ผลของขมิ้นชันต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของคน

ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดขมิ้นชัน

ผู้แต่ง

  • สุวรรณดี ทรัพย์เจริญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง
  • ณัฐชา ด้วงรัก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง

คำสำคัญ:

ขมิ้นชัน, สารสกัดหยาบขมิ้นชัน, เชื้อแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของคน

บทคัดย่อ

          เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นภัยคุกคามที่สำคัญส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับโลก การใช้สารสกัดสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยลดการใช้ยาต้านจุลชีพได้ ขมิ้นชัน (Curcuma longa L. วงศ์ Zingiberaceae) มีสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านอักเสบ รักษาความผิดปกติในทางเดินอาหาร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์หลอดทดลองของสารสกัดหยาบเอทานอล ขมิ้นชัน 3 พันธุ์ปลูก ได้แก่ แดงสยาม ตรัง 1 และตรัง 84–2 ในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารของคน 6 ชนิด ได้แก่ Salmonella spp., Shigella spp., Vibrio spp., Bacillus cereus, pathogenic Escherichia coli และ Staphylococcus aureus จำนวน 40 สายพันธุ์ (isolate) ผลพบว่าเมื่อทดสอบด้วยวิธี broth microdilution สารสกัดหยาบเอทานอลขมิ้นชันทั้ง 3 พันธุ์ปลูก มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Vibrio spp., Bacillus cereus และ Staphylococcus aureus ได้โดยความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ที่ร้อยละ 90 (minimal inhibitory concentration at 90%, MIC90) ของสารสกัดมีค่าเท่ากับ 1–10, 3.3–5.2 และ 3.2–7.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ โดยสารสกัดขมิ้นชันพันธุ์ตรัง 1 ยับยั้ง เชื้ออหิวาต์ (Vibrio cholerae) ได้ดีที่สุด ที่ค่า MIC90 เท่ากับ 3.2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตามสารสกัดขมิ้นชันทั้งหมดที่ค่าความเข้มข้น 25–1,000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Salmonella spp., Shigella spp. และ pathogenic Escherichia coli ข้อมูลจากการศึกษานี้จึงเป็นประโยชน์ในการพัฒนาขมิ้นชันให้เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่อไป

References

Pruksananonda P, Athirakul K, Worawattanakul M, Varavithya W, Pisithpun A, Kitayaporn D, et al. Diarrhea among children admitted to a private tertiary-care hospital, Bangkok, Thailand: a case series. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2008; 39(3): 434-42.

ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา, เฉลิมศรี ภุมมางกูร, พุทธรัตน์ ขันอาษา. ข้อแนะนำในการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันสำหรับเภสัชกรชุมชน. ว เภสัชศาสตร์อีสาน 2561; 14(4): 1-17.

เสาวนิตย์ บุณพัฒนศักดิ์, กมลรัตน์ ศิริโยธา. แบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษในเขตสุขภาพที่ 2 และจังหวัดพิจิตร ระหว่าง ปีงบประมาณ 2556-2560. ว วิชาการ ป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2562; 6(1): 1-15.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. รายงานการศึกษาความชุกและการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์เชื้อก่อโรคในผู้ป่วยโรคท้องร่วงเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 9 พ.ย. 2565]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://nih.dmsc.moph.go.th/research/showimgdetil.phpid=654

อรุณ บ่างตระกูลนนท์, นพรัตน์ หมานริม, ภิรมย์ ทับทิมเทศ, ชุมพจต์ อมาตยกุล, สุมาลี บุญมา. การศึกษาหาเชื้อโรคอุจจาระร่วงในผู้ป่วยแรกรับโรงพยาบาลศรีธัญญา. ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2539; 5(1): 55-64.

กีรติญา เอี่ยมถาวร, ยิ่งมณี ตระกูลพัว. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโพรพอลิส นมผึ้ง และฟ้าทะลายโจร. ใน: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ The 4th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2012. วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555. หน้า 112-119.

