การยกระดับความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการด้านเคมีของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ สู่มาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer evaluation
การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี
คำสำคัญ:
ESPReL checklist, มาตรฐานด้านความปลอดภัย, Peer evaluationบทคัดย่อ
มาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกมิติมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง และช่องว่างศักยภาพ ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมีของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ เพื่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ตามแนวทางคู่มือการตรวจประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2558 โดยใช้แบบสำรวจ ESPReL checklist จำนวน 162 รายการ เป็นเครื่องมือประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัย 7 องค์ประกอบ เพื่อชี้บ่งอันตรายทางห้องปฏิบัติการระหว่างปี พ.ศ. 2562−2564 จากผลการตรวจประเมินโดยแม่ข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 พบว่าห้องปฏิบัติการได้รับคะแนนประเมินรวม ร้อยละ 82.6 องค์ประกอบที่มีคะแนนประเมินต่ำกว่าร้อยละ 80.0 ได้แก่ การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ระบบการจัดการของเสีย และระบบการจัดการสารเคมีที่ร้อยละ 66.7, 66.7, 71.4 และ 74.6 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงระบบและดำเนินการพัฒนายกระดับความปลอดภัย หลังจากนั้นตรวจประเมินซ้ำโดยแม่ข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 พบว่าห้องปฏิบัติการมีสถานภาพความปลอดภัยเพิ่มขึ้นที่คะแนนประเมินรวมร้อยละ 94.2 การสื่อสารและสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยในบุคลากรทุกระดับ สามารถสร้างระบบการทำงานด้านความปลอดภัยที่ครอบลุมในทุกองค์ประกอบ ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ยั่งยืน มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในทุกมิติ และเป็นไปตามมาตรฐานการรับรองในรูปแบบ peer evaluation อย่างไรก็ตามการเฝ้าระวังและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้เกิดระบบความปลอดภัยที่ยั่งยืนของหน่วยงานต่อไป
References
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 4 ก (วันที่ 17 มกราคม 2554).
โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2555.
ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. การพัฒนาตัวอย่างห้องปฏิบัติการวิจัยปลอดภัยในประเทศไทย. ว วิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [วารสาร ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 7 ก.พ. 2566]; 64(2558): [14 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJA/article/view/164448.
โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล. คู่มือขอรับการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2563.
กาญจนา สุรีย์พิศาล. การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี L-210 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. Mahidol R2R e-Journal [วารสารออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 7 ก.พ. 2566]; 8(1): [14 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/248622.
พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์. ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558; 23(4): 667-81.
ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. การสำรวจประเมินองค์ประกอบด้านลักษณะทางกายภาพของอาคารที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการความปลอดภัย: อาคารมหามกุฎ (รหัสอาคาร: SCI25) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ว วิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [วารสารออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 7 ก.พ. 2566]; 66(2560): [18 หน้า]. เข้าถึง ได้จาก: URL: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJA/article/view/115359.
จินดาวัลย์ เพ็ชรสูงเนิน, สาริณี ลิพันธ์, สุราณี อโณทัยรุ่งรัตน์, โกวิทย์ ปิยะมังคลา. การชี้บ่งอันตรายห้องปฏิบัติการเคมี: กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการเคมีอุตสาหกรรม. SDU Res J [วารสารออนไลน์]. 2559; [สืบค้น 7 ก.พ. 2566]; 9(1): [14 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.thaiscience.info/Journals/Article/SDUJ/10984833.pdf.
จรรยา ชื่นอารมณ์. การพัฒนาสารบบสารเคมีในห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Mahidol R2R e-Journal [วารสารออนไลน์]. 2565; [สืบค้น 7 ก.พ. 2566]; 9(1): [14 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/251594.
นันทวรรณ จินากุล. การประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา. บูรพาเวชสาร [วารสารออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 7 ก.พ. 2566]; 5(1): [16 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/138812.
โลมไสล วงค์จันตา, เต็มศิริ เคนคำ. การพัฒนาระบบการจัดการเอกสารคุณภาพ. ว กรมวิทย พ 2559; 58(1): 61-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.