามาสู่โรงงาน รวมทั้งการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ทั้งหมดนี้ต้องทำอย่างเป็นองค์รวมจึงจะได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประทานก๋วยเตี๋ยวที่สะอาด และผลิตภัณฑ์ยังสามารถส่งออกไปยังตลาดสำคัญคือสหรัฐอเมริกาโดยไม่ถูกกักกัน

References

ก๋วยเตี๋ยว. [ออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 9 กันยายน 2556]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก URL: http://th.wikipedia.org/wiki/ก๋วยเตี๋ยว

Gorham JR, Editor. Ecology and management of f ood-industry pests. Virginia: Association of Official Analytical Chemists; 1991. p.288, 331-3, 491-4.

Import alert 02-02. [online] 2013; [cited 2013 Sep 9]; [2 screens]. Available from: URL: http://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_2.html

Chapter 16: Extraneous materials: isolation. In: Latimer GW, Editor. Official method of analysis of AOAC International. 19th ed. Gaithersburg, MD.: AOAC International; 2012. p.1-5, 27.

Chapter V-2: Bakery products, cereals, and alimentary pastes. In: FDA technical bulletin number 5, Macroanalytical Procedures Manual. Alameda, CA.: U.S. Food and Drug Administration; 1984. p.V-12.

U.S. Department of Health and Human Services. The Food defect action levels. [online]. 2005; [cited 2013 Sep 9]; [1 screen]. Available from: URL: http://www.fda.gov/food/guidanceregulation/guidancedocumentsregulatoryinformation/ucm056174.htm

ศรีอนันต์ วรรณเสน. เอกสารการสัมมนาเรื่องการประเมินความเสี่ยงต่อเชื้อก่อโรคในอาหารเบื้องต้น (Microbial risk assessment of pathogens in food); วันที่ 14-15 พฤษภาคม 2556. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2014

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)