การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านเคมีของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม
การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านเคมี
คำสำคัญ:
ESPReL checklist, ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านเคมี, ยกระดับความปลอดภัย, Peer evaluationบทคัดย่อ
ห้องปฏิบัติการด้านเคมีของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการยาทางเคมี ห้องปฏิบัติการอาหารทางเคมี และห้องปฏิบัติการพิษวิทยา มีการใช้สารเคมีหลากหลายชนิดที่มีอันตรายแตกต่างกัน จากผลการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านเคมีด้วยตนเอง โดยใช้แบบสำรวจ ESPReL checklist จำนวน 162 รายการ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ มีคะแนนรวมทุกองค์ประกอบร้อยละ 68.5 ไม่ผ่านตามเกณฑ์การตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation ที่ต้องมีคะแนนรวมทุกองค์ประกอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของผลการสำรวจความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านเคมี เพื่อยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและขอการรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation ผลการวิเคราะห์พบว่าในปี พ.ศ. 2565 การบริหารจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย และการจัดการข้อมูลและเอกสาร ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด ดังนั้นจึงได้จัดทำแผนและปรับปรุงทุกองค์ประกอบในปี พ.ศ. 2566 โดยกำหนดนโยบายความปลอดภัย กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละด้าน ปรับปรุงการจัดเก็บสารเคมี กำหนดแนวปฏิบัติในการจัดการของเสีย ตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานของอาคาร และดำเนินการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัย หลังการพัฒนามีคะแนนประเมินรวมทุกองค์ประกอบตาม ESPReL checklist ร้อยละ 93.2 และได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation มีคะแนนร้อยละ 100 ทั้ง 7 องค์ประกอบ ความสำเร็จนี้เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ลดการเกิดอันตรายจากการปฏิบัติงาน และเป็นต้นแบบให้กับห้องปฏิบัติการอื่นในหน่วยงานเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยต่อไป
References
ปวีณา เครือนิล, ดวงกมล เชาวน์ศรีหมุด, เบญจพร บริสุทธิ์. การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการโลหะและธาตุปริมาณน้อย. ววิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ. [วารสารออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 9 ธ.ค. 2566]; 2(2): [7 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/article/view/234.
กาญจนา สุรีย์พิศาล. การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี L-210 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. Mahidol R2R e-Journal. [วารสารออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 6 ธ.ค. 2566]; 8(1): [14 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/248622.
โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สํานักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2555.
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 4 ก (วันที่ 17 มกราคม 2554). หน้า 5.
ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน มหาวิทยาลัยมหิดล. คู่มือสําหรับผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบ peer evaluation. กรุงเทพฯ: สํานักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2563.
ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. การพัฒนาตัวอย่างห้องปฏิบัติการวิจัยปลอดภัยในประเทศไทย. ว วิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [วารสารออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 6 ธ.ค. 2566]; 64(2558): [14 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJA/article/view/164448.
วราพรรณ ด้านอุตรา, สุชาตา ชินะจิตร. ห้องปฏิบัติการปลอดภัย: จากนโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย สํานักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559
โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
กาญจุรีย์ ว่องไวรัตนกุล. การพัฒนาห้องปฏิบัติการเคมี 1 ตามมาตรฐานการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL). ว วิชาการ ปขมท. [วารสารออนไลน์]. 2565; [สืบค้น 16 เม.ย. 2567]; 11(2): [14 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.council-uast.com/journal/journal-detail.php?id=36.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.