สมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

สมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

ผู้แต่ง

  • ณัฐธิกา พฤกษิกานนท์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
  • ยุทธนา แยบคาย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

         สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ได้พัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน ตามแนวทางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มบทบาทให้ภาคประชาชนในการเป็นผู้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการจัดการสุขภาพในชุมชน รวมถึงการชันสูตรโรคเบื้องต้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนของ อสม. โดยใช้การประเมินของบุคลากรด้านสุขภาพ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 64 คน และ อสม. จังหวัดสุโขทัย จำนวน 64 คน ด้วยแบบสอบถาม เพื่อเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent sample’s t-test ผลการวิจัยพบว่า อสม. มีสมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด และสมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนที่มีอยู่จริงอยู่ในระดับมาก อสม. มีสมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนที่คาดหวังสูงกว่าสมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนที่มีอยู่จริง และกลุ่ม อสม. ประเมินสมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนที่คาดหวังและสมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนที่มีอยู่จริงสูงกว่ากลุ่มบุคลากรด้านสุขภาพ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพสมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนของ อสม. ให้สามารถปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

References

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 33 ง (วันที่ 20 มีนาคม 2554). หน้า 1.

อลงกรณ์ มีสุทธา, สมิต สัชณุกร. การประเมินผลการปฏิบัติงาน: แนวความคิด หลักการ วิธีการ และกระบวนการ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2551.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง;2548.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2566. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2565.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. หนังสือที่ระลึกวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2560. นนทบุรี: กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน; 2560.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง ผลการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนระดับชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2566. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2566.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย; 2564.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 15 พ.ค. 2564]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL:http://www.thaiphc.net/new2020/.

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009; 41(4): 1149-60.

Hennessy S, Bilker WB, Berlin JA, Strom BL. Factors influencing the optimal control-to-case ratio in matched case-control studies. Am J Epidemiol 1999; 149(2): 195-7.

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research 1977; 2(2): 49-60.

Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1977.

Cronbach LJ. Essentials of psychology andeducation. New York: McGraw-Hill; 1984.

SPSS: an IBM company. IBM SPSS statistics 20, VeriSign Class 3 Code Signing 2010 CA. Chicago, IL: International Business Machines Corporation; 2010.

ยุทธนา แยบคาย, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. การปฏิบัติงานตามบทบาทที่สำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ว วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2563; 31(2): 269-79.

มหาชาติ โสภณนิธินาท, ยุทธนา แยบคาย. สมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสวรรคโลกจังหวัดสุโขทัย. ว สาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ 2567; 34(1): 28-37.

อรธิรา พลจร. สมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)