ค่าร้อยละสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงในการประเมินคุณภาพภายนอกระดับชาติของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกประเทศไทย พ.ศ. 2551-2556
คำสำคัญ:
NEQAS, National External Quality Assessment scheme, laboratory, percent chosen coefficient of variation, clinical chemistryบทคัดย่อ
โครงการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์แห่งชาติโดยองค์กรภายนอกด้านเคมีคลินิก จัดโดยสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพัฒนาและดำรงไว้ซึ่งการวิเคราะห์มีคุณสมบัติตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง โครงการฯ ส่งน้ำเหลืองแห้งให้กับสมาชิกทั่วประเทศเพื่อวิเคราะห์ผล 15 รายการ จำนวน 3 รอบต่อปี รอบละ 2 ระดับ ประเมินผลการวิเคราะห์ที่รายงานผลกลับตามหลัการที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลกสมาชิกโครงการฯ จากปี 2551 ถึง 2556 เพิ่มจาก 841 ราย เป็น 960 ราย ผลการตรวจวิเคราะห์ของสมาชิกที่ผิดปกติอย่างชัดเจนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3.9 ค่าคะแนนดัชนีชี้วัตถุคุณภาพเฉลี่ยลดลงจาก 105 เป็น 80 ค่าร้อยละสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงที่ได้จากโครงการฯ แตกต่างจากค่าที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก ระหว่าง -4.0 ถึง 2.3 และร้อยละสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงมีค่าลดลงและคงที่ ดังนี้ sodium = 2.4, potassium = 3.5, chloride = 3.6, glucose = 5.6, cholesterol = 5.7, total protein = 6.2, albumin = 6.5, uric acid = 6.7, blood urea nitrogen = 6.9, triglyceride = 9.0, creatinine = 9.6, alanine transminase = 10.8, aspatate transminase = 11.6, total bilirubin = 15.2 และ alkaline phosphatase = 19.8 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ
References
International Organization for Standardization. ISO 13528:2005 (E), Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparisons. Geneva: ISO; 2005.
International Organization for Standardization. ISO/IEC 17043:2010 (E). Conformity assessment--General requirements for proficiency testing. Geneva: ISO; 2010.
World Health Organization. Health laboratory services in support of primary health care in developing countries. New Delhi: WHO; 1994.
International Federation of Clinical Chemistry (IFCC). Fundamentals for External Quality Assessment (EQA). Guidelines for improving analytical quality by establishing and managing EQA schemes. Examples from basic chemistry using limited resources [online].1996. [45 screens]. Available from: URL: http://www.ifcc.org/ifccfiles/docs/Fundamentals-for-EQA.pdf.
Whitehead TP. Assessing the analytical quality of the clinical laboratory. Pure & Apply Chem 1980; 52: 2485-94.
Healy MJR. Outliers in clinical chemistry quality-control schemes. Clin Chem 1979; 25(5): 675-7.