ประสิทธิผลการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในเขตสุขภาพที่ 3
ประสิทธิผลการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียในเขตสุขภาพที่ 3
คำสำคัญ:
ประสิทธิผลการตรวจคัดกรอง, ธาลัสซีเมีย, ฮีโมโกลบินผิดปกติ, คู่เสี่ยงบทคัดย่อ
การตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติที่มีประสิทธิผล มีความสําคัญต่อความสําเร็จในการป้องกันโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติกับผลการตรวจยืนยัน โดยรวบรวมผลการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียของหญิงตั้งครรภ์และสามี (คู่เสี่ยง) จากโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 ที่ส่งตรวจหาชนิดและปริมาณความผิดปกติของฮีโมโกลบิน (Hb typing) และตรวจหาความผิดปกติของยีนที่เป็นสาเหตุของโรคระดับดีเอ็นเอ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 จํานวน 3,176 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบรูปแบบการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ 5 รูปแบบ โดยมี 3 รูปแบบ คือ (MCV/MCH) + DCIP, OF+ DCIP และ [OF/(MCV/MCH)] + DCIP ที่ครอบคลุมการตรวจคัดกรอง β-thalassemia, α-thalassemia 1 และ Hb E ที่พบบ่อยในประชากรไทย และมีภาพรวมความสอดคล้องระหว่างผลการตรวจคัดกรองกับผลการตรวจยืนยันที่ร้อยละ 68.15 โดยการตรวจคัดกรองด้วยวิธี (MCV/MCH) + DCIP มีความสอดคล้องสูงสุด ที่ร้อยละ 71.65 การตรวจคัดกรอง Hb E ด้วยวิธี DCIP มีค่าความไว และค่าความจําเพาะที่ร้อยละ 87.33 และ 91.41 ตามลําดับ อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียยังมีโอกาสพัฒนาให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการนําเทคโนโลยีใหม่มาช่วยในการตรวจคัดกรองและการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม ร่วมกับการให้ความรู้กับบุคลากรทางห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลการตรวจคัดกรองมีความแม่นยํา น่าเชื่อถือ จึงสามารถสนับสนุนการลดจํานวนผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงรายใหม่ได้
References
วิปร วิประกษิต. “ธาลัสซีเมีย”: การดูแลรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแบบบูรณาการ. ว โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2556; 23(4): 303-20.
อรุณี เจตศรีสุภาพ. ธาลัสซีเมีย: อดีต ปัจจุบันและอนาคต. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555; 27(พิเศษ): 3-13.
จิตสุดา บัวขาว, คณะบรรณาธิการ. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. นนทบุรี: สํานักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์; 2560.
สมชาย แสงกิจพร, สิริภากร แสงกิจพร. “ธาลัสซีเมีย” โรคเลือดจางทางพันธุกรรมที่ป้องกันได้. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
คณะทํางานทบทวนแนวทางปฏิบัติในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมีย. แนวทางการปฏิบัติในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมีย. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
คณะกรรมการจัดทําคู่มือปฏิบัติงานการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติทางห้องปฏิบัติการ. คู่มือทางห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ (ฉบับปรับปรุงปี 2558). นนทบุรี: สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
คณะกรรมการจัดทําคู่มือการตรวจหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน. คู่มือการตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี, ชนม์ศุภางค์ สังขปรีชา, Steger HF. Hb E screening test. ว โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2541; 8(3): 215-21.
ธนพร บุษบาวไล, อกนิฏฐา พูนชัย, ศรวณีย์ ทนุชิต, อรพรรณ อ่อนจร, ณัฐธิดา มาลาทอง, สลัดจิต ชื่นชม, คณะผู้ประเมิน. รายงานการประเมินโครงการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
อติพร อิงค์สาธิต. เอกสารประกอบการสอน หลักการพิจารณางานวิจัยเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยมาประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยมหิดล. [สืบค้น 1 ก.พ. 2566]; [13 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.rama.mahidol.ac.th/fammed/sites/default/files/public/pdf/EBM_Diagnostic_study.pdf.
รัชนี ทองอ่อน, รู๊ซละห์ ยูนุม, กนกวรรณ แสนไชยสุริยา, ลักขณา เพียรีย์, นาฏนัดดา แจ้งสว่าง, กุลนภา ฟู่เจริญ, และคณะ. ธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลยะลา. ว เทคนิคการแพทย์และกายภาพบําบัด 2557; 26(1): 32-9.
กิตติ ต่อจรัส. ฮีโมโกลบิน ดี-ปัญจาบ (Hb D-Punjab). Thalassemia Foundation of Thailand. 2561; 27(2): 12-4.
อรพรรณ อัศวกุล. การตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบิน อี ในโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. ว โรงพยาบาลศรีสะเกษ 2553; 25(3): 359-67.
รัตนา สินธุภัค, อวยพร แก้วสุข, ปิยลัมพร หะวานนท์, ไพลิน ศรีสุขโข, กัลยาณี ตันศฤงฆาร, อรัญญา กิตติกัลยาวงศ์, และคณะ. รูปแบบที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรองพาหะของโรคธาลัสซีเมียสําหรับประเทศกําลังพัฒนา. ว โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2539; 6(3): 165-77.
Tongsong T, Charoenkwan P, Sirivatanapa P, Wanapirak C, Piyamongkol W, Sirichotiyakul S, et al. Effectiveness of the model for prenatal control of severe thalassemia. Prenat Diagn 2013; 32: 1-7.
ยุพิน โจ้แปง, รวิพรรณ พวงพฤกษ์, ปริพัส เนตรนี, กาญจน์ทิชา นามพิมาย. การประเมินผลการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบิน อี ในโรงพยาบาลชุมชน. ว เทคนิคการแพทย์ 2561; 46(1): 6253-65.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.