ความปลอดภัยจากการใช้เครื่องเอกซเรย์ฟันในเขตสาธารณสุขที่ 7

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ จูเลียง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 ตรัง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สายัณห์ เมืองสว่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 ตรัง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Dental X-ray units, safety, radiation, radiation workers, third quartile

บทคัดย่อ

       การได้รับรังสีอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์และร่างกายมนุษย์ การใช้เครื่องเอกซเรย์ จึงต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปริมาณรังสิที่ไม่จำเป็นให้กับผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงานรังสี และ ประชาชนทั่วไป ช่วงเดือน มกราคม - พฤษภาคม 2555 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 ตรัง ได้ประเมินความปลอดภัยจากการใช้เครื่องเอกซเรย์ฟันชนิดถ่ายภาพรังสีในช่องปากในเขตสาธารณสุขที่ 7 จากโรงพยาบาลและคลินิกในจังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และ ภูเก็ต จำนวน 80 เครื่อง โดยการทดสอบค่าปริมาณรังสีที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีให้กับผู้ป่วย ตามวิธีใน European Guidelines และทดสอบปริมาณรังสีกระเจิงในพื้นที่ควบคุม และพื้นที่ไม่ควบคุม ตามวิธีใน NCRP ผลพบว่า ค่าปริมาณรังสีที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีฟันกรามบนของผู้ใหญ่ ค่าควอไทล์ที่ 3 ของกลุ่ม มีค่าเท่ากับ 3.7 มิลลิเกรย์ ซึ่งไม่เกินค่าอ้างอิงของ European Guidelines เมื่อพิจารณาแต่ละเครื่องพบว่า มีการใช้ปริมาณรังสีแตกต่างกันมาก โดยมีค่ามีค่าตั้งแต่ 0.3 - 6.8 มิลลิเกรย์ ค่า max/min ratio เท่ากับ 23.1 โดยพบเครื่องที่ใช้ปริมาณรังสีสูงเกินค่าควอไทล์ที่ 3 ของกลุ่มจำนวน 19 เครื่อง (ร้อยละ 23.8) และสูงเกินค่าอ้างอิงของยุโรป จำนวน 12 เครื่อง (ร้อยละ 15.0) ส่วนผลการศึกษาปริมาณรังสีกระเจิงสูงสุด ในพื้นที่ควบคุม พบมีค่าตั้งแต่ 0.2 - 32.1 ไมโครเกรย์ ใน 1 สัปดาห์ และปริมาณรังสีกระเจิงสูงสุด ในพื้นที่ไม่ควบคุม มีค่าตั้งแต่ 0.04 - 9.8 ไมโครเกรย์ ใน 1 สัปดาห์ ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด เมื่อตรวจสอบวิธีการปฏิบัติงานและตำแหน่งติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ พบผู้ปฏิบัติงานจับเครื่องเอกซเรย์ขณะถ่ายภาพรังสีโดยไม่มีวัสดุป้องกันรังสีเมื่อใช้เครื่องเอกซเรย์ฟันชนิดเคลื่อนที่ บางแห่งใช้เครื่องเอกซเรย์ในห้องทำฟันโดยไม่มีผนังกำบังรังสี ห้องเอกซเรย์บางห้องกั้นด้วยไม้ และ บางเครื่องติดตั้งบริเวณหน้าห้องน้ำ หรือหลังคลินิก ทำให้ผู้ปูฏิบัติงานรังสีและประชาชนทั่วไปได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น โดยพบมากในคลินิกฟัน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 (ตรัง) จึงได้แจ้งให้คลินิกต่างๆ ทราบและดำเนินการแก้ไข เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงานรังสี และประชาชนได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตามหลัก ALARA

References

European guidelines on radiation protection in dental radiology: The safe use of radiographs in dental practice. Issue N0 136. Belgium: European Commission; 2004. p. 41-49.

IAEA. International Basic Safety Standards for protection against ionizing radiation and the safety of radiation sources. IAEA safety series No.115. Vienna: International Atomic Energy Agency; 1996.

NCRP Report No. 145. Radiation protection in dentistry. Bethesda, MD: National Council on Radiation Protection and Measurements; 2003.

NCRP Report No.147. Structural shielding design for medical X-ray imaging facilities. Bethesda, MD: National Council on Radiation Protection and easurements;

CRCPD. QA Collectible: Hand-Held dental X-ray units. CRCPD’s Committee on Quality Assurance. In: Diagnostic X-Ray (H-7). 2010; [cited 2013 June 3]; [6 screens]. Available from: URL: http://www.crcpd.org/Pubs/QAC/Hand-held-DentalX-rayUnitsQAC-Aug2010.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2013

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)