การวัดความเข้มแสงไฟของคอลลิเมเตอร์ หลอดเอกซเรย์ด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน

การวัดความเข้มแสงไฟของคอลลิเมเตอร์หลอดเอกซเรย์

ผู้แต่ง

  • สินีพร จันทร์สว่าง สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • คทายุทธ นิกาพฤกษ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ความเข้มแสงไฟ, แอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน, แสงไฟหลอดเอกซเรย์

บทคัดย่อ

          แสงไฟของหลอดเอกซเรย์จากส่วนของคอลลิเมเตอร์ (collimator) ที่ใช้ในการกำหนดพื้นที่ของลำรังสี จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความเข้มแสงไฟให้ได้ตามมาตรฐาน ในปัจจุบันมีการใช้งานแอปพลิเคชันวัดความเข้มแสงไฟที่สามารถดาวน์โหลดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือวัดแสงภายในโรงพยาบาล งานวิจัยนี้ศึกษาการวัดความเข้มแสงไฟของหลอดเอกซเรย์ด้วยแอปพลิเคชันวัดความเข้มแสงบนสมาร์ตโฟน จำนวน 3 แอปพลิเคชัน ได้แก่ Smart Luxmeter (Smart Tools co.) Lux Meter (Light Meter) (My Mobile Tools Dev) และ Lux Meter (KHTSXR) โดยเปรียบเทียบผลกับเครื่องวัดแสงอ้างอิงที่ผ่านมาตรฐาน (Yokogawa, รุ่น 51001) จากการทดสอบด้วยแอปพลิเคชันวัดแสงไฟจากหลอดไฟชนิดไดโอดเปล่งแสง (light emitting diode: LED) พบว่าทั้ง 3 แอปพลิเคชัน สามารถวัดค่าความเข้มแสงได้ใกล้เคียงกับเครื่องวัดอ้างอิง มีความคลาดเคลื่อนระหว่าง 0.9−1.4% ผลการนำแอปพลิเคชันวัดแสงไปประยุกต์ทดสอบกับแสงไฟของคอลลิเมเตอร์ หลอดไฟเอกซเรย์จริง ที่ระยะห่าง 1 เมตร พบว่าแอปพลิเคชันวัดแสง มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยระหว่าง1.5−5.2% โดยที่แอปพลิเคชัน Lux Meter (KHTSXR) วัดค่าได้ใกล้เคียงกับเครื่องอ้างอิงมากที่สุด เท่ากับ 1.5% และเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับที่กำหนดในมาตรฐานคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนั้นในการตรวจวัดแสงเบื้องต้น แอปพลิเคชันวัดแสงที่ได้รับการสอบเทียบแล้วสามารถนำมาทดแทนเครื่องวัดแสงได้

References

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์, บุษยา จูงาม, พชรกมล กลั่นบุศย์. การจัดการปัญหาแสงสว่างในสถานที่ทำงาน. ว ความปลอดภัยและสุขภาพ 2564; 14(1): 1-12.

Gutierrez-Martinez JM, Castillo-Martinez A, Medina-Merodio JA, Aguado-Delgado J, Martinez-Herraiz JJ. Smartphones as a light measurement tool: case of study. Appl Sci 2017; 7(6): 616. (19 pages).

Cerqueira D, Carvalho F, Melo RB. Is it smart to use smartphones to measure illuminance for occupational health and safety purposes? In: Advances in safety management and human factors: Proceedings of the AHFE 2017 international conference on safety management and human factors. July 17–21, 2017, The Westin Bonaventure Hotel, Los Angeles. California, USA: Springer International Publishing; 2018. p. 258-268.

DIAL GmbH. Luxmeter App versus measuring device: Are smartphones suitable for measuring illuminance? [online]. 2016; [cited 2021 Oct 1];[4 screens]. Available from: URL: https://www.dialux.com/en-GB/news-detail/luxmeterapp-versus-measuring-device-are-smartphones-suitable-for-measuring-illuminance.

วิชัย วิชชาธรตระกูล, บรรจง เขื่อนแก้ว, ธานินทร์ ชินราช, พนม คำชาย, ธีรวัฒน์ สุภาวัฒนพันธ์. การประเมินคุณภาพและการแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยโรคทั่วไปในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. Srinagarind Med J 2007; 22 (suppl): 169.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับสิสชิ่ง จำกัด; 2562.

จินดา ทองเรือง. คุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยใน 6 จังหวัดภาคกลางของประเทศไทย ระหว่างปีงบประมาณ 2556-2557. ว กรมวิทย พ 2559; 58(2): 73-9.

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี. รายงานประจำปี 2563. อุดรธานี: ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี; 2563. หน้า 54.

สลีลา วิวัฒนิวงศ์, คทาวุธ ดีปรีชา, ลิขสิทธิ์ โสนันทะ, วีรภัทร มาเมือง. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มของแสงสว่างและระดับเสียงจากการวัดโดยเครื่องมือมาตรฐานเปรียบเทียบกับแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ. เวชสารแพทย์ทหารบก 2561; 71(4): 259-63.

Odenwald S. Smartphone sensors for citizen science applications: light and sound. Citizen Science: Theory and Practice 2020; 5(1): 13. (16 pages).

OIML R 136-1: 2004 (E). Instruments for measuring the areas leathers. Paris, France: Organisation Internationale de Metrologie Legale; 2004.

ชัยวัฒน์ เจษฎาจินต์. มาตรวิทยาและการจัดการเครื่องมือวัด. [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 24 ต.ค. 2565]; [70 หน้า] เข้าถึงได้ที่: URL: https://sc5.kku.ac.th/sciIT/doc/2018-Dec-18-111236.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2023

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)