การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อการประเมินความเสี่ยงด้านจุลชีววิทยา

ผู้แต่ง

  • ปราณี นาคประสิทธิ์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สันตกิจ นิลอุดมศักดิ์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อุบลวรรณ รอดประดิษฐ์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Food consumption behavior, Microbiological risk assessment, infant formula milk powder, Bacillus cereus

บทคัดย่อ

       พฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการประเมินความเสี่ยงด้านจุลชีววิทยา ในปี พ.ศ. 2551 สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือศึกษาพฤติกรรมการบริโภค นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ทำให้ได้ข้อมูลมาใช้คำนวณการได้รับสัมผัสเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และสามารถอธิบายอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งแบบสอบถามที่ได้รับตอบกลับจากผู้เลี้ยงดูทารกจำนวน 1,000 ราย พบว่าทารกมีความน่าจะเป็น (probability) ในการบริโภคนมผงอย่างเดียว และนมผงบวกนมแม่ เท่ากับ 0.4570 และ 0.2320 ตามลำดับ โดยมีความถี่ในการบริโภคมากที่สุดคือ 4 ครั้ง 5 ครั้ง และ 8 ครั้งต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 20.45, 17.49 และ 16.78 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับอัตราการเกิดของทารก ข้อมูลการปนเปื้อนของ Bacillus cereus ในนมผงดัดแปลงสำหรับทารกและการศึกษาอื่นๆ ของจุลินทรีย์ชนิดนี้ เช่น อัตราการเจริญและการอยู่รอดในสภาวะต่างๆ ปริมาณน้ำอิสระในอาหาร (Aw) ทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงหรือพยากรณ์การเจ็บป่วยของทารกในการบริโภคนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งเกิดจาก B. cereus ที่มีปริมาณมากกว่า 100 cfu ต่อกรัม เท่ากับ 427 ครั้ง ต่อประชากร 100,000 คน แสดงว่าแบบสอบถามที่สร้างขึ้นใช้ประเมินความเสี่ยงครั้งนี้ได้ และใช้เป็นแนวทางในการประเมินความเสี่ยงด้านจุลชีววิทยาในอาหารชนิดอื่นๆ ได้

References

Principles and guidelines for the conduct of microbiological risk assessment, CAC/GL-30 (1999). Geneva: FAO/WHO; 1999.

Hazard characterization for pathogens in food and water: guidelines, Microbiological risk assessment series 3. Geneva: FAO/WHO; 2003.

Exposure assessment of microbiological hazards in food: guidelines, Microbiological risk assessment series 7. Geneva: FAO/WHO; 2008.

Risk characterization of microbiological hazards in food: guidelines, Microbiological risk assessment series 17. Geneva: FAO/WHO; 2009.

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (พ.ศ. 2552) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนที่ 98 ก (วันที่ 28 ธันวาคม 2552)

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.

Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row; 1973.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 (พ.ศ. 2556) เรื่องมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 148 ง. (วันที่ 31 ตุลาคม 2556)

เพ็ญศรี รอดมา, อารุณี ศรพรหม, นิตยา สุนทรชื่น. การประเมินปริมาณการได้รับสัมผัสเชื้อ Bacillus cereus ในนมผงดัดแปลงสำหรับทารก. ว กรมวิทย พ 2552; 51(1): 64-75.

Jay MJ. Modern food microbiology. 6th ed. Maryland: Aspen Publishers; 2000. p. 477-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2014

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)