Wall S. Prevention of antibiotic resistance an epidemiological scoping review to identify research categories and knowledge gaps. GlobHealth Action 2019; 12: 1756191. (27 pages).

Czernicka L, Grzegorczyk A, Marzec Z, Antosiewicz B, Malm A, Kukula-Koch W. Antimicrobial potential of single metabolites of Curcuma longa assessed in the total extract by thin-laer chromatography-based bioautography and image analysis. Int J Mol Sci 2019; 20(4): 898. (12 pages).

วัชรินทร์ รังษีภาณุรัตน์, พัชรี กัมมารเจษฎากุล, อิสยา จันทร์วิทยานุชิต. ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922. วารสาร มฉก. วิชาการ 2559; 19(38): 35-48.

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 130 ง (วันที่ 2 มิถุนายน 2566). หน้า 45.

Hewlings SJ, Kalman DS. Curcumin: a review of its’ effects on human health. Foods 2017; 6(10): 92. (11 pages).

Teow SY, Liew K, Ali SA, Khoo AS, Peh SC. Antibacterial action of curcumin against Staphylococcus aureus: a brief review. J Trop Med 2016; 2016: 2853045. (10 pages).

สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. เอกสารทางวิชาการ ขมิ้นชัน Curcuma longa L. [ออนไลน์]. 2566; [สืบค้น 3 มี.ค. 2566]; [64 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.doa.go.th/hort/wpcontent/uploads/2023/02/เอกสารวิชาการ-ขมิ้นชัน-กลุ่มวิชาการ-สวส-1.pdf.

ชัชวาลย์ ช่างทำ. คุณประโยชน์และฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลายของสมุนไพรขมิ้นชัน. ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2558; 1(2): 94-109.

แสงอุษา ประดิษฐศิลป์, พรรนิภา ศิริเพิ่มพูล. ผลของเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชันต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและจำนวนของเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร. ว วิทยาศาสตร์บูรพา 2554; 16(2): 75-82.

ทิวาพร พรหมรัตน์, วลัยรัตน์ จันทรปานนท์. การศึกษาวิธีการและสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารจากขมิ้นชันและฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44. วันที่ 30 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2549. กรุงเทพฯ; 2549. หน้า 250-257.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2562. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 23 พ.ย. 2566]; [802 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1129820210620030431.pdf.

วันดี วราวิทย์, จิราศรี วัชรดุลย์, ประพันธ์ อ่านเปรื่อง, พรพิมล พัวประดิษฐ์, ยง ภู่วรวรรณ, บุษบา วิวัฒน์เวคิน, และคณะ. แนวปฏิบัติการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน. [ออนไลน์]. 2566; [สืบค้น 23 พ.ย. 2566]; [18 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://platform.who.int/docs/default-source/mca-documents/policy-documents/guideline/THA-CH-23-02-GUIDELINE-2001-tha-Guidelinesfor-treatment-of-Acute-diarrhea.pdf.

World Health Organization. WHO recommendations on the management of diarrhoea and pneumonia in HIV-infected infants and children: integrated management of childhood illness (IMCI). Geneva: WHO; 2010. 20. World Health Organization. The treatment of diarrhoea: a manual for physicians and other senior health workers. 4th ed. Geneva: WHO; 2005.

วิเชียร กีรตินิจกาล, สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง, นันทวรรณ ฉิมพลี, โสภิตา ชิดชื่นเชย, ชัยมงคล ตะนะสอน, วัฒนา อาจวิชัย, และคณะ. ขมิ้นชันพันธุ์ แดงสยาม [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 9 พ.ย. 2565]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/318043.

กรมวิชาการเกษตร. ขมิ้นชันพันธุ์ตรัง 1. [ออนไลน์]. 2553; [สืบค้น 9 พ.ย. 2565]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.doa.go.th/share/docs/cultivarhort/suggestcv/turmerictrang1.pdf.

