การพัฒนา Indirect Enzyme-Linked Immunosorbent Assay เพื่อวิเคราะห์ความแรงของเซรุ่มแก้พิษงูเห่า

วิธีวิเคราะห์ความแรงของเซรุ่มแก้พิษงูเห่าด้วยวิธี indirect ELISA

ผู้แต่ง

  • ไพศาล พังจุนันท์ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วิภาวี วงศ์ชนะ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ค่าความแรง, เซรุ่มแก้พิษงูเห่า, indirect ELISA

บทคัดย่อ

        วิธีมาตรฐานสำหรับการหาค่าความแรงของเซรุ่มแก้พิษงูเห่าในตำรายา กำหนดให้ใช้วิธีทดสอบในสัตว์ทดลองโดยวิธี mouse neutralizing test แต่ปัจจุบันเหตุผลทางจริยธรรมด้านการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ได้มีแนวทางลดการใช้สัตว์ทดลองตามหลักการ 3Rs คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการทดสอบความแรงของเซรุ่มแก้พิษงูเห่าโดยวิธี indirect ELISA เพื่อทดแทนวิธีการใช้สัตว์ทดลอง ผลการวิจัยพบว่าวิธีนี้มีความจำเพาะกับเซรุ่มแก้พิษงูเห่ามีความแม่นโดยมีค่า %Recovery เท่ากับ 93.54 วิธีมีความเป็นเส้นตรงเมื่อสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่า OD กับค่าความเจือจางตัวอย่างเซรุ่มแก้พิษงูเห่า 1/7,500 ถึง 1/120,000 เท่า โดยมีค่า R2 ≥ 0.99 ซึ่งทำให้ช่วงความแรงของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการทดสอบด้วยวิธีนี้ คือ 0.2-0.8 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร วิธีมีความเที่ยงจากการทดสอบในวันเดียวกันและต่างวัน โดยมีค่า %CV เท่ากับ 7.65 และ 5.13 ตามลำดับ การศึกษาความทนของวิธีเมื่อเปลี่ยนผู้วิเคราะห์ ชนิดของเพลท และระยะเวลาการทำปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนกับแอนติบอดีทั้งหมด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าวิธีการทดสอบความแรงของเซรุ่มแก้พิษงูเห่าโดยวิธี indirect ELISA ที่พัฒนาขึ้นนี้มีความถูกต้อง สามารถนำมาใช้ในการทดสอบความแรงของเซรุ่มแก้พิษงูเห่าในห้องปฏิบัติการ และนำมาใช้ต่อยอดในการศึกษาความสัมพันธ์ค่าความแรงจากวิธี direct ELISA กับค่าความแรงจากวิธีมาตรฐานต่อไปในอนาคต

References

WHO Expert Committee on Biological Standardization, sixty-seventh report (WHO technical report series no. 1004). Geneva: World Health Organization; 2017. p. 197-388.

Department of Medical Sciences. Thai Pharmacopoeia II 2011 volume I part 1. Nonthaburi: Department of Medical Sciences Ministry of Public Health; 2011. p. 707-708.

Council of Europe. European Pharmacopoeia. 11th ed. Strasbourg, France: European Directorate for the Quality of Medicines & HealthCare; 2023. p. 1238.

พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 18 ก (วันที่ 13 มีนาคม 2558). หน้า 1-16.

Rial A, Morais V, Rossi S, Massaldi H. A new ELISA for determination of potency in snake antivenoms. Toxicon 2006; 48(4): 462-6.

Ibrahim NM, Farid NM. Comparison between two in vitro ELISA-based assays in the determination of antivenom potency. J Appl Sci Res 2009; 5(9): 1223-9.

Pornmuttakun D, Ratanabanangkoon K. Development of an in vitro potency assay for antivenom against Malayan pit viper (Calloselasma rhodostoma). Toxicon 2014; 77: 1-5.

ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

Council of Europe. European Pharmacopoeia. 11th ed. Strasbourg, France: European Directorate for the Quality of Medicines & HealthCare; 2023. p. 723-726.

Rungsiwongse J, Ratanabanangkoon K. Development of an ELISA to assess the potency of horse therapeutic antivenom against Thai cobra venom. J Immunol Methods 1991; 136(1): 37-43.

Kumar S, Kumar S, Behl Y, Gupta RK. Development and standardization of ELISA as pre-screen test for the potency estimation during commercial production of antisnake venom serum (ASVS). Am J Biomed Sci 2014; 6: 20-31.

Khaing EM, Hurtado PR, Hurtado E, Zaw A, White J, Warrell DA, et al. Development of an ELISA assay to determine neutralising capacity of horse serum following immunisation with Daboia siamensis venom in Myanmar. Toxicon 2018; 151: 163-8.

Council of Europe. European Pharmacopoeia. 11th ed. Strasbourg, France: European Directorate for the Quality of Medicines & HealthCare; 2023. p. 3011-3013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2023

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)