การพัฒนาระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผลตามแนวทาง RLU ของโรงพยาบาลลําพูน

การพัฒนาระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผล

ผู้แต่ง

  • ตุลาพร อินทนิเวศน์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

การตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผล, การบริหารระบบอย่างคุ้มค่าคุ้มทุน, การลดค่าใช้จ่าย, โรงพยาบาลลําพูน

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยฉบับแรกของโรงพยาบาลลําพูน เพื่อติดตามผลการดําเนินงานด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผล ตามแนวทาง Rational Laboratory Use (RLU) 5 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้นขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นปฏิบัติการ ขั้นแก้ไขปัญหาทบทวนการทํางาน และขั้นติดตามวิเคราะห์และสรุปผลการดําเนินงาน จากนั้นเปรียบเทียบข้อมูลการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉพาะผู้ป่วยนอก (outpatient department; OPD) เท่านั้น ระหว่างปี พ.ศ. 2565 (ก่อนการดําเนินงาน) กับปี พ.ศ. 2566 (หลังการดําเนินงาน) ผลการศึกษาพบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการสั่งตรวจรวมทั้งสิ้น 1.1 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 7 เดือน โดยจํานวนการสั่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกมีสัดส่วนลดลงมากที่สุด (p-value = 0.01) จากร้อยละ 44.3 ในปี พ.ศ. 2565 เป็นร้อยละ 10.5 ในปี พ.ศ. 2566 นอกจากนั้นสามารถแก้ปัญหาการส่งตรวจที่ต่ำกว่ามาตรฐานของการตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้ป่วยเบาหวาน (p-value = 0.05) จากร้อยละ 19 ในปี พ.ศ. 2565 เป็นร้อยละ 23 ในปี พ.ศ. 2566 การสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ได้แก่ ค่าตับแบบชุดและค่าไขมันแบบชุด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากการสั่งตรวจทั้งสองชุดมีผลต่อการรักษาและการปรับยาให้กับผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลในแต่ละครั้ง ทําให้ปรับลดการสั่งตรวจได้ยาก งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของแนวทาง RLU ต่อการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสมเหตุผลและสามารถนําไปเป็นตัวอย่างของการริเริ่มโครงการ เพื่อปรับประยุกต์ใช้ในแต่ละบริบทของโรงพยาบาลอื่น ๆ ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ตามมา คือ การบริหารระบบอย่างคุ้มค่าคุ้มทุนและลดภาระรายจ่ายที่เกินความจําเป็นของโรงพยาบาลต่อไป

References

Akbiyik F. Rational laboratory use. Turkish Clinical Biochemistry Congress K-16b 2017; 54.

Kanwar G, Rathore S, Khandelwal A, Khandelwal D, Khandelwal A, Meena R, et al. A study of “rational use of investigations” in a tertiary hospital. Asian J Med Sci 2022; 13(10): 121-25.

Mindemark M, Wernroth L, Larsson A. Costly regional variations in primary health care test utilization in Sweden. Scand J Clin Lab Invest 2010; 70(3): 164-70.

Malaviya AN, Kapoor S. Cost-effective use of investigations in developing countries. Best Pract Res Clin Rheumatol 2014; 28(6): 960-72.

แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุผล (Rational Laboratory Use, RLU) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. 2566; [สืบค้น 7 ต.ค. 2566]; [57 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www3.dmsc.moph.go.th/page-view/108.

Winkens R, Dinant GJ. Evidence base of clinical diagnosis: rational, cost effective use of investigations in clinical practice. BMJ 2002; 324: 783-5.

Salinas M, Flores E, López-Garrigós M, Leiva-Salinas C. Laboratory test inappropriateness: lessons revisited and clarified in seven questions. J Lab Precis Med 2018; 3: 34. (14 pages).

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน 2566. [ออนไลน์]. 2566; [สืบค้น 5 ก.พ. 2566]; [280 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.uckkpho.com/wp-content/uploads/2023/08/CPG.DM2566.pdf.

Raman M, Middleton RJ, Kalra PA, Green D. Estimating renal function in old people: an in-depth review. Int Urol Nephrol 2017; 49(11): 1979-88.

วัลยา จงเจริญประเสริฐ. Patients with thyroid dysfunction การดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการทํางานของต่อมไทรอยด์. หน่วยต่อมไร้ท่อและเมแทบบอลิสม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. [สืบค้น 28 ธ.ค. 2565]; [24 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Patients%20with%20thyroid%20dysfunction.pdf.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คําแนะนําสําหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบําบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565. [ออนไลน์]. 2565; [สืบค้น 28 ส.ค. 2566]; [106 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2023/06/CKD-guideline_-draft_5-เพิ่มเติม-2565-.pdf.

คณะอนุกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (ตรต). เกณฑ์การตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ฉบับปรับปรุงปี 2557. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง; 2557.

คู่มือการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ. ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. 2566; [สืบค้น 3 ม.ค. 2566]; เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.si.mahidol.ac.th/th/manual/Project/request.html.

Kabrhel C, Mark Courtney D, Camargo CA, Plewa MC, Nordenholz KE, Moore CL, et al. Factors associated with positive D-dimer results in patients evaluated for pulmonary embolism. Acad Emerg Med 2010; 17(6): 589-97.

แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ฉบับย่อ) พ.ศ. 2566. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.[ออนไลน์]. 2566; [สืบค้น 5 ก.พ. 2566]; [50 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=185.

Pannall P, Marshall W, Jabor A, Magid E. A strategy to promote the rational use of laboratory tests. IFCC Education and Management Division Committee on Rational Laboratory Use. International Federation of Clinical Chemistry. J Int Fed Clin Chem 1996; 8(1): 16-9.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

24-09-2024

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)