การตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของกลางในช่วงปี พ.ศ. 2563-2565

การตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของกลางในช่วงปี พ.ศ. 2563-2565

ผู้แต่ง

  • ศศิดา อยู่สุข สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ยาเสพติดของกลาง, ยาเสพติด, ยาเสพติดให้โทษ, วัตถุออกฤทธิ์

บทคัดย่อ

          ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยยังคงมีอยู่ เนื่องจากเครือข่ายการค้ายาเสพติดลักลอบนำเข้ายาเสพติด เเพร่กระจายในประเทศไทย และใช้เป็นเส้นทางผ่านของยาเสพติดเพื่่อส่งต่อไปยังประเทศอื่น นอกจากนี้ในปัจจุบันมีเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งกลายเป็นช่องทางสำคัญในการซื้อขายยาเสพติด ดังนั้นจึงมียาเสพติดของกลางจำนวนมากที่ต้องตรวจพิสูจน์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสถานตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของกลาง ปี พ.ศ. 2563-2565 มีการเปลี่ยนแปลงกฏหมายยาเสพติดโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกระท่อมและกัญชา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่พบในยาเสพติดของกลางในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565 การตรวจพิสูจน์มีทั้งการตรวจเบื้องต้นโดยใช้ color test และการตรวจยืนยันด้วยเทคนิค thin-layer chromatography และ gas chromatography-mass spectrometry ผลการตรวจพิสูจน์พบว่าเมทแอมเฟตามีนตรวจพบมากที่สุด รองลงมา คือ กระท่อมและกัญชา นอกจากนี้ยังพบคีตามีน ยาอี เฮโรอีน และโคคาอีน วัตถุออกฤทธิ์ในของกลางที่พบมากที่สุด คือ คีตามีน รองลงมา คือ โคลนาซีแพม ไซบูทรามีน และอัลพราโซแลม วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 และ 4 ที่ตรวจพบในของกลางส่วนมากเป็นยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) มีการรายงานพบยาเสพติดชนิดใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่หลากหลาย ดังนั้นสถานตรวจพิสูจน์จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพในการตรวจพิสูจน์เพื่อให้ตอบสนองต่อการแพร่ระบาดยาเสพติดชนิดใหม่ในอนาคต

References

ประมวลกฎหมายยาเสพติด. ใน: พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก (วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564). หน้า 11.

ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการตรวจรับ การตรวจพิสูจน์ การเก็บรักษาการทำลาย การนำไปใช้ประโยชน์ และการรายงานยาเสพติด พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 94 ง (วันที่ 25 เมษายน 2565). หน้า 18.

United Nations Office on Drugs and Crime. Rapid testing methods of drugs of abuse. New York: United Nations; 1994.

United Nations Office on Drugs and Crime. Recommended methods for the identification and analysis of amphetamine, methamphetamine and their ring-substituted analogues in seized materials. New York: United Nations; 2006.

United Nations International Drug Control Program. Recommended methods for the testing opium, morphine and heroine. New York: United Nations; 1998.

United Nations Office on Drugs and Crime. Recommended methods for the identification and analysis of cocaine in seized materials. New York: United Nations; 2012.

United Nations Office on Drugs and Crime. Recommended methods for the identification and analysis of cannabis and cannabis products. Vienna: United Nations; 2022.

Moffat AC, Osselton MD, Widdop B, Watts J, editors. Clarke's analysis of drugs and poisons: in pharmaceuticals, body fluids and postmortem material. 4th ed. London: Pharmaceutical Press; 2011.

Chan KB, Pakiam C, Rahim RA. Psychoactive plant abuse: the identification of mitragynine in ketum and in ketum preparations. Bull Narc. [online]. 2005; [cited 2023 Sep 30]; 57(1-2): [8 screen]. Available from: URL: https://www.unodc.org/pdf/research/Bulletin07/Bulletin_on_narcotics_2007_Chan.pdf.

United Nations Office on Drugs and Crime. Recommended methods for the identification and analysis of barbiturates and benzodiazepines under international control. New York: United Nations; 2012.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 182 ง (วันที่ 5 สิงหาคม 2565). หน้า 7.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 182 ง (วันที่ 5 สิงหาคม 2565). หน้า 8.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 4 พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 182 ง (วันที่ 5 สิงหาคม 2565). หน้า 10.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. การเสพติด. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 29 ก.ย. 2566]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://cads.in.th/cads/content?id=75.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. สารกระตุ้นประสาท (stimulants). [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 29 ก.ย. 2566]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: https://cads.in.th/cads/content?id=78.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. สารกดประสาท (depressants). [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 29 ก.ย.2566]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://cads.in.th/cads/content?id=77.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. สารหลอนประสาท (hallucinogens). [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 29 ก.ย. 2566]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://cads.in.th/cads/content?id=79.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. สารโอปิออยด์ (opioids). [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 29 ก.ย. 2566]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://cads.in.th/cads/content?id=80.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. สารระเหย กัญชา คาธิโนน กระท่อม. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 29 ก.ย. 2566]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://cads.in.th/cads/content?id=81.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 63 ฉบับพิเศษ (วันที่ 27 เมษายน 2522). หน้า 40.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 19 ก (วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562). หน้า 1.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 218 ง (วันที่ 30 สิงหาคม 2562). หน้า 1.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 290 ง (วันที่ 14 ธันวาคม 2563). หน้า 33.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 35 ง (วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565). หน้า 8.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 272 ง (23 พฤศจิกายน 2565). หน้า 3.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 176 ง (วันที่ 4 สิงหาคม 2564). หน้า 45.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. Sibutramine: เพิกถอนทะเบียนตำรับโดยสมัครใจ. [ออนไลน์]. 2553; [สืบค้น 29 ก.ย. 2566]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/1176.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. เลือกอย่างไร…เมื่อจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก. [ออนไลน์].2566; [สืบค้น 29 ก.ย. 2566]; [7 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ URL: https://oryor.com/media/men/media_printing/2163.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์. สบยช. เตือน “HAPPYWATER” ส่วนผสมจากยาเสพติดหลายชนิด ฤทธิ์รุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้. [ออนไลน์]. 2565; [สืบค้นเมื่อ 29 ก.ย. 2566]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.pmnidat.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=3607&Itemid=159.

United Nations Office on Drugs and Crime. May 2022 – UNODC-SMART: Emergence of “Happy water” in Southeast Asia. [online]. 2022; [cited 2023 Sep 30]. [1 screen]. Available from: URL: https://www.unodc.org/LSS/Announcement/Details/0f57ddbe-01dd-481caf78-0bc494c84a53

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)