การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ปริมาณ Quercitrin ในสารสกัดน้ำพลูคาวด้วยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง

การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ Quercitrin ในสารสกัดน้ำพลูคาวด้วย UHPLC

ผู้แต่ง

  • สุนันทา ศรีโสภณ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สมจิตร์ เนียมสกุล สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สราวุธ จันทน์โคตรแก้ว สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศักดิ์วิชัย อ่อนทอง สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กรวิชญ์ สมคิด สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์, Quercitrin, สารสกัดน้ำพลูคาว, UHPLC

บทคัดย่อ

         พลูคาว (Houttuynia cordata Thunb.) ใช้ประโยชน์ในยาไทยพื้นบ้านและตำรับยาแผนโบราณที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในต่างประเทศใช้รักษาอาการไข้ ไอ อาการอักเสบ และขับปัสสาวะเป็นต้น มีรายงานว่าพลูคาวสามารถต้านเชื้อไวรัส ต้านเชื้อจุลินทรีย์ เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านอักเสบ ตำรับยาจีนที่มีพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลักมีรายงานว่าใช้เพื่อบรรเทาจมูกอักเสบในระหว่างการแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มสารที่พบมากในพลูคาว คือ phenolics ซึ่ง quercitrin เป็นองค์ประกอบหลัก และไม่พบว่ามีวิธีมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพทางเคมีสำหรับสารสกัดพลูคาว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ปริมาณ quercitrin ในสารสกัดน้ำพลูคาวด้วยโครมาโทกราฟีแบบของเหลวสมรรถนะสูง วัฏภาคคงที่ คือ ZORBAX Extend-C18 Rapid Resolution HD 2.1×50 mm, 1.8 μm อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส วัฏภาคเคลื่อนที่ คือ สารละลายผสมระบบ gradient ของ 0.2 %v/v phosphoric acid ในน้ำและเมทานอล อัตราการไหล 0.4 มิลลิลิตรต่อนาที วัดที่ความยาวคลื่น 350 นาโนเมตร เตรียมสารละลายตัวอย่างโดย reflux ในเมทานอล 30 นาที ผลพบว่าวิธีนี้มีความจำเพาะ มีความเป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 0.04−0.24 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (r2) เท่ากับ 0.99997 ร้อยละการคืนกลับ (%recovery) เท่ากับร้อยละ 99.76–103.16 HORRAT ของ repeatability และ intermediate precision < 2 ขีดจำกัดในการตรวจวัดเชิงปริมาณ (LOQ) เท่ากับร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก วิธีที่พัฒนาขึ้นมีความแม่น และความเที่ยง สามารถนำไปใช้ตรวจวิเคราะห์ปริมาณ quercitrin เพื่อควบคุมคุณภาพของสารสกัดน้ำพลูคาวเดี่ยวที่มีการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้

References

Larsen K. Saururaceae. In: Flora of Thailand vol. 7 part 2. Bangkok: The Forest Herbarium, Royal Forest Department; 2000. p. 344-346.

สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สมุนไพรน่ารู้ 1: ผักคาวตอง ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.

Li JJ, Chen GD, Fan HX, Hu D, Zhou ZQ, Lan KH, et al. Houttuynoid M, an anti-HSV active houttuynoid from Houttuynia cordata featuring a bis-houttuynin chain tethered to a flavonoid core. J Nat Prod 2017; 80(11): 3010-3.

Ling LJ, Lu Y, Zhang YY, Zhu HY, Tu P, Li H, et al. Flavonoids from Houttuynia cordata attenuate H1N1-induced acute lung injury in mice via inhibition of influenza virus and Toll-like receptor signalling. Phytomedicine 2020; 67: 153150.

Sekita Y, Murakami K, Yumoto H, Amoh T, Fujiwara N, Ogata S, et al. Preventive effects of Houttuynia cordata extract for oral infectious diseases. Biomed Res Int 2016; 2016: 2581876. (8 pages).

Garg CK, Sahu NP, Maiti MK, Shamna N, Deo AD, Sardar P. Dietary Houttuynia cordata leaf extract and meal enhances the immunity and expression of immune genes in Labeo rohita (Hamilton, 1822). Aquac Res 2021; 52(1): 381-94.

Gurung AB, Ali MA, Lee J, Farah MA, Al-Anazi KM, Al-Hemaid F. Identification of SARSCoV-2 inhibitors from extracts of Houttuynia cordata Thunb. Saudi J Biol Sci 2021; 28(12): 7517-27.

Liu X, Cao K, Lv W, Liu J, Gao J, Wang Y, et al. Aqueous extract of Houttuynia cordata ameliorates aortic endothelial injury during hyperlipidemia via FoxO1 and p38 MAPK pathway. J Funct Foods 2019; 62: 103510. (8 pages).

Li J and Zhao F. Anti-inflammatory functions of Houttuynia cordata Thunb. and its compounds: a perspective on its potential role in rheumatoid arthritis (Review). Exp Ther Med 2015; 10: 3-6.

Woranam K, Senawong G, Utaiwat S, Yunchalard S, Sattayasai J, Senawong T. Anti-inflammatory activity of the dietary supplement Houttuynia cordata fermentation product in RAW264. 7 cells and Wistar rats. PLoS One 2020; 15(3): e0230645. (18 pages).

Chang KW, Lin TY, Fu SL, Ping YH, Chen FP, Kung YY. A Houttuynia cordata-based Chinese herbal formula improved symptoms of allergic rhinitis during the COVID-19 pandemic. J Chin Med Assoc 2022; 85(6): 717-22.

Tian L, Shi X, Yu L, Zhu J, Ma R, Yang X. Chemical composition and hepatoprotective effects of polyphenol-rich extract from Houttuynia cordata tea. J Agric Food Chem 2012; 60(18): 4641-8.

Yan L, Wei X, Ji T, Hong LC, Yan YS, Guo ZG, et al. Development of a novel method combining multi-wavelength HPLC fingerprint and quantitative analysis of multi-component by single marker for quality control of Houttuynia cordata. J. Chem Pharm Res 2014; 6(8): 347-56.

Wei QU, Fei-Hua WU, Juan LI, Liang JY. Alkaloids from Houttuynia cordata and their antiplatelet aggregation activities. Chin J Nat Med 2011; 9(6): 425-8.

Yang ZN, Sun YM, Luo SQ, Chen JW, Yu ZW, Sun M. Quality evaluation of Houttuynia cordata Thunb. by high performance liquid chromatography with photodiode-array detection (HPLC-DAD). Pak J Pharm Sci 2014; 27(2): 223-31.

Chen J, Li G, Sun C, Peng F, Yu L, Chen Y, et al. Chemistry, pharmacokinetics, pharmacological activities, and toxicity of Quercitrin. Phytother Res 2022; 36(4): 1545-75.

Kim HS, Lee AY, Park JY, Jo JE, Moon BC, Chun JM, et al. Simultaneous determination of seven compounds in Houttuynia cordata using UPLC-PDA. Nat Prod Res 2012; 18(3): 158-65.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx.

Center for Drug Evaluation and Research (CDER). Reviewer guidance validation of chromatographic methods. [online]. 1994; [cited 2023 Mar 14]; [33 screens]. Available from: URL: https://www.fda.gov/media/75643/download.

ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

AOAC guidelines for single laboratory validation of chemical methods for dietary supplements and botanicals [online]. 2002; [cited 2023 Mar 1]; [38 screens]. Available from: URL: https://www.farmacia.ufmg.br/wp-content/uploads/2015/06/AOAC-Guidelines-for-Single-Laboratory.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-09-2023

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)