การจัดทำสนามรังสีสำหรับการสอบเทียบค่ามาตรฐานเครื่องสำรวจรังสี

ผู้แต่ง

  • ประเชิญ เชษฐสิงห์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • รณยุทธ ไพศาล สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Survey meter, gamma, Cesium, H*(10)

บทคัดย่อ

       การสอบเทียบเครื่องสำรวจรังสีของห้องปฏิบัติการรังสีมาตรฐานทุติยภูมิใช้รังสีแกมมาจากสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เป็นสนามรังสีอ้างอิง มีค่าอัตราปริมาณรังสียังผล Ambient dose equivalent (H*(10)) เพียงค่าเดียวเท่ากับ 1849.82 μSv/h ซึ่งไม่เพียงพอ จำเป็นต้องจัดทำสนามรังสีเพิ่มเติมให้เพียงพอแก่ความต้องการ สำหรับใช้สอบเทียบในย่านการวัด ดังนี้ 3000, 2000, 1000, 500, 300, 200, 100, 50, 30, 20, 10 และ 5 μSv/h การจัดทำสนามรังสีต้องสร้างถ้ำตะกั่วขึ้นใหม่ ให้มีช่องเปิดที่สามารถปรับเปลี่ยนความหนาแผ่นตะกั่วที่ช่องเปิดนี้ได้ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมปริมาณรังสีที่ผ่านออกมาได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ เป็นปริมาณรังสีที่ให้ค่าวัดรังสีอยู่ระหว่าง 30% ถึง 70% ของสเกลเต็มแผ่นตะกั่วที่ใช้มี 12 ความหนา คือ 2, 6, 12, 18, 22, 26, 32, 40, 44, 48, 54 และ 64 มิลลิเมตร ผลการวัดปริมาณรังสีด้วยหัววัดรังสีมาตรฐานปฏิบัติการได้ค่าปริมาณรังสี H*(10) มีค่า 1435.89, 947.21, 496.96, 239.11, 166.71, 99.93, 53.32, 22.99, 14.40, 10.64, 5.43 และ 3.44 μSv/h ตามลำดับ มีค่าความไม่แน่นอน 2.0% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยส่วนใหญ่แล้วสนามรังสีที่จัดทำขึ้นมีความเหมาะสมสำหรับใช้สอบเทียบเครื่องสำรวจรังสี ยกเว้นย่านการวัด 5 μSv/h

References

International Atomic Energy Agency. Calibration of radiation protection monitoring instruments, Safety reports series no. 16. Vienna: IAEA; 2000.

International Atomic Energy Agency. Handbook on calibration of radiation protection monitoring instruments, Technical reports series no. 133. Vienna: IAEA; 1971.

IAEA-TECDOC-1585. Measurement uncertainty: a practical guide for secondary standards dosimetry laboratories. Vienna: IAEA; May 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2014

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)