การพัฒนารูปแบบบริการทางห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล ISO 15189:2012 และ ISO 15190:2003 กรณีศึกษาโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

รูปแบบบริการทางห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล

ผู้แต่ง

  • นพดล สีสุข โรงพยาบาลโคกโพธิ์
  • อุดมเกียรติ พูลสวัสดิ์ โรงพยาบาลโคกโพธิ์
  • นิธินันท์ พงษ์ศิริ โรงพยาบาลโคกโพธิ์
  • ลำพู อมตวิยานนท์ โรงพยาบาลโคกโพธิ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์, มาตรฐานสากล ISO 15189, ISO 15190

บทคัดย่อ

         ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลมีความสําคัญต่อระบบการให้บริการสุขภาพเป็นอย่างมาก ทั้งการสนับสนุนการรักษาและตอบสนองความของการของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบบริการทางห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล ISO 15189 และ ISO 15190 โดยใช้โรงพยาบาลโคกโพธิ์เป็นกรณีศึกษา มีดําเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการบริการทางห้องปฏิบัติการ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิและจัดสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบบริการทางห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล โดยนําผลจากการศึกษาขั้นตอนที่ 1 ยกร่างรูปแบบบริการทางห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากลชื่อ KP.LAB.INTER. Model และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลของรูปแบบ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การเข้ารับการตรวจรับรองมาตรฐานสากล จากกลุ่มรับรองห้องปฏิบัติการ สํานักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ 2) ประเมินความพึงพอใจจากผู้เข้ารับบริการ ผลการวิจัยพบว่าหลังจากห้องปฏิบัติการได้ดําเนินงานภายใต้รูปแบบ KP.LAB.INTER. Model หน่วยงานได้ผ่านการรับรอง (Accredited) มาตรฐาน ISO 15189:2012 และ ISO 15190:2003 ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2562 ลําดับที่ 175 หมายเลขทะเบียน 4216/62 และได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2564 และเมื่อประเมินความพึงใจจากผู้เข้ารับบริการในพื้นที่โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับดี (3.50) พบว่าผู้รับบริการทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลโคกโพธิ์ มีความพึงพอใจในระดับดีทุกด้าน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบ KP.LAB.INTER. Model มีความสามารถในการทําให้ห้องปฏิบัติการผ่านการประเมินสู่มาตรฐานสากล ดังนั้นรูปแบบการดําเนินงานในห้องปฏิบัติการนี้สามารถนําไปใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานเพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากลได้

References

สมชัย เจิดเสริมอนันต์, วรรณิกา มโนรมณ์, ไพบูลย์ รัตนชัยพรพันธ์, บรรณาธิการ. มาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2565. นนทบุรี: สภาเทคนิคการแพทย์; 2565. หน้า 6-10.

สุรศักดิ์ หมื่นพล, ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์, ศิริพรรณ วงศ์วานิช, นัฐกาญจน์ ละเอียดดี. การพัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล ISO 15189. ว กรมวิทย พ 2564; 63(1): 119-34.

สํานักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายชื่อห้องปฏิบัติการที่ผ่านรับรองตามมาตรฐาน ISO 15189, ISO 15190. [ออนไลน์]. 2566; เข้าถึงได้ที่: URL:https://blqs.dmsc.moph.go.th/page-view/84.

โรงพยาบาลโคกโพธิ์. ข้อมูลและสถิติ. [ออนไลน์]. 2566; เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.khokphohos.com/kp2023.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and iomedical sciences. Behav Res Methods 2007; 39(2): 175-91.

Cohen J. Statistical power analysis. Curr Dir Psychol Sci 1992; 1(3): 98-101.

R Core Team. R: a language and environment for statistical computing. [online]. 2021; Available from: URL: https://www.R-project.org.

สันตกิจ นิลอุดมศักดิ์, ปราณี นาคประสิทธิ์, มงคล เจนจิตติกุล. การพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 ของสํานักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. ว กรมวิทย พ 2556; 55(2): 63-77.

ศุภวรรณ เกตุอินทร์, วิภาวดี รากแก่น. การพัฒนาห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล กรณีศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี. ว วิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2544; 15(2): 157-66.

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) travel advice. [online]. 2021; Available from: URL: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/travel-advice.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

24-09-2024

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)