การเฝ้าระวังค่าปริมาณรังสีจากเครื่องเอกซเรย์ทันตกรรมแบบใส่ตัวรับภาพไว้ในช่องปาก ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง และสตูล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560–2566
ค่าปริมาณรังสีจากเครื่องเอกซเรย์ทันตกรรม พ.ศ. 2560–2566
คำสำคัญ:
เครื่องเอกซเรย์ทันตกรรม, การถ่ายถาพรังสีในช่องปาก, ค่าปริมาณรังสี, ปริมาณรังสีแจ้งผลบทคัดย่อ
เครื่องเอกซเรย์ทันตกรรมมีความสำคัญในการวินิจฉัยโรค วางแผนรักษา จนถึงตรวจติดตามผลการรักษาช่องปากและฟัน พบมีปริมาณการใช้ 1 ใน 3 ของการถ่ายภาพรังสีทั้งหมด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเกินความจำเป็นและเพื่อลดการใช้ปริมาณรังสี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงเฝ้าระวังการได้รับปริมาณรังสีจากเครื่องเอกซเรย์ทันตกรรมแบบใส่ตัวรับภาพไว้ในช่องปาก ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง และสตูล ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560–2566 จำนวน 66, 80, 50, 64, 19, 32 และ 60 เครื่อง ตามลำดับ โดยการวัดค่าปริมาณรังสีบริเวณปลายกระบอกลำรังสีจากการตั้งค่าเทคนิคในการถ่ายภาพรังสีสำหรับฟันผู้ใหญ่ 6 กลุ่มซี่ฟัน คือ ฟันหน้าบน ฟันหน้าล่าง ฟันกรามน้อยบนฟันกรามน้อยล่าง ฟันกรามใหญ่บน และฟันกรามใหญ่ล่าง นำค่าที่ได้มาหาค่ามัธยฐานได้เท่ากับ 1.1–1.7, 0.9–1.4, 1.4–2.2, 1.3–1.8, 1.8–2.9 และ 1.4–2.3 มิลลิเกรย์ (mGy) ตามลำดับ เมื่อแยกตามชนิดตัวรับภาพระบบฟิล์ม ค่าที่ได้เท่ากับ 1.5–2.1, 1.4–1.8, 2.1–2.6, 1.8–2.2, 3.0–3.3 และ 2.2–3.0 mGy ตามลำดับ ระบบดิจิทัล (CR/DR) ค่าที่ได้เท่ากับ 1.0–1.5, 0.8–1.3, 1.3–1.9, 0.9-1.6, 1.6–2.4 และ 1.2–2.0 mGy ตามลำดับ ซึ่งไม่เกินค่าอ้างอิงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีค่าเท่ากับ 2.3, 1.9, 3.1, 2.4, 4.0 และ 3.1 mGy ตามลำดับ เห็นได้ว่าหน่วยงานที่ใช้ตัวรับภาพระบบฟิล์ม ค่าปริมาณรังสีสูงกว่าระบบดิจิทัลทุกกลุ่มซี่ฟัน จึงควรปรับลดค่าทางเทคนิคในการถ่ายภาพรังสีเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานรวมถึงผู้รับบริการได้รับรังสีน้อยที่สุด
References
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2566. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับสิสชิ่ง จำกัด; 2566.
IAEA. International basic safety standards for protection against ionizing radiation and for the safety of radiation sources, safety series No. 115. Vienna: International Atomic Energy Agency; 1996.
Equipment factors in reduction of radiation doses to patients. In: European Commission. European guidelines on radiation protection in dental radiology: the safe use of radiographs in dental practice, issue No. 136. Luxembourg: Office for Official Publications of the European Communities; 2004. p. 41-50.
U.S. Food and Drug Administration. Illegal sale of potentially unsafe hand-held dental x-ray units: FDA safety communication. [online]. 2012; [cited 2024 Mar 17]; Available from: URL: http://wayback.archive-it.org/7993/20170722045031/https://www.fda.gov/Radiation-EmittingProducts/Radiation-Safety/AlertsandNotices/ucm291214.htm.
Japan Network for Research and Information on Medical Exposures. National diagnostic reference levels in Japan. [online]. 2020; [cited 2024 Jan 9]; [22 screens]. Available from: URL: https://j-rime.qst.go.jp/report/DRL2020_Engver.pdf.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการถ่ายรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟันชนิดถ่ายภายในช่องปาก. [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 9 ม.ค. 2567]; [10 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://dmscsmartlifeblog.com/userfiles/files/ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงDent-final(1).pdf.
Kim EK. Effect of amount of battery charge on tube voltage in different hand-held dental x-ray systems. Imaging Sci Dent 2012; 42: 1-4.
Vañó E, Miller DL, Martin CJ, Rehani MM, Kang K, Rosenstein M, et al. ICRP publication 135: diagnostic reference levels in medical imaging. Ann ICRP 2017; 46(1): 1-144.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.