กรมวิชาการเกษตร. ขมิ้นชันพันธุ์ตรัง 84-2. [ออนไลน์]. 2553; [สืบค้น 9 พ.ย. 2565]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.doa.go.th/share/docs/cultivarhort/suggestcv/turmerictrang84-2.pdf.

Zhang QW, Lin LG, Ye WC. Techniques for extraction and isolation of natural products: a comprehensive review. Chin Med 2018; 13: 20. (26 pages).

Khamin chan. In: Department of Medical Sciences. Thai herbal pharmacopoeia 2021 volume 1. Nonthaburi: Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 2018. p. 177-185.

Clinical and Laboratory Standards Institute (CLSI). M100--Performance standards for antimicrobial susceptibility testing. 32nd ed. USA: CLSI; 2022.

พรชัย สินเจริญโภไคย, องอาจ เลาหวินิจ, พัชรี สุนทรนันท์, งามผ่อง คงคาทิพย์, สุริยัน สุทธิประภา, บุญส่ง คงคาทิพย์. ผลการยับยั้งของสารสกัดขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn.) ต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในคนและสัตว์บางชนิด. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47. วันที่ 28-20 มีนาคม 2552. กรุงเทพฯ; 2552. หน้า 244-53.

พรเทพ เต็มรังสี. ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดสมุนไพรต่อเชื้อที่แยกได้จากแผลติดเชื้อ [วิทยานิพนธ์].วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554. หน้า 31-62.

ธิดา ไชยวังศรี. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค อาหารเป็นพิษ. ว นเรศวรพะเยา 2555; 5(3): 334-42.

ชูชีวิน กาญจนถาวรวิบูล, เชาวลิต มณฑล, หทัยรัตน์ อุไรรงค์. ปริมาณเคอร์คูมินอยด์ในเหง้าขมิ้นชันที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. วันที่ 30 เมษายน 2564. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2564. หน้า 14-25.

นุศวดี พจนานุกิจ, สมใจ ขจรชีพพันธุ์งาม. เปรียบเทียบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกมังคุดขมิ้นชันและใบบัวบก. ว มหาวิทยาลัยนเรศวร 2553; 18(1): 1-9.

Cheng AL, Hsu CH, Lin JK, Hsu MM, Ho YF, Shen TS, et al. Phase I clinical trial of curcumin, a chemopreventive agent, in patients with high-risk or pre-malignant lesions. Anticancer Res 2001; 21: 2895-2900.

Dai C, Lin J, Li H, Shen Z, Wang Y, Velkov T, et al. The natural product curcumin as an antibacterial agent: current achievements and problems. Antioxidants 2022; 11(3): 459. (21 pages).

Tyagi P, Singh M, Kumari H, Kumari A, Mukhopadhyay K. Bactericidal activity of curcumin I is associated with damaging of bacterial membrane. PLoS One 2015; 10(3): e0121313. (15 pages).

Murali N, Kumar-Phillips GS, Rath NC, Marcy J, Slavik MF. Effect of marinating chicken meat with lemon, green tea and turmeric against foodborne bacterial pathogens. Int J Poult Sci 2012; 11(5): 326-32.

Sanchez-Villamil JI, Navarro-Garcia F, Castillo-Romero A, Gutierrez-Gutierrez F, Tapia D, Tapia-Pastrana G. Curcumin blockscytotoxicity of enteroaggregative and enteropathogenic Escherichia coli by blocking Pet and EspC proteolytic release from bacterial outer membrane. Front Cell Infect Microbiol 2019; 9: 334. (13 pages).

Taguri T, Tanaka T, Kouno I. Antimicrobial activity of 10 different plant polyphenols against bacteria causing food-borne disease. Biol Pharm Bull 2004; 27(12): 1965-9.

Rai D, Singh JK, Roy N, Panda D. Curcumin inhibits FtsZ assembly: an attractive mechanism for its antibacterial activity. Biochem J 2008; 410: 147-55

Mun SH, Kim SB, Kong R, Choi JG, Kim YC, Shin DW, et al. Curcumin reverse methicillin resistance in Staphylococcus aureus. Molecules 2014; 19(11): 18283-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)