การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณของ Salmonella spp. ในน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท

การประเมินความเสี่ยง Salmonella spp. ในน้ำบริโภค

ผู้แต่ง

  • พัชรีย์ จิตตพิทักษ์ชัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม
  • วชิราภา เขียวรอด ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม
  • สุคันธา โอศิริพันธ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ, ซาลโมเนลลา, น้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท

บทคัดย่อ

         ซาลโมเนลลา (Salmonella spp.) เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขเนื่องจากก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษในมนุษย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบจากซาลโมเนลลาที่ปนเปื้อนในน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิท โดยสุ่มตัวอย่าง 15 จังหวัด ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2564 รวม 346 ตัวอย่าง พบปนเปื้อน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นความชุก ร้อยละ 0.29 ความเข้มข้นซาลโมเนลลาเท่ากับ 0.01 CFU/mL ปริมาณน้ำที่ควรได้รับต่อวันเท่ากับ 2.151 ลิตร ปริมาณจุลินทรีย์ที่รับสัมผัสเท่ากับ 21.51 CFU การตอบสนองต่อการสัมผัสได้ค่าความน่าจะเป็นในการเจ็บป่วยเท่ากับ 0.0000108 และ 0.0452 โดยประเมินด้วย exponential model และ beta-Poisson model ตามลำดับ จากการสร้างแบบจำลอง dose-response assessment model ปริมาณจุลินทรีย์ที่รับสัมผัสต่ำสุดเท่ากับ 10 CFU มีค่าความน่าจะเป็นในการเจ็บป่วยที่ 0.02324 การประเมินการรับสัมผัสได้ค่าความน่าจะเป็นของโอกาสที่จะรับสัมผัสซาลโมเนลลาเท่ากับ 0.00289 ดังนั้นความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยเนื่องจากการดื่มน้ำในภาชนะปิดสนิทที่ปนเปื้อนซาลโมเนลลา เท่ากับ 0.000000031 และ 0.000130619 ตาม exponential model และ beta-Poisson model ตามลำดับ ผลจากการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณในครั้งนี้ พบว่าน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิทในพื้นที่การศึกษาอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้และมีความปลอดภัย การศึกษานี้สามารถใช้เป็นต้นแบบอย่างหนึ่งของการประเมินความเสี่ยงทางจุลชีววิทยา โดยประยุกต์ใช้สำหรับชนิดอาหารหรือจุลินทรีย์ก่อโรคอื่น ๆ ได้

References

ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ. ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety). กรุงเทพฯ: คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 157 (วันที่ 24 กันยายน 2524). หน้า 52.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 416 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการตรวจวิเคราะห์ของอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 237 ง (วันที่ 9 ตุลาคม 2563). หน้า 9.

Codex Alimentarius Commission. Principles and guidelines for the conduct of microbiological risk assessment. CAC/GL-30. [online]. 1999; [cited 2021 Apr 27]; [6 screens]. Available from: URL: http://www.fao.org/3/y1579e/y1579e05.htm.

Ramos GL, Nascimento JS, Margalho LP, Duarte MC, Esmerino EA, Freitas MQ, et al. Quantitative microbiological risk assessment in dairy products: Concepts and applications. Trends Food Sci Technol 2021; 111: 610-6.

ISO 19250:2010. Water quality-detection of Salmonella spp. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2010.

ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ. ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ, โอกาส วงศ์นิติพัฒน์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ประเมินความเสี่ยงของลิสทีเรียโมโนไซโตจีเนสในผลิตภัณฑ์ไก่. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารแห่งชาติ; 2550.

Clarke R, Peyton D, Healy MG, Fenton O, Cummins E. A quantitative microbial risk assessment model for total coliforms and E.coli in surface runoff following application of biosolids to grassland. Environ Pollut 2017; 224: 739-50.

Buchanan RL, Smith JL, Long W. Microbial risk assessment: dose-response relations and risk characterization. Int J Food Microbiol 2000; 58(3): 159-72.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ฉบับที่ 44/2564 ประจำสัปดาห์ที่ 51 (วันที่ 19 – 25 ธ.ค. 64). [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 15 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=22377&deptcode=brc&news_views=4996.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 20 พ.ย. 2566]; [18 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/download/?did=194515&id=47232&reload=.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). [ออนไลน์]. [สืบค้น 20 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.

นงคราญ เรืองประพันธ์, มุทิตา คณฑา, กิตติมา ไมตรีประดับศรี, อรอนงค์ วงษ์เอียด. การประเมินความเสี่ยงเชิงกึ่งปริมาณของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Salmonella spp. ที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย. ว กรมวิทย พ 2564; 63(4): 793-808.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)