การพัฒนาและทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ปริมาณ 5,7-dimethoxyflavone ในสารสกัดน้ำจากเหง้ากระชายดำด้วยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง

การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ 5,7-dimethoxyflavone ในสารสกัดกระชายดำด้วยวิธี UHPLC

ผู้แต่ง

  • สุนันทา ศรีโสภณ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สมจิตร์ เนียมสกุล สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นวรัตน์ จัดเจน สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศักดิ์วิชัย อ่อนทอง สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ธิษณิน สุภาไชยกิจ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สมชาย แสนหลวงอินทร์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

การพัฒนาวิธีวิเคราะห์, การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์, 5,7-dimethoxyflavone, สารสกัดน้ำเหง้ากระชายดำ, UHPLC

บทคัดย่อ

    กระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall. ex Baker) มีสรรพคุณในทางการแพทย์แผนไทย โดยใช้บำรุงกำลังเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และแก้ปวดกระเพาะอาหาร ซึ่งมีสารสำคัญ คือ 5,7-dimethoxyflavone (5,7-DMF) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านอักเสบ และต้านมะเร็งในปัจจุบันยังไม่มีวิธ๊การควบคุมคุณภาพของปริมาณสารสำคัญในสารสกัดน้ำจากเหง้ากระชายดำ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบความใช้ได้ของวิธีเคราะห์ปริมาณ 5,7-DMF ในสารสกัดน้ำจากเหง้ากระชายดำด้วยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (UHPLC) ตรวจวัดด้วย photodiode array detector ที่ความยาวคลื่น 264 นาโนเมตร โดยใช้คอลัมน์ ZORBAX Extend-C18 Rapid Resolution HD (2.1×50 mm, 1.8 μm) และวัฏภาคเคลื่อนที่ของ (A) 0.2% glacial acetic acid ในน้ำ และ (B) methanol แบบ gradient การเตรียมสารละลายตัวอย่างโดยสกัดด้วยวิธี sonicate ใน methanol เป็นเวลา 30 นาที ผลการศึกษาพบว่าวิธีที่พัฒนาขึ้นมีความจำเพาะ มีช่วงความเป็นเส้นตรงที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.06–0.36 mg/ml โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มากกว่า 0.999 ร้อยละการคืนกลับ (%recovery) อยู่ในช่วง 98.31–105.12 ความเที่ยงจากการทำซ้ำในวันเดียวกันและระหว่างนักวิเคราะห์มีค่าที่ยอมรับได้ (%RSD < 2, %RSD < 4 และ HORRAT < 2 ตามลำดับ) ขีดจำกัดการวัดเชิงปริมาณ (LOQ) เท่ากับ 0.04 mg/ml วิธีการตรวจวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ประโยนช์ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณ 5,7-DMF เพื่อควบคุมคุณภาพของสารสกัดน้ำกระชายดำที่มีการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้

References

เต็ม สมิตินันทน์, ราชันย์ ภู่มา, สมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2557

สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สมุนไพรน่ารู้ (4) กระชายดำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2552

Muhamad N, Muhmed SA, Yusoff MM, Gimbun J. Influence of solvent polarity and conditions on extraction of antioxidant, flavonoids and phenolic content from Averrhoa bilimbi. J Food Sci Eng 2014; 4: 255-60

Pitakpawasutthi Y, Palanuvej C, Ruangrungsi N. Quality evaluation of Kaempferia parviflora rhizome with reference to 5,7-dimethoxyflavone. J Adv Pharm Technol Res 2018; 9(1): 26-31

Wongsrikaew N, Kim H, Vichitphan K, Cho SK, Han J. Antiproliferative activity and polymethoxyflavone composition analysis of Kaempferia parviflora extracts. J Korean Soc Appl Biol Chem 2012; 55(6): 813-7

Sae-wong C. Anti-inflammatory activity of Kaempferia parviflora Rhizomes [Thesis]. Doctoral dissertation, Philosophy in Parmaceutical Science. Songkla: Prince of Songkla University; 2011

Malakul W, Ingkaninan K, Sawasdee P, Woodman OL. The ethanolic extract of Kaempferia parviflora reduces ischaemic injury in rat isolated hearts. J Ethnopharmacol 2011; 137(1): 184-91

Nemidkanam V, Kato Y, Kubota T, Chaichanawongsaroj N. Ethyl acetate extract of Kaempferia parviflora inhibits Helicobacter pylori-associated mammalian cell inflammation by regulating proinflammatory cytokine expression and leukocyte chemotaxis. BMC Complement Med Ther 2020; 20: 124. (10 pages)

Sookkongwaree K, Geitmann M, Roengsumran S, Petsom A, Danielson UH. Inhibition of viral proteases by Zingiberaceae extracts and flavones isolated from Kaempferia parviflora. Pharmazie 2006; 61(8): 717-21

กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาครัฐ-เอกชน. แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2559

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, องค์กรภาครัฐ-เอกชน. การประชุมวิชาการสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พุ่มทอง; 2562

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประทศ. Factsheet สมุนไพรประจำเดือนพฤษภาคม 2564. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 8 มี.ค. 2565]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/739096/739096pdf&title=739096&cate=1143&d=0

งานแผนกลยุทธ์การตลาด ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ. โครงการศึกษาโอกาสทางการตลาดสมุนไพรไทยเป้าหมาย. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2561

Behnoush B, Sheikhazadi A, Bazmi E, Fattahi A, Sheikhazadi E, Saberi Anary SH. Comparison of UHPLC and HPLC in benzodiazepines analysis of postmortem samples: a case-control study. Medicine 2015; 94(14): 1-7

AOAC guidelines for single laboratory validation of chemical methods for dietary supplements and botanicals. [online]. 2002; [cited 2020 Nov 30]; [38 screens]. Available from: URL: https://www.farmacia.ufmg.br/wp-content/uploads/2015/06/AOAC-Guidelines-for-Single-Laboratory.pdf

ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549

Ninomiya K, Matsumoto T, Chaipech S, Miyake S, Katsuyama Y, Tsuboyama A, et al. Simultaneous quantitative analysis of 12 methoxyflavones with melanogenesis inhibitory activity from the rhizomes of Kaempferia parviflora. J Nat Med 2016; 70: 179-89

Burapan S, Kim M, Han J. PMFs analysis Krachaidum products by HPLC and GC. J Appl Biol Chem 2014; 57(3): 211-8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2022

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)