การประเมินความเที่ยงในการวาดบริเวณที่สนใจของนักศึกษารังสีเทคนิค เพื่อคํานวณค่าการทํางานของหัวใจห้องล่างซ้ายในงานทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ความเที่ยงในการวาด ROI ต่อการประเมินค่า LVEF

ผู้แต่ง

  • กนกอร ภู่นาค ภาควิชารังสีเทคนิค คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • พีระวรรณ โชชัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • จาฏุพัจน์ รัมมะภาพ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • สรวิชญ์ อินจรัญ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

การทํางานของหัวใจห้องล่างซ้าย, ความเที่ยงในการวาดบริเวณที่สนใจ, นักศึกษารังสีเทคนิค

บทคัดย่อ

         การตรวจสมรรถภาพของหัวใจด้วยวิธี multiple gated acquisition scan (MUGA) ใช้ในการประเมินการทํางานของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricular ejection fraction; LVEF) โดยการวาดบริเวณที่สนใจ (region of interest; ROI) ที่แตกต่างกันมีผลต่อค่า LVEF งานวิจัยนี้จึงทําการศึกษาความเที่ยงภายในผู้ประเมินและระหว่างผู้ประเมินจากการวาด ROIs โดยคํานวณหาค่า %LVEF จากภาพการตรวจผู้ป่วยด้วยวิธีการวาด ROIs แบบ semi-automated จากนั้นนําค่า %LVEF ที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยรวมและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความเชื่อมั่น (ICC) และสร้างกราฟ Bland-Altman plot ด้วยโปรแกรม SPSS โดยผลการศึกษาพบว่าค่าความน่าเชื่อถือภายในตัวผู้ประเมิน (ICC(3,1)) อยู่ระหว่าง 0.94 ถึง 0.95 และระหว่างผู้ประเมิน (ICC(2,1)) อยู่ระหว่าง 0.88 ถึง 0.89 จากกราฟ Bland Altman plot แสดงค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างผู้ประเมินที่ 1 และผู้ประเมินที่ 2 ในการวาด ROIs ทั้ง 3 ครั้ง เท่ากับ 0.84, 1.49 และ 1.66 ตามลําดับ ค่าเฉลี่ย %LVEF ที่ได้จากการคํานวณระหว่างผู้ประเมินที่เป็นนักศึกษารังสีเทคนิคสองคนและเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานจากการวาด ROIs มีความสัมพันธ์กันมากในเชิงบวกเท่ากับ 0.92 และ 0.87 จากการศึกษาพบว่าหากนักศึกษารังสีเทคนิคได้รับการฝึกฝนทําให้มีความชํานาญเพียงพอในการวาด ROIs เพื่อคํานวณ %LVEF ในการตรวจ MUGA scan พบว่าความเที่ยงภายในตัวผู้ประเมินมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับดีมากและความเที่ยงระหว่างตัวผู้ประเมินมีค่าการยอมรับอยู่ในเกณฑ์ดี และค่า %LVEF ที่ได้มีความใกล้เคียงกับผู้ชํานาญการ ดังนั้นหากนักรังสีเทคนิคปฏิบัติงานใหม่หรือนักศึกษารังสีเทคนิคที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีจะสามารถปฏิบัติงานในการวิเคราะห์การตรวจ MUGA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดภาระงานของนักรังสีเทคนิคได้

References

de Boer RA, Meijers WC, van der Meer P, van Veldhuisen DJ. Cancer and heart disease: associations and relations. Eur J Heart Fail 2019; 21(12): 1515-25.

Zamorano JL, Lancellotti P, Rodriguez Muñoz D, Aboyans V, Asteggiano R, Galderisi M, et al. 2016 ESC Position Paper on cancer treatments and cardiovascular toxicity developed under the auspices of the ESC Committee for Practice Guidelines. Eur Heart J 2016; 37(36): 2768-801.

Kosaraju A, Goyal A, Grigorova Y, Makaryus AN. Left ventricular ejection fraction. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022.

Belo R, Alves C, Carvalhal C, Figueiredo S, Carolino E, Vieira L. MUGA processing: intra and interoperator variability impact using manual and automated methods. Saúde & Tecnologia 2019; 22: 22-7.

Farrell MB, Galt JR, Georgoulias P, Malhotra S, Pagnanelli R, Rischpler C, et al. SNMMI procedure standard/EANM guideline for gated equilibrium radionuclide angiography. J Nucl Med Technol 2020; 48(2): 126-35.

Tomaru Y, Inoue T, Oriuchi N, Takahashi K, Endo K. Semi - automated renal region of interest selection method using the double - Threshold technique: inter - operator variability in quantitating 99mTc - MAG3 renal uptake. Eur J Nucl Med 1998; 25(1): 55-9.

Klein R, Renaud JM, Ziadi MC, Thorn SL, Adler A, Beanlands RS, et al. Intra - and inter - operator repeatability of myocardial blood flow and myocardial flow reserve measurements using rubidium - 82 pet and a highly automated analysis program. J Nucl Cardiol 2010; 17(4): 600-16.

Sachpekidis C, Schepers R, Marti M, Kopp - Schneider A, Alberts I, Keramida G, et al. 99mTc - MAG3 diuretic renography: intra - and inter - observer repeatability in the assessment of renal function. Diagnostics 2020; 10(9): 709. (11 pages).

Amnuaywattakorn S, Promma S, Musikarat S, Tawonwong T. Ejection fraction from MUGA: comparisons between Xeleris and Pegasys workstations. Rama Med J 2017; 40(3): 23-8.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

24-09-2024

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)