ห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านเครื่องสำอาง : การสร้างศักยภาพสู่ความสำเร็จ

ผู้แต่ง

  • หรรษา ไชยวานิช สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นวพร อนันตสินกุล สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุดธิดา หมีทอง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุวรรณา จารุนุช สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ACRL, ACTLN, ACTLC

บทคัดย่อ

       สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านเครื่องสำอางของประเทศ ที่มีระบบบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวิเคราะห์เครื่องสำอางตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ซึ่งได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับรอง National Association of Testing Authorities (NATA) ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2538 และสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2549 มีการพัฒนางานด้านระบบบริหารคุณภาพด้านการให้บริการทดสอบความชำนาญตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 และได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับรอง NATA ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการแบ่งปันประสบการณ์ในการได้รับรองตามมาตรฐานทั้งสองให้แก่ห้องปฏิบัติการเครื่องสำอางของประเทศสมาชิกอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง 2555 โดยการฝึกอบรม สนับสนุนวัสดุอ้างอิง การตรวจวิเคราะห์เพื่อยืนยันผล และให้บริการทดสอบความชำนาญแก่ห้องปฏิบัติการของประเทศสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ. 2554 และ 2555 การพัฒนาดังกล่าวทำให้สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตรายมีศักยภาพในการเป็นผู้นำและได้รับการยอมรับในด้านห้องปฏิบัติการจากประเทศสมาชิกอาเซียน และได้รับการแต่งตั้งเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านเครื่องสำอาง (ASEAN Cosmetic Reference Laboratoyr-ACRL) ร่วมกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ จากการดำเนินงานคณะกรรมการเครื่องสำอางอาเซียนและผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน ได้ให้การยอมรับและเห็นความสำคัญของการมีเครือข่ายของห้องปฏิบัติการของอาเซียนด้านเครื่องสำอาง และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการห้องปฏิบัติการของอาเซียนด้านเครื่องสำอาง (ASEAN Cosmetic Testing Laboratory Committee-ACTLC) เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการกำกับและบังคับใช้ให้การปฏิบัติเป็นไปตามบทบัญญัติเครื่องสำอางแห่งอาเซียน และผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการห้องปฏิบัติการของอาเซียนด้านอาหาร (ASEAN Food Testing Laboratory Committee-AFTLC) ภายใต้แผนพิมพ์เขียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้มีความร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการของประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านผลิตภัณฑ์อาหารด้วย

References

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. ความเป็นมาของอาเซียน.[ออนไลน์]. 28 พ.ย. 2555; [สืบค้น 4 ก.พ. 2555]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ URL : http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other20121128-163749-350622.pdf

Association of Southeast Asian Nations: ASEAN. Sectoral bodies under the purview of AEM-Standards and conformance. [online]. 2012; [cited 2012 Feb 4]; [5 screens]. Available from: URL: http://www.asean.org/communities/asean-economic-community/category/standards-and-conformance

Agreement on the ASEAN Harmonized Cosmetic Regulatory Scheme (AHCRS). Schedule B-ASEAN cosmetic directive. Phnom Penh, Cambodia. 2 September 2003.

ISO/IEC 17025:2005. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. Geneva, Switzerland: ISO; 2005.

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 126 ตอนที่ 98 ก (ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2552).

ISO/IEC Guide 25:1990. General requirements for the competence of calibration and testing laboratories. Geneva, Switzerland: ISO; 1990.

ISO/IEC 17043:2010. Conformity assessment-General requirement for proficiency testing. Geneva, Switzerland: ISO; 2010.

ISO/IEC Guide 43-1:1997. Proficiency testing by interlaboratory comparisons Part 1: Development and operation of proficiency testing schemes. Geneva, Switzerland: ISO; 1997.

ILAC-G13:08/2007. Guidelines for the requirements for the competence of providers of proficiency testing schemes. NSW, Australia: ILAC; 2007.

ILAC-G25:01/2012. Accreditation of proficiency testing providers to ISO/IEC 17043:2010. NSW, Australia: ILAC; 2012.

Report on post marketing surveillance/product safety evaluation capacity building on laboratory expertise, Thailand assessment: Results. 16 July 2004.

Minute of the Regional Workshop on Identification of Cosmetics Containing Illegal and Adulterated Substances. 10-12 July 2006. Kuala-Lumpur, Malaysia.

Report of the 9th Meeting of the ASEAN Consultative Committee for Standards and Quality (ACCSQ) ASEAN COSMETIC COMMITTEE (ACC). 12-13 December 2007. Ho Chi Minh City, Viet Nam.

Report on the Regional Workshop for Establishing the ASEAN Cosmetic Testing Laboratory Network (ACTLN). 19-23 October 2009. Bangkok, Thailand.

EURACHEM. The Fitness for Purpose of Analytical Methods: A laboratory Guide to Method Validation and Related Topics. 1998.

Report of the 1st Special Experts' Meeting of the ASEAN Cosmetic Testing Laboratories Network (ACTLN). 31 March - 1 April 2011. Nonthaburi, Thailand.

Report of the 2nd Special Experts' Meeting of the ASEAN Cosmetic Testing Laboratories Network (ACTLN). 21 June 2011. Bandar Seri Begawan, Brunei Darussalum.

Report of the 3rd Special Experts' Meeting of the ASEAN Cosmetic Testing Laboratories Network (ACTLN). 10 July 2012. Siem Reap, Cambodia.

Report of the 1st ASEAN Cosmetic Testing Laboratories Committee (ACTLC). 20 November 2012. Solo, Indonesia.

Report of the 18th meeting of the ASEAN Consultative Committee for Standards and Quality (ACCSQ) ASEAN Cosmetic Committee (ACC). 21-22 November 2012. Solo, Indonesia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2013

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)