การตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมในสินค้าเกษตรที่ส่งออก ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2560

ผู้แต่ง

  • ขันทอง เพ็ชรนอก สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

สิ่งแปลกปลอม, สินค้าเกษตรที่ส่งออก, สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กน้ำหนักเบา

บทคัดย่อ

    สินค้าเกษตร มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะการส่งออกซึ่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปียังมีปัญหาพบสิ่งแปลกปลอม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินคุณภาพสินค้าเกษตรก่อนที่จะส่งออกจำหน่าย เพื่อยืนยันว่าสินค้าเกษตรมีคุณภาพตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า โดยตัวอย่างสินค้าเกษตรได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก ส่งตรวจในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 จำนวน 432 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทเส้น เมล็ดธัญพืช เครื่องเทศ และผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง จำนวน 179, 131, 62 และ 60 ตัวอย่าง ตามลำดับ ซึ่งตรวจสอบด้วยวิธีการตรวจสอบทางมหภาคและจุลภาค ผลการศึกษาพบแมลงมีชีวิตและไม่มีชีวิต ชิ้นส่วนแมลงและขนสัตว์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 149 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.49 แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเส้นไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 71 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 39.66 เมล็ดธัญพืชไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 41 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 31.30 เครื่องเทศไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 23 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37.10 และผลิตภัณฑ์ประเภทแป้งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 14 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.33 ดังนั้นผู้ประกอบการควรควบคุมกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practices; GMPs) มาใช้เพื่อประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้าต่อไป

References

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร. สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี 2535-2565 (มกราคม - กรกฎาคม). [ออนไลน์]. 2565; [สืบค้น 4 ก.พ. 2565]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeThBalanceYearly.

Gorham JR, editor. Ecology and management of food-industry pests. Virginia: Association of Official Analytical Chemists; 1991. p. 491-494.

Gorham JR, editor. Principle of food analysis for filth, decomposition and foreign matter, FDA Technical Bulletin No. 1. 3rd ed. Washington, DC: AOAC International; 1993. p. 83-94.

Whitlock LL, Chapter editor. Chapter 16, Extraneous materials: isolation. In: Official method of analysis of AOAC international. 21st ed. Maryland: AOAC International; 2019. p. 1-6.

Food and Drug Administration. Macroanalytical procedures manual. FDA Technical Bulletin Number 5. Washington, DC: AOAC International; 1984.

Gentry JW, Harris KL. Microanalytical entomology for food sanitation control. Florida: LithoGraphics Almonte Springs; 1991.

พรทิพย์ วิสารทานนท์, อัจฉรา เพชรโชติ. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร การควบคุมศัตรูผลิตผลเกษตร เรื่อง แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรและแมลงศัตรูธรรมชาติ. วันที่ 9-11 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2551.

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, และคณะ. แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)