การสำรวจคุณภาพยาสมุนไพรในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5

ผู้แต่ง

  • นันทนา กลิ่นสุนทร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ชมพูนุท นุตสถาปนา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ปริชญา มาประดิษฐ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Herbal Medicines, Contamination

บทคัดย่อ

       ยาสมุนไพรมีบทบาทสำคัญในการรักษาโรค และมีแนวโน้มของการใช้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตยาสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะมีการกำกับและควบคุมการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐาน แต่ปัญหาที่พบ คือมีการนำยาแผนปัจจุบันปลอมปนในยาสมุนไพรเพื่อให้เกิดผลในการรักษาที่รวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือโลหะหนัก ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในพื้นที่เขต 4 และ 5 สำรวจคุณภาพยาจากสมุนไพรโดยเก็บตัวอย่างจากแหล่งผลิตและจำหน่าย ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2551 จำนวน 205 ตัวอย่าง ดำเนินการตรวจวิเคราะห์การปลอมปนยาแผนปัจจุบัน การปนเปื้อนโลหะหนัก และการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 37 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 18.05 โดยพบการปลอมปนยาแผนปัจจุบันจำนวน 27 ตัวอย่าง การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์เกินเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 8 ตัวอย่าง และโลหะหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 1 ตัวอย่าง และพบทั้งการปนเปื้อนโลหะหนักและเชื้อจุลินทรีย์เกินเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 1 ตัวอย่าง จากข้อมูลนี้บ่งชี้ว่าคุณภาพของยาสมุนไพรยังไม่ได้มาตรฐาน โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือการปลอมปนยาแผนปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่ยาดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่ไม่มีเลขทะเบียนยาและไม่ทราบแหล่งผลิตซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับปัญหานี้และดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

References

Putiyanan S, Winijkul D. Screening for undeclared synthetic drugs in traditional Thai medicine for healthy life style. Research book. Chiang Mai: Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University; 2003.

กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.

จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล. ยาแผนโบราณลักลอบนำเข้ามีสารสเตียรอยด์และปัจจุบันพบหลอกลวงเร่ขายถึงโรงเรียน. ว สรรพสาร วงการยา 2546; 55: 48-52.

Sweetman SC. Martindale: the complete drug reference. 35th ed. London: Pharmaceutical Press; 2007. p. 1342-4.

Moffat AC, Osselton MD, Widdop B. Clarke’s analysis of drugs and poisons. 3rd ed. London: Pharmaceutical Press; 2004. p. 392-424, 1472-3.

นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์, บรรณาธิการ. เภสัชวิทยา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2537.

รัชตะ รัชตะนาวิน และคณะ. การศึกษาความชุกของปัญหาทางคลินิกที่เกิดจากการใช้สารที่มีสเตียรอยด์ปะปนโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2550.

ศุภลักษณ์ พริ้งเพราะ, อมรพรรณ อุ่นชัย, กฤษฎา บูราณ, บันลือ สังข์ทอง. การปนปลอมยาแผนปัจจุบันในยาแผนโบราณ. ใน:การประชุมวิชาการร่วมระหว่างหน่วยงานภายใต้กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนสุขภาพ ครั้งที่ 1. วันที่ 1-2 พฤษภาคม 2546; ณ โรงแรม มิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2546.

แฉล้ม ชนะคช, วัชรีย์ ธนมิตรามณี, พงษ์ธร ทองบุญ. สารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณเขตพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนบน. ใน: เอกสารประชุมวิชาการพิษวิทยา “Food & Chemical Safety” และการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2548. วันที่ 17-18 พฤษภาคม 2548; ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อินน์. กรุงเทพฯ: สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย; 2548.

กันยารัตน์ ชลสิทธิ์, พิลาศลักษณ์ ศรีสวัสดิ์, พัชรินทร์ จันทรานิมิต, ประภัสรสร ทิพย์รัตน์, จารุบล ชัยชนะ, ปิยมาศ สุริยา. คุณภาพยาจากสมุนไพรในปี 2544-2546. ใน: การประชุมวิชาการร่วมระหว่างหน่วยงานภายใต้กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนสุขภาพ ครั้งที่ 2 เรื่องสาธารณสุขไทยในยุคเปิดเสรีทางการค้า. วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2547; ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

ลัดดา พูลสวัสดิ์, สันติพงศ์ วงศ์เพ็ญทักษ์, สมมาตร์ กลมกลิ้ง. การสำรวจปริมาณเชื้อ Clostridium perfringens ในยาแผนโบราณ. ใน: การประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 15 เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อความมั่นคงสุขภาพ. วันที่ 27-29 สิงหาคม 2550; ณ อาคารอิมแพค คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อิมแพคเมืองทองธานี. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

จีรเดช มโนสร้อย, อรัญญา มโนสร้อย. วิธีการพัฒนาสมุนไพรไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล. เชียงใหม่: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนายาไทยและยาสมุนไพร. ใน: คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท. แผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ. 2550-2554 กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

Thai Pharmacopoeia. Vol. I and II Supplement 2005. Appendix 10.2 Microbial Limit Tests. Nonthaburi: Department of Medical Sciences; 2005.

กันยารัตน์ ชลสิทธิ์, พิลาศลักษณ์ อดัม, ชัยพัฒน์ ธิตะจารี, ประภัสสร ทิพย์รัตน์, พัชรินทร์ จันทรานิมิต, จารุบล ชัยชนะ. การวิเคราะห์โลหะหนักในสมุนไพรไทย. ว กรมวิทย พ 2548; 48(1): 26-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2014

